ซินโดรม คือ กลุ่มอาการผิดปกติที่เกิดร่วมกันหลายอาการ เป็นชุดความสัมพันธ์ของอาการที่แสดงออกผ่านทางรูปแบบต่าง ๆ ผ่านทางระบบความคิดและพฤติกรรม ซึ่งบางซินโดรมก็มีลักษณะอาการไม่รุนแรงมาก แต่ในบางซินโดรมก็รุนแรงจนอาจถึงขั้นถึงชีวิต และนี่คือเหล่าอาการซินโดรมที่ถึงจะมีชื่อน่ารักกุ๊กกิ๊กเหมือนชื่อตัวละครในนิยายหรือการ์ตูน แต่อันตรายมาก ๆ
5. ซูเปอร์แมน ซินโดรม
ฟังชื่อซินโดรมชนิดนี้ คุณอาจจะคิดว่าเป็นกลุ่มอาการของคนที่คิดว่าตัวเองมีพลังเหนือธรรมชาติ หากคุณกำลังคิดแบบนั้นเราขอบอกว่าคุณกำลังคิดผิด เพราะซินโดรมชนิดนี้นั้นจริง ๆ แล้วเป็นซินโดรมที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของโครโมโซมและจะเกิดขึ้นเฉพาะกับเพศชายเท่านั้น คือมีโครโมโซม YY เกินมา 1 คู่ ซึ่งจะส่งผลให้ตัวสูงกว่าเด็กวัยเดียวกัน มีผลต่อพัฒนาการทางการเรียนรู้ แต่ที่อันตรายที่สุดคงจะเป็นงานวิจัยที่พบว่าคนที่จัดอยู่ในซินโดรมกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะเป็นอาชญากร เนื่องจากฮอร์โมนเพศชายที่มีมากกว่าปกติจากโครโมโซมคู่ที่เกินมา

4. ดอร์เรี่ยน เกรย์ ซินโดรม
ซินโดรมชนิดนี้นั้นมีการตั้งชื่อมาจากตัวละครนิยาย ซึ่งเป็นชายที่ขายวิญญาณให้ปีศาจเพื่อให้ตัวเองนั้นคงความหนุ่มตลอดกาล เป็นซินโดรมที่มีกลุ่มอาการตรงกับพฤติกรรมของตัวละครในนิยาย กล่าวคือผู้ป่วยที่มีอาการของซินโดรมชนิดนี้จะมีปัญหากับการรับความจริงที่ว่า พวกเขาแก่ขึ้นทุกปี เป็นกลุ่มอาการที่จะหมกมุ่นอยู่กับภาพลักษณ์ของตัวเอง กลัวความแก่ เกลียดรูปร่างหน้าตาที่ไม่เพอร์เฟกต์ มีปัญหาในการพัฒนาระบบความคิด จนในที่สุดก็นำไปสู่การเสพติดการศัลยกรรมที่เกินพอดี กลุ่มอาการซินโดรมชนิดนี้เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นจากยีนที่ผิดปกติหรือจากการรับสารจากสื่อที่เกินพอดี

3. ปีเตอร์ แพน ซินโดรม
กลุ่มอาการซินโดรมชนิดนี้เป็นอีกหนึ่งกลุ่มอาการที่จะแสดงอาการตรงกับลักษณะนิสัยของตัวละครในนิยาย คือ ผู้ป่วยปฏิเสธที่จะแสดงออกอย่างสมวัย และจะแสดงพฤติกรรมที่เป็นเด็กอยู่เสมอ ทั้งในด้านความชอบ ความคิด และพฤติกรรม คือติดจะเป็นเด็กอยู่ตลอดเวลา ไม่โตตามวัย ไม่พยายามโตและไม่ยอมรับว่าตัวเองต้องเติบโตเพื่อเป็นผู้ใหญ่ กลุ่มอาการซินโดรมชนิดนี้จะเกิดขึ้นกับผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และจะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันจนไม่สามารถเข้าสังคมได้
Advertisements

2. ราพันเซล ซินโดรม
ชื่อเหมือนเจ้าหญิงจากนิยายของพี่น้องกริมส์ และหนึ่งในเจ้าหญิงของดิสนีย์ ผู้ซึ่งมีผมยาวสวยที่ใช้ช่วยเจ้าชายให้ปีนขึ้นมาช่วยจากหอคอย แต่ในทางกลับกันผู้ป่วยที่เป็นซินโดรมชนิดนี้ไม่ได้มีผมสลวยแบบบนั้น เพราะแทนที่จะรักษาและเลี้ยงผมให้ยาวสลวย พวกเขาเลือกที่จะกินมัน! ใช่แล้ว…ผู้ป่วยอาการซินโดรมชนิดนี้จะเสพติดการกินผม เคี้ยวแล้วกลืน เคี้ยวแล้วกลืน จนในที่สุดเส้นผมเหล่านั้นที่ตกค้างอยู่ในกระเพาะอาหารก็จะส่งผลให้เจ็บป่วยในที่สุด จัดเป็นหนึ่งในซินโดรมที่หายากและที่ไม่ได้พบเห็นได้บ่อย ๆ ชนิดหนึ่ง

1. อลิซ อิน วันเดอร์แลนด์ ซินโดรม
ในนิยายอลิซตกลงไปในโพรงกระต่ายและพบกับสิ่งมหัศจรรย์มากมาย ทั้งกลายเป็นคนตัวใหญ่ยักษ์และตัวเล็กจิ๋ว ในโพรงกระต่ายทุกสิ่งนั้นมหัศจรรย์ราวกับไม่มีอยู่จริง ซึ่งผู้ป่วยด้วยซินโดรมชนิดนี้จะมีปัญหาด้านระบบความคิดและการรับรู้ ในด้านของพื้นที่, เวลา, ระยะทางและมิติต่าง ๆ ผู้ป่วยจะรู้สึกสับสนในการแยกแยะสิ่งต่าง ๆ และอาจจะประสบกับสภาวะซึมเศร้าและความหวาดกลัว ทุกสิ่งรอบตัวผู้ป่วยจะใหญ่เกินความเป็นจริงและเล็กเกินกว่าที่ควรจะเป็นอยู่เสมอ และมักจะนำไปสู่อาการของไมเกรน ซินโดรมชนิดนี้อาจจะเกิดจากใช้ยาเกินขนาดหรือการได้รับความกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงทางสมอง เป็นต้น

SOURCE : toptenz
Advertisements