หนึ่งในภัยพิบัติธรรมชาติที่มีพลังทำลายล้างสูง อย่างล่าสุดในเหตุการณ์พายุไต้ฝุ่น “ฮาโตะ” ที่แผลงฤทธิ์ถล่ม “ฮ่องกง-มาเก๊า” อย่างหนักถึงขั้นมีผู้เสียชีวิต นับเป็นเหตุการณ์โศกนาฎกรรมทางธรรมชาติครั้งใหญ่อีกครั้งที่โลกต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ วันนี้ Undubzapp จะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับ “พายุที่รุนแรงน่ากลัว และลูกใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะจักรวาล” ที่นักดาราศาสตร์ได้ค้นพบ บางลูกใหญ่กว่าโลกถึง 3 เท่า บางลูกใช้เวลาถึง 10 ชั่วโมงในการหมุนหนึ่งรอบ หวังว่าพายุที่รุนแรงระดับนี้คงไม่เกิดขึ้นบนโลกของเรานะ
1. พายุจุดแดงบนดาวพฤหัสบดี ขนาดใหญ่กว่าโลกถึง 3 เท่า
แม่เจ้าโว๊ย…จินตนาการความใหญ่มหึมาไม่ถูกเลยจริงๆ
โดยนักดาราศาสตร์ได้สังเกตเห็นจุดสีแดงขนาดใหญ่บนผิวของดาวพฤหัสบดี ซึ่งฟังธงได้ว่ามันคือพายุหมุนขนาดยักษ์ ที่ใหญ่มหึมาจนสามารถยัดโลกเข้าไปได้ถึง 3 ใบเลยทีเดียว
ซึ่งพายุหมุนจุดแดงนี้คาดการณ์ว่าจะหมุนมานานกว่า 400 ปีแล้ว และยังไม่มีท่าว่ามันหยุดหมุนเลยแม้แต่น้อย ซ้ำร้ายมันยังหมุนด้วยความเร็ว 600 กิโลเมตร/ชั่วโมง ซึ่งถ้าเทียบกับการพายุเฮอริเคนรุนแรงระดับ 5 ที่โหดร้ายที่สุดในโลกอย่าง “เฮอร์ริเคนแคทริน่า” ในปี 2005 แล้ว พายุลูกนี้น่าอยู่ในระดับ 20 หรือมากกว่านั้น
CR : Mars(ดาวอังคาร)
2. พายุหกเหลี่ยมบนดาวเสาร์ เส้นผ่านศูนย์กลาง 2,000 กิโลเมตร
พายุหมุนยักษ์ที่สามารถพัดประเทศบนโลกปลิวได้สบายๆ ด้วยขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 2,000 กิโลเมตร ที่ตั้งอย่างประหลาดอยู่บริเวณตอนเหนือสุดของดาวเสาร์ ในพื้นที่หกเหลี่ยมที่มีขนาดใหญ่กว่าโลก
ล่าสุดนักดาราศาสตร์ยังไม่สามารถให้คำตอบถึงที่มาการเกิดของพายุหมุนลูกนี้ แต่ที่รู้แน่ชัดคือ มันเป็นพายุยักษ์ใหญ่ที่หมุนอยู่กับที่ไร้การเคลื่อนไหว และบริเวณตาพายุตรงกลางยังใช้เวลาในการหมุนยาวนานถึง 10 ชั่วโมง กว่าจะหมุนได้หนึ่งรอบ
CR : Reddit
CR : watchers
Advertisements
3. พายุหมุนบนดาวเนปจูน ความเร็วสูงสุด 2,400 กิโลเมตร/ชั่วโมง
หากเราสังเกตพื้นผิวบนดาวเนปจูน จะเต็มไปด้วยจุดสีดำคล้ำมากมาย ซึ่งมันก็คือ “พายุ” นั่นเอง โดยมันจะมีจุดดำอยู่จุดหนึ่งซึงมีขนาดใหญ่พอๆ กับโลก แถมหนำซ้ำยังเป็นพายุที่มีความเร็วลมสูงที่สุดถึง 2,400 กิโลเมตร/ชั่วโมง เร็วกว่าพายุเฮอริเคนแคทรินาที่มีความเร็วลมสูงสุด 280 กิโลเมตร/ชั่วโมง เกือบ 10 เท่า!!
ถึงจะแม้มีความเร็วในระดับนี้ แต่ก็เป็นพายุที่หมุนอยู่ได้นาน 2 ปีก็จะสลายหายไป และมันก็สามารถก่อตัวขึ้นมาใหม่อีกครั้งในไม่ช้า
4. พายุคู่แฝดบนดาวศุกร์ มา 4 ลูกใหญ่กว่าของโลก 4 เท่า
นักวิทยาศาสตร์และนักดาราศาสตร์ ต่างขนานนามดาวศุกร์ ให้เป็นดาวที่เต็มไปด้วยพายุคลั่งที่แปลกประหลาดที่สุดแห่งหนึ่งของจักรวาล นั่นก็คือ “พายุลูกแฝด” ที่เกิดขึ้นบริเวณขั้วโลกเหนือ 2 ลูกพร้อมกัน และขั้วโลกใต้อีก 2 ลูกพร้อมกัน รวมกันแล้วคือ ดาวศุกร์จะมีพายุสุดคลั่งถึง 4 ลูก และนักดาราศาสตร์เชื่อว่า พายุนี้จะไม่สลายตัวและมันจะพัดอยู่อย่างนั้นตลอดไป
ส่วนเรื่องขนาดก็โหดใช่เล่น โดยขนาดของพายุแต่ละลูกคาดว่ามีความใหญ่กว่าพายุทั่วไปบนโลกถึง 4 เท่า และก่อตัวด้วยความสูงมากกว่า 20 กิโลเมตร เทียบเท่าความสูงของยอดเขาเอเวอเรสต์ถึง 2 ลูกครึ่ง
CR : Motherboard
5. พายุฝุ่นบนดาวอังคาร กลืนกินดาวทั้งดวงจนมืดมิด
มาถึงคิวของพายุบนดาวอังคาร ที่นักดาราศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ คาดการณ์ว่าเป็นดาวที่มีสภาพแวดล้อมใกล้เคียงกับโลกมากที่สุดแห่งหนึ่ง ซึ่งความถี่และความรุนแรงของพายุในดาวอังคารไม่แตกต่างจากโลกของเรามากนัก แต่มันมีอยู่ครั้งหนึ่งเมื่อปี 2001 ดาวอังคารได้เกิดปรากฏการณ์พายุฝุ่นครั้งใหญ่ ที่กลืนกินดาวเกือบทั้งดวงจมอยู่ใต้กองฝุ่นยาวนานเกือบ 3 เดือนเต็ม
CR : listverse , theatlantic
Advertisements