ประกันชีวิต VS ประกันสุขภาพ เปรียบเทียบให้เห็นชัดๆ เลือกทำแบบไหนดี?

เราเชื่อว่าหลายคนยังคงสับสนเล็กน้อย เกี่ยวกับการทำประกันชีวิตและประกันสุขภาพ ว่าประกันทั้ง 2 ประเภทนี้แตกต่างกันอย่างไร จะเลือกทำแบบไหนดีถึงจะเหมาะกับตัวเองมากที่สุด ดังนั้นไม่รอช้าดีกว่า เราขอพูดถึงประกันชีวิตและประกันสุขภาพ เปรียบเทียบ ให้เห็นชัดๆ กันไปเลยว่าประกันทั้ง 2 ประเภทนี้คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร เพื่อจะได้เลือกประเภทที่เหมาะกับตัวเองที่สุด

ประกันสุขภาพ คือ ประกันที่มอบความคุ้มครองในยามที่คุณเจ็บป่วย ซึ่งประกันสุขภาพจะทำหน้าที่ลดภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในช่วงรักษาตัวที่โรงพยาบาล อีกทั้งมีการชดเชยรายได้ขณะพักรักษาตัวด้วย ซึ่งเงื่อนไขความคุ้มครองนี้ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัทกำหนด โดยประกันสุขภาพแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประกันสุขภาพและอุบัติเหตุแบบรายบุคคล และประกันสุขภาพและอุบัติเหตุแบบรวมกลุ่ม ซึ่งแบ่งระดับความคุ้มครองออกเป็น 5 รูปแบบ ดังนี้ 

 

1. ผู้ป่วยใน (IPD) : คุ้มครองกรณีนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล ทั้งนี้หากเลือกการคุ้มครองที่ครอบคลุมค่าห้องสูง ค่าเบี้ยประกันก็จะสูงตาม

 

2. ผู้ป่วยนอก (OPD) : คุ้มครองกรณีทำการรักษาตัวที่โรงพยาบาล แต่ไม่ได้นอนพักรักษาตัว เช่น อุบัติเหตุเล็ก เป็นไข้ ปวดหัว

 

3. โรคร้ายแรง (ECIR) : คุ้มครองกรณีเจ็บป่วยในร้ายแรงที่ต้องรักษาตัวนาน ค่าใช้จ่ายสูง เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคเกี่ยวกับสมอง เป็นต้น

 

4. ประกันอุบัติเหตุ (PA) : คุ้มครองการรักษาอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุเล็กๆ น้อยๆ ทำให้ทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะ หรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ

 

5. ประกันชดเชยรายได้ : คุ้มครองกรณีที่ผู้ทำประกันภัยต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล ซึ่งบริษัทประกันจะเป็นผู้จ่ายค่าสินไหมทดแทนเพื่อเป็นการชดเชยรายได้เป็นรายวันให้กับผู้ทำประกันในช่วงนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล ซึ่งประกันชดเชยรายได้จะไม่ได้ครอบคลุมเรื่องค่ารักษาพยาบาล

 

เมื่อนำประกันสุขภาพมาเปรียบเทียบกับประกันชีวิต จะเห็นข้อแตกต่างชัดเจนดังนี้

 

ประกันชีวิต คือ ประกันที่มอบความคุ้มครองในกรณีที่คุณเสียชีวิต โดยบริษัทประกันชีวิตจะจ่ายเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ให้แก่ผู้รับผลประโยชน์ตามที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ หรือหากผู้ทำประกันยังมีชีวิตอยู่ในช่วงระยะเวลาที่กำหนด บริษัทประกันชีวิตก็จะเงินให้กับผู้ทำประกันโดยตรง แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่

Advertisements

 

1. ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา : เน้นการคุ้มครองชีวิตระยะสั้น สามารถเลือกได้ว่าจะจ่ายเบี้ยประกันเพื่อรับความคุ้มครองกี่ปี เช่น 5 ปี 10 ปี 15 ปี เมื่อจ่ายเบี้ยประกันไปแล้วเราจะได้รับความคุ้มครองตามจำนวนปีที่เลือกไว้ และเมื่อกรมธรรม์ครบกำหนดสัญญาแล้วแต่เจ้าของกรมธรรม์ยังมีชีวิตอยู่ก็จะไม่ได้รับผลตอบแทนใดๆ ทั้งสิ้น แต่ถ้าเจ้าของกรมธรรม์เสียชีวิตในช่วงระยะเวลาการคุ้มครองตามสัญญา ผลตอบแทนก็จะไปตกอยู่กับผู้รับผลประโยชน์แทน

 

2. ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ : เน้นการคุ้มครองชีวิตระยะยาว โดยจ่ายเบี้ยประกันแค่ช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่งตามที่เราเลือก เช่น จ่ายเบี้ยประกันชีวิต 10 ปี แต่คุ้มครองจนถึงอายุ 90 ปี เมื่อผู้ถือกรมธรรม์มีอายุครบ 90 ปีก็จะได้รับทุนประกันคืน cแต่ถ้าเสียชีวิตระหว่างนี้ทุนประกันคืนจะเป็นของผู้รับผลประโยชน์แทน

 

3. ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ : เน้นการออมทรัพย์และได้รับความคุ้มครองชีวิตด้วย โดยผู้ถือกรมธรรม์จะได้รับผลตอบแทนมากกว่าเบี้ยที่จ่ายไป มีตัวเลขผลตอบแทนอย่างชัดเจน มีการกำหนดปีที่จะได้รับเงินสดคืน เช่น ประกันชีวิต 15 ปี ได้รับความคุ้มครอง 20 ปี ในแต่ละปีก็จะได้รับผลตอบแทนต่อเนื่องทุกปี ปีละ 2% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย แต่หากเสียชีวิตระหว่าง 20 ปีนี้ ผลตอบแทนก็จะตกไปอยู่กับผู้รับผลประโยชน์แทน เป็นต้น จุดเด่นในเรื่องของการช่วยออมทรัพย์นี้เป็นสิ่งที่คนวัยทำงานมักให้ความสนใจ เพราะเมื่อนำประกันสุขภาพมาเปรียบเทียบกันแล้ว ถือว่าตอบโจทย์ได้ดีกว่า

 

4. ประกันชีวิตแบบบำนาญ : เน้นการออมเงินไว้ใช้หลังเกษียณ เช่น กำหนดจ่ายเบี้ยประกันจนถึงอายุ 60 ปี ได้รับความคุ้มครองไปจนถึงอายุ 99 ปี ดังนั้นหากเราจ่ายเบี้ยประกันไปจนครบอายุ 60 ปีแล้ว ระหว่างนี้ไปจนถึงอายุ 99 ปี เราก็จะได้รับเงินบำนาญจากบริษัทประกันตามสัญญาที่ทำไว้ แต่ถ้าเสียชีวิตก่อนก็จะได้รับเงินชดเชยที่สูงกว่าเบี้ยที่จ่ายมาแล้วทั้งหมดมากน้อยขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละบริษัทประกันชีวิต

จับประกันชีวิตกับประกันสุขภาพมาเปรียบเทียบกันแค่ข้อมูลเท่านี้คงไม่พอ เราขอลงข้อมูลลึกอีกสักนิด เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับใครที่กำลังจะตัดสินใจทำประกัน

 

รายละเอียด

ประกันสุขภาพ

ประกันชีวิต

วัตถุประสงค์ของการทำประกัน

เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล 

เป็นการวางแผนอนาคตเพื่อครอบครัว กรณีที่เสียชีวิต คนในครอบครัวหรือคนใกล้ชิดจะได้รับผลประโยชน์ มีเงินสำรองสำหรับใช้จ่ายในอนาคต
ผู้รับผลประโยชน์ ผู้ทำประกันเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์เอง เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าชดเชยรายได้ขณะพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล เป็นต้น กรณีที่ไม่เสียชีวิตระหว่างระยะเวลาคุ้มครอง ผู้ทำประกันก็จะเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ แต่หากเสียชีวิตในช่วงระยะเวลาคุ้มครอง ผลประโยชน์จะตกไปเป็นของผู้รับผลประโยชน์แทน เช่น พ่อ แม่ บุตร สามี ภรรยา ตามที่ผู้ทำประกันระบุไว้ในกรมธรรม์
ราคาเบี้ยประกัน ราคาเบี้ยประกันมีให้เลือกตั้งแต่ต่ำไปจนถึงสูง ราคาเบี้ยประกันสูง 
ผลตอบแทนคืนจากเบี้ยประกัน ไม่มีผลตอบแทนสะสมกรมธรรม์จากเบี้ยประกันที่จ่ายไป เพราะเบี้ยประกันสุขภาพจะตอบแทนในรูปแบบค่ารักษาพยาบาลและค่าชดเชยรายได้ขณะพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลเท่านั้น ได้รับผลตอบแทนสะสมกรมธรรม์จากเบี้ยประกันที่จ่ายไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของประกันชีวิต
การลดหย่อนภาษี นำไปลดหย่อนภาษีได้ จำนวนมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับรูปแบบประกันที่เลือก นำไปลดหย่อนภาษีได้ จำนวนมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับรูปแบบประกันที่เลือก

 

และทั้งหมดนี้ก็เป็นข้อมูลระหว่างประกันชีวิตกับประกันสุขภาพ เปรียบเทียบกันให้เห็นกันแบบชัดๆ หวังว่าทุกคนคงจะเข้าใจได้ง่ายขึ้น สรุปง่ายๆ ก็คือ ใครอยากได้รับความคุ้มครองทางการเงินกรณีเจ็บป่วย เข้าโรงพยาบาล ก็ให้เลือกทำประกันสุขภาพ ใครอยากได้รับความคุ้มครองชีวิตกรณีที่เสียชีวิตและต้องการมีเงินทุนทิ้งไว้ให้คนในครอบครัวก็เลือกทำประกันชีวิตได้เลย

Advertisements

Advertisements

Advertisements