ถึงตรุษจีนทีไร ใครๆ ก็พากันใส่เสื้อผ้าสีแดงกันไปหมด… แต่นอกจากเสื้อผ้าสีแดง ซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นสีเสื้อมงคลแล้ว ยังมีเสื้อผ้าสีอื่นๆ ที่ได้ชื่อว่าเป็นสีมงคลอีกเช่นกัน UndubZapp ขอพาเพื่อนๆ ไปทำความรู้จักกับสีเสื้อมงคล เหมาะแก่การสวมใส่ในวันตรุษจีน เพื่อเสริมดวงความเฮง เอาฤกษ์เอาชัยรับปีใหม่กันค่ะ
สีมงคลเสริมดวงเรียกทรัพย์
สีแดง
สีแดงเป็นสีสัญลักษณ์แทนธาตุไฟ หมายถึง แสงสว่าง ความรุ่งเรือง ความรุ่งโรจน์ ความสุขสมหวัง ความโชคดี ชาวจีนส่วนใหญ่จึงมักสวมใส่เสื้อผ้าสีแดงในวันตรุษจีน วันหยุด หรือโอกาสพิเศษต่างๆ เช่น งานแต่งงาน งานเฉลิมฉลอง เพื่อหนุนดวงโชคดีให้มีชัยยิ่งๆ ขึ้นไปอีกนั่นเอง
© รูปต้นฉบับ mandarincollardress.com
© รูปต้นฉบับ kavitamohan.com
© รูปต้นฉบับ teresacollections.com
สีเหลือง
สีเหลืองเป็นสีสัญลักษณ์แทนธาตุดิน หมายถึง อำนาจ ความเป็นปึกแผ่นมั่นคง ความเจริญรุ่งเรือง ความเป็นอิสระ ใช้กันมากในพุทธศาสนา เพื่อสื่อถึงการเป็นอิสระจากทางโลก การหลุดพ้นจากสิ่งต่างๆ สีเหลืองยังเป็นสีสัญลักษณ์ของจักรพรรดิจีนตั้งแต่สมัยโบราณอีกด้วย
© รูปต้นฉบับ mandarincollardress.com
© รูปต้นฉบับ pinterest.com
© รูปต้นฉบับ aliexpress.com
สีเขียว
สีเขียวเป็นสีสัญลักษณ์แทนธาตุไม้ หมายถึง ความมั่งคั่ง ความร่ำรวย ความสามัคคี ความหวัง ความสะอาด ความบริสุทธิ์ การเจริญเติบโต สีเขียวจึงมักไว้ใช้สื่อถึงความอ่อนเยาว์ ไร้เดียงสา หากต้องการสร้างความสมัครสมานสามัคคีกับพี่น้องหรือเพื่อนร่วมงานมากยิ่งขึ้น ควรใส่สีนี้
Advertisements
© รูปต้นฉบับ mandarincollardress.com
© รูปต้นฉบับ elegente.com
© รูปต้นฉบับ mandarincollardress.co
สีเขียวอมน้ำเงิน
สีเขียวอมน้ำเงินเป็นสีที่มีความเกี่ยวเนื่องกับธาตุไม้ โดยมีที่มาจากการเกิดต้นใหม่ของพืช จึงเปรียบได้กับการเริ่มต้นใหม่ การเปลี่ยนแปลงไปสู่ที่ดีกว่า ความสดชื่น ความอ่อนเยาว์ อายุยืน
© รูปต้นฉบับ aliexpress.com
© รูปต้นฉบับ aliexpress.com
© รูปต้นฉบับ shopee.com
สีอวมงคล
สีขาว
สีขาวเป็นสีสัญลักษณ์แทนธาตุโลหะ หรือ ธาตุทอง หมายถึง ความบริสุทธิ์ ความสว่าง สีขาวยังเป็นสีแห่งความโศกเศร้าและความตายในวัฒนธรรมจีนอีกด้วย มักใช้ในงานศพเท่านั้น
สีดำ
สีดำเป็นสีสัญลักษณ์แทนธาตุน้ำ หมายถึง ความเร้นลับ ความลึกล้ำ ความสุขุม จักรพรรดิจีนสมัยโบราณจึงนิยมเครื่องทรงสีดำ ก่อนจะมีการเปลี่ยนเป็นสีเหลืองในภายหลัง นอกเหนือไปจากนี้ สีดำยังใช้สื่อถึงความโศกเศร้า ความสูญเสีย ความตาย จึงมักใช้แต่ในงานศพมากกว่า
© feature image ebay.com, ebay.com
บทความแนะนำ
Advertisements