“มิจฉาทิฏฐิ” หมายความว่า ‘ความเห็นผิดจากความเป็นจริง’ หรือ ‘ความเห็นที่ผิดจากทำนองคลองธรรม’ พูดง่ายๆ ตามภาษาชาวบ้านก็คือ ‘สิ่งที่ไม่ถูกต้องและไม่ควรทำ’ นั่นเอง แล้วการถอนคำอธิษฐานที่เป็นมิจฉาทิฐิจำเป็นอย่างไร? ตามเราไปหาคำตอบกันค่ะ ทั้งนี้ ความเชื่อเรื่องถอนคำสาปแช่งและขอขมากรรมเป็นความเชื่อส่วนบุคคล ผู้อ่านโปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน
มิจฉาทิฏฐิ คืออะไร?
มิจฉาทิฏฐิ (มิจฺฉาทิฏฺฐิ) มาจากคำว่า ‘มิจฉา’ ซึ่งแปลว่า ผิด หรือ วิปริต และคำว่า ‘ทิฏฐิ’ ซึ่งแปลว่า ความเห็น หรือ ความเข้าใจ เมื่อนำทั้งสองคำมารวมกันจึงเกิดความหมายว่า ความเห็นผิดจากความเป็นจริง หรือ ความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม
มิจฉาทิฏฐิ ตัวอย่าง
ตัวอย่างของต้นตอมิจฉาทิฏฐิ ได้แก่
-
ปรโตโฆสะ
สภาพแวดล้อมที่ไม่ดีงาม และไม่ส่งเสริมให้เกิดความคิดเห็นหรือความเชื่อในทางที่ถูกต้อง ตัวอย่างเช่น ผู้ปกครองทะเลาะเบาะแว้งให้เห็นเป็นประจำ คบคนพาล ขาดโอกาสในการศึกษาหาความรู้ อยู่ใกล้กับแหล่งอบายมุข เป็นต้น
-
อนิโยนิโสมนสิการ
การไม่รู้จักใช้ปัญญาพินิจพิเคราะห์ ทำให้ขาดความรู้ความเข้าใจในผลแห่งความจริง ปล่อยให้อวิชชาครอบงำ กลายเป็นคนเขลาเบาปัญญา จึงถูกชี้นำไปในทางที่ผิดได้ง่าย ตัวอย่างเช่น การเชื่อฟังคำบอกเล่าผู้อื่นโดยไม่รู้จักคิด
มิจฉาทิฏฐิ 10 ประการ
ความเห็นผิดว่าไม่มี ได้แก่
- ความเห็นว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล
- ความเห็นว่า การบูชาพระรัตนตรัยไม่มีผล
- ความเห็นว่า การบูชาเทวดาไม่มีผล
- ความเห็นว่า ผลวิบากของกรรมดีและกรรมชั่วไม่มี
- ความเห็นว่า โลกนี้ไม่มี
- ความเห็นว่า โลกหน้าไม่มี
- ความเห็นว่า มารดาไม่มี
- ความเห็นว่า บิดาไม่มี
- ความเห็นว่า สัตว์ที่จุติและเกิดไม่มี
- ความเห็นว่า สมณพราหมณ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ รู้ยิ่งเห็นแจ้ง
ประจักษ์ซึ่งโลกนี้และโลกหน้าด้วยตนเองแล้ว ประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้ ไม่มีในโลก
Advertisements
โทษของมิจฉาทิฏฐิ
เมื่อบุคคลมีความคิดเห็นแบบผิดๆ ย่อมมีความตั้งใจในแบบที่ผิดๆ ทั้งยังเกิดการระลึกแบบผิดๆ กระทำแบบผิดๆ พูดจาแบบผิดๆ และเลี้ยงชีพแบบผิดๆ ตามมา จึงพลาดจากมรรคผลและสวรรค์ ในทางกลับกัน ผู้ที่รู้ความผิด ย่อมสามารถหลุดพ้นความผิดได้
เหตุที่ต้องถอนคำอธิษฐานที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ
การถอนคำอธิษฐานที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ คือ การเพิกถอน ยกเลิก ระงับ หรือหยุดยั้ง คำอธิษฐานที่เป็นสิ่งที่ไม่ดี หยุดแรงอธิษฐานที่ผิดๆ จากความคิดที่บิดเบี้ยว หยุดแรงความลุ่มหลง, ความผูกพยาบาท, ความอาฆาต, หรือความโกรธแค้น ต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด คล้ายๆ กับการขอขมากรรมและตัดกรรม แม้ว่าเราจะไม่อาจล้างกรรมหนักที่กระทำลงไปแล้วได้ แต่ก็อาจผ่อนหนักเป็นเบาได้
เมื่อเราสำนึกได้ว่าการอธิษฐานที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ หรือการแช่งชักหักกระดูกผู้อื่นเป็นสิ่งที่ไม่ดี การถอนคำอธิษฐานที่เป็นมิจฉาทิฏฐิจะช่วยดึงจิตของเราออกจากการกำหนดและการอธิษฐานในสิ่งไม่ดี เพื่อไม่ให้เกิดกรรมผูกพันกันต่อไปในภายภาคหน้า
ฉะนั้นแล้ว จึงควรหยุดการกระทำ คำพูด รวมถึงความคิดที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ แล้วเร่งสร้างกรรมดีให้มาก แต่ก็ต้องทำดีด้วยจุดประสงค์ของการแบ่งปัน เพราะบุญคือการให้ ผลพลอยได้จะเกิดอย่างไรก็แล้วแต่ ไม่ใช่คาดหวังว่าจะต้องได้สิ่งใดตอบกลับมา
อย่างไรก็ตาม คำอธิษฐานมีเพื่อให้เรามีจุดมุ่งหมายในการทำความดี เปรียบได้กับการตั้งแผนผังที่ดีงามสำหรับการดำเนินชีวิต มิใช่สิ่งที่จะเปลี่ยนชีวิตบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้ในทันทีทันควันจากการกล่าวคำอธิษฐาน ผู้อ่านโปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน
วิธีถอนคำอธิษฐานที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ
- สวดมนต์ไหว้พระ ทำจิตใจให้สงบ
- ทำสมาธิภาวนา วางใจอยู่ในศีลธรรม
- ตั้งจิตถอนคำอธิษฐานที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ
คำถอนอธิษฐานที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ
ขอบคุณข้อมูลจาก : luangtanarongsak
Advertisements