15 สนามบินผู้โดยสาร “คับคั่ง” มากที่สุดในโลก ประจำปี 2016

สนามบินหรือท่าอากาศยาน คือประตูด่านแรกของนักเดินทางที่เดินทางไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก แต่เชื่อหรือไม่ว่า เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางด้วยเครื่องบิน รวมถึงสนามบินต่างๆ ทั่วโลกเต็มไปด้วยสถิติที่น่าสนใจ  ไม่ว่าจะเป็น  20 อันดับ สนามบินที่มีสัญญาณ wi-fi เร็วที่สุดในโลก ประจำปี 2016 หรือ 10  อันดับ สุดยอดสายการบินที่ดีที่สุดในโลก ประจำปี 2016 แล้ว วันนี้จะพาคุณไปดูสนามบินที่มีผู้โดยสารเดินทางเข้า-ออกหนาแน่น คับคั่งมากที่สุดในโลก ประจำปี 2016

 

15.ท่าอากาศยานนานาชาติจอห์น เอฟ. เคนเนดี (JFK)

จำนวน ผู้โดยสาร 56,827,154 คน/ปี

ประตูหลักสำหรับผู้โดยสารที่จะเดินทางมายังสหรัฐอเมริกาและยังเป็นจุดขนส่งสินค้าที่สำคัญของประเทศ แม้ว่าเจเอฟเคจะเป็นที่รับรู้กันว่าเป็นท่าอากาศยานหลักทั้งของนิวยอร์กซิตีและสหรัฐอเมริกา แต่เจเอฟเคก็ยังให้บริการเที่ยวบินภายในประเทศ ซึ่งส่วนมากจะเป็นเส้นทางไปยังฝั่งตะวันตกของประเทศ

ท่าอากาศยานนานาชาติจอห์น เอฟ. เคนเนดี (JFK)

 

14.ท่าอากาศยานสคิปโฮลอัมสเตอร์ดัม (AMS)

จำนวนผู้โดยสาร 58,284,864 คน/ปี

ท่าอากาศยานนานาชาติหลักของประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นท่าอากาศยานที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุดอันดับที่ 5 ของยุโรป ตัวสนามบินมีอาคารผู้โดยสารขนาดใหญ่หลังเดียว ซึ่งแบ่งออกแบ่ง 3 โถงขาออก

ท่าอากาศยานสคิปโฮลอัมสเตอร์ดัม (AMS)

 

13.ท่าอากาศยานนานาชาติซ่างไห่ผู่ตง(PVG)

จำนวนผู้โดยสาร 60,053,387 คน/ปี

ประตูหลักสู่ประเทศจีน ตั้งอยู่ในเขตเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน  รองรับผู้โดยสารระหว่างประเทศกว่า 17 ล้านคน แซงหน้าท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่ง และยังเป็นท่าอากาศยานหลักของไชน่าอีสเทิร์นแอร์ไลน์ และเซี่ยงไฮ้แอร์ไลน์

ท่าอากาศยานนานาชาติซ่างไห่ผู่ตง(PVG)

 

12.ท่าอากาศยานนานาชาติแฟรงก์เฟิร์ต (FRA)

จำนวนผู้โดยสาร 61,032,022 คน/ปี

ท่าอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดของเยอรมนี และใหญ่เป็นอันดับ 3 ของยุโรป แฟรงก์เฟิร์ตเป็นท่าอากาศยานหลักของลุฟต์ฮันซา สายการบินแห่งชาติเยอรมนี

ท่าอากาศยานนานาชาติแฟรงก์เฟิร์ต (FRA)

 

11.ท่าอากาศยานอิสตันบูล อาตาตูร์ก (IST)

จำนวนผู้โดยสาร 61,836,781 คน/ปี

ท่าอากาศยานนานาชาติอทาเติร์ก อิสตันบูลตั้งอยู่ห่างจากอิสตันบูลไปทางตะวันตก 28 กม.

ท่าอากาศยานอิสตันบูล อาตาตูร์ก (IST)

 

10.ท่าอากาศยานนานาชาติดัลลาส-ฟอร์ตเวิร์ธ (DFW)

จำนวนผู้โดยสาร 64,072,468 คน/ปี

ท่าอากาศยานหลักของสายการบินอเมริกันแอร์ไลน์ และอเมริกันอีเกิล และยังเคยเป็นท่าอกาศยานหลักของเดลต้า แอร์ไลน์

ท่าอากาศยานนานาชาติดัลลาส-ฟอร์ตเวิร์ธ (DFW)

 

9.ท่าอากาศยานนานาชาติปารีส-ชาร์ล เดอ โกล (CDG)

จำนวนผู้โดยสาร 65,766,986 คน/ปี

ตั้งชื่อตามชาร์ล เดอ โกล วีรบุรุษ และผู้นำขบวนการปลดปล่อยฝรั่งเศส คนทั่วไปจะเรียกว่า ท่าอากาศยานรัวซี (Roissy) ตั้งอยู่ที่รัวซี กรุงปารีส ฝรั่งเศส อยู่ห่างจากตัวเมืองปารีสไปทางตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 25 กิโลเมตร เป็นด่านแรกในการเดินทางเข้าออกประเทศฝรั่งเศส

ท่าอากาศยานนานาชาติปารีส-ชาร์ล เดอ โกล (CDG)

 

8.ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง(HKG)

จำนวนผู้โดยสาร 68,283,407 คน/ปี

Advertisements

ท่าอากาศยานแห่งนี้สร้างขึ้นบนเกาะขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นจากการถมทะเลระหว่างเกาะเช็คแลปก๊กและเกาะ Lam Chau จนกลายเป็นเกาะเดียว แม้ว่าจะมีประวัติความเป็นมาไม่ยาวนานนัก แต่ท่าอากาศยานแห่งนี้ก็ได้รับรางวัลท่าอากาศยานยอดเยี่ยมระดับนานาชาติมาหลายครั้ง ก่อนจะเสียตำแหน่งในรางวัลท่าอากาศยานยอดเยี่ยมที่มอบโดย Skytrax ให้แก่ท่าอากาศยานสิงคโปร์ ชางงี

ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง(HKG)

 

7.ท่าอากาศยานนานาชาติลอสแอนเจลิส (LAX)

จำนวนผู้โดยสาร 74,937,004 คน/ปี

ท่าอากาศยานหลักของลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ชาวแคลิฟอร์เนียจะเรียกท่าอากาศยานแห่งนี้อย่างย่อว่า แอลเอเอกซ์ เนื่องจากท่าอากาศยานแห่งนี้ตั้งอยู่ริมชายฝั่งทะเล ทำให้ต้องเจอกับปัญหาเรื่องหมอก จนบางครั้งจะต้องให้เครื่องบินเปลี่ยนไปลงที่ท่าอากาศยานนานาชาติแอลเอ/ออนแทริโอ ซึ่งอยู่ห่างออกไปทางตะวันออก 76 กิโลเมตร

ท่าอากาศยานนานาชาติลอสแอนเจลิส (LAX)

 

6.ท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์ (LHR)

จำนวนผู้โดยสาร 74,989,795 คน/ปี

เป็นท่าอากาศยานที่มีการจราจรทางอากาศหนาแน่นที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยเป็นท่าอากาศยานที่หนาแน่นที่สุดของประเทศสหราชอาณาจักร และทวีปยุโรป

ท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์ (LHR)

 

5.ท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียว(HND)

จำนวนผู้โดยสาร 75,316,718 คน/ปี

สนามบินที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า ท่าอากาศยานฮะเนะดะ แม้ว่าสนามบินฮะเนะดะจะให้บริการเที่ยวบินภายในประเทศเป็นส่วนใหญ่ แต่ด้วยอุปกรณ์อำนวยความในการให้บริการด้านการบิน ไม่ว่าจะเป็นหอควบคุมการจราจรทางอากาศใหม่ รันเวย์ที่ 4 อาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศใหม่และอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ ทำให้สนามบินดังกล่าวกลายเป็นสนามบินนานาชาติแห่งที่ 2 ของญี่ปุ่นอย่างเต็มรูปแบบ การพลิกโฉมสนามบินครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ โตเกียวเป็นศูนย์กลางทางการบินที่สามารถแข่งขันกับสนามบินนานาชาติอื่นๆ

ท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียว(HND)

 

4.ท่าอากาศยานนานาชาติ ชิคาโก โอแฮร์ (ORD)

จำนวนผู้โดยสาร 76,949,504 คน/ปี

โอแฮร์เคยเป็นท่าอากาศยานที่มีการจราจรหนาแน่นที่สุด จัดเป็นประตูสู่สหรัฐอเมริกาลำดับที่ 4 เป็นรองจาก ท่าอากาศยานนานาชาติจอห์น เอฟ. เคนเนดี ในนิวยอร์ก, ท่าอากาศยานนานาชาติลอสแอนเจลิส และท่าอากาศยานนานาชาติไมอามี ซึ่งมีจำนวนผู้โดยสารระหว่างประเทศมาใช้บริการมากกว่า

ท่าอากาศยานนานาชาติ ชิคาโก โอแฮร์ (ORD)

 

3.ท่าอากาศยานนานาชาติดูไบ (DXB)

จำนวนผู้โดยสาร78,010,265 คน/ปี

เป็นท่าอากาศยานหลักของสายการบินเอมิเรตส์แอร์ไลน์ สนามบินตั้งอยู๋ใกล้ นครดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

ท่าอากาศยานนานาชาติดูไบ (DXB)

 

2.ท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่ง (PEK)

จำนวนผู้โดยสาร 89,938,628 คน/ปี

ท่าอากาศยานนานาชาติที่เติบโตอย่างรวดเร็วโดยติดอันดับสนามบินที่คับคั่งที่สุดแห่งหนึ่งในโลก และกลายมาเป็นสนามบินที่คับคั่งที่สุดในเอเซียจากจำนวนผู้โดยสารและจำนวนเที่ยวบินในปี พ.ศ. 2542 และได้ถือเป็นสนามบินที่มีผู้โดยสารคับคั่งที่สุดอันดับ 2 ของโลกในปี พ.ศ. 2553 ท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่ง ได้บันทึกว่ามีเครื่องบินเข้าออกทั้งหมด 557,167 ครั้ง ติดอันดับ 6 ของโลกในปี พ.ศ. 2555  ด้านเที่ยวบินขนส่งสินค้าก็เช่นกัน ในปี พ.ศ. 2555 สนามบินถูกจัดอันดับที่ 13 ของสนามบินที่มีเที่ยวบินขนส่งสินค้าที่คับครั้งที่สุดในโลก โดยมีการขนส่งสินค้ากว่า 1,787,027 ตัน

ท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่ง (PEK)

 

ท่าอากาศยานนานาชาติฮาร์ทสฟิลด์–แจ็คสัน แอตแลนตา (ATL)

จำนวนผู้โดยสาร 101,491,106 คน/ปี

ท่าอากาศยานที่หนาแน่นที่สุด ทั้งกรณีของจำนวนผู้โดยสารและจำนวนเที่ยวบิน เที่ยวบิน โดยสารเที่ยวบินส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเที่ยวบินภายในประเทศ และได้การรับรองว่าเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายสินค้า  กับท่าอากาศยานท้องถิ่นทั่วภาคใต้ของสหรัฐอเมริกา ร้อยละ 57 ของผู้โดยสารของฮาร์ทสฟิวด์-แจ็กสันไม่ใช่คนจากแอตแลนตา แต่เป็นคนที่มาเพื่อต่อเครื่องไปยังจุดหมายปลายทางอื่นต่อไป นอกจากนี้ฮาร์ตสฟีลด์-แจ็กสันยังเป็นประตูสู่สหรัฐอเมริกาลำดับที่ 7 โดยอันดับหนึ่งก็คือนิวยอร์ก-เจเอฟเค แอตแลนตายังให้บริการเที่ยวบินตรงไปยังจุดหมายปลายทางมากกว่าท่าอากาศยานศูนย์กลางใดๆในโลก โดยรองรับ 243 เส้นทางบินตรง รวมถึง 72 เที่ยวบินต่างประเทศ ใน 45 ประเทศ

ท่าอากาศยานนานาชาติฮาร์ทสฟิลด์–แจ็คสัน แอตแลนตา (ATL)

ที่มา : businessinsider.com 

Advertisements

Advertisements

Advertisements