โรคนรีเวชไม่กวนใจ!! 4 สุดยอดอาหารบำรุงมดลูก บำรุงไข่ให้สมบูรณ์

โรคนรีเวชนับว่าเป็นอีกหนึ่งโรคยอดฮิตที่สาวๆ ทุกคนไม่ควรมองข้าม เนื่องจากเป็นโรคที่ผู้หญิงซึ่งเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์แล้วมีโอกาสเป็นได้ทุกคน UndubZapp ขออาสาพาสาวๆ ทุกคนมาป้องกันโรคนรีเวชทั้งหลายด้วยการเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับมดลูกและไข่ให้อยู่ในสภาวะสมบูรณ์กันค่ะ

นอกจากวิธีนี้จะช่วยป้องกันโอกาสเกิดโรคต่างๆ ได้ในระดับหนึ่งแล้ว ยังดีต่อใจสำหรับสาวๆ ที่อยากมีเบบี๋ในอนาคตอีกด้วยนะคะ เพราะถ้าไข่สมบูรณ์ มดลูกสุขภาพดี ก็มีโอกาสจะมีเบบี๋ได้ง่ายๆ เลยล่ะค่ะ

 

1.อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง

ธาตุเหล็กเป็นธาตุที่มีความสำคัญต่อการเสริมสร้างสุขภาพร่างกายของผู้หญิงเป็นอย่างมาก เนื่องจากผู้หญิงมีโอกาสสูญเสียธาตุเหล็กมากกว่าผู้ชายจากการมีประจำเดือน หากทานมังสวิรัติด้วยจะมีแนวโน้มสูญเสียธาตุเหล็กมากขึ้น

 

ผู้หญิงทุกคนจึงควรหมั่นเติมธาตุเหล็กให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย เพื่อป้องกันภาวะโลหิตจาง และความผิดปกติอื่นๆ ทางด้านสุขภาพ ผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ช่วงอายุ 15-50 ปี ควรได้รับธาตุเหล็ก 15 มิลลิกรัม/วัน สำหรับผู้หญิงวัย 50 ปีขึ้นไป ควรได้รับ 10 มิลลิกรัม/วัน

 

 

🥄 อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ได้แก่ เนื้อสัตว์ต่างๆ โดยเฉพาะเนื้อแดง เครื่องในสัตว์ เลือด ตับ อาหารทะเล ปลา เป็ด ไก่ ไข่แดง ธัญพืชต่างๆ เช่น ข้าวโอ๊ต จมูกข้าวสาลี ซีเรียล ถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ ผักใบเขียวเข้ม เช่น คะน้า ตำลึง หน่อไม้ฝรั่ง ผักบุ้ง ผักโขม

 

2.อาหารที่อุดมไปด้วยวิตามิน K

วิตามิน K เป็นวิตามินที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นเองได้ แต่ด้วยไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของผู้หญิงในปัจจุบันอาจทำให้ได้รับวิตามินไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย วิตามิน K มีคุณสมบัติในการป้องกันภาวะเลือดไหลไม่หยุด ป้องกันเลือดออกภายใน มีส่วนช่วยในกระบวนการสร้างลิ่มเลือด บรรเทาอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ ทั้งยังมีส่วนช่วยป้องกันภาวะกระดูกเปราะบางอีกด้วย

 

Advertisements

🥄 อาหารที่อุดมไปด้วยวิตามิน K ได้แก่ ผักใบเขียว ผักโขม ผักเคล บร็อคโคลี หน่อไม้ฝรั่ง ผักชีฝรั่ง ต้นหอม คะน้า กวางตุ้ง กุยช่าย กะเพราะ โหระพา ผักกาดหอม ถั่วเหลือง สตรอเบอร์รี่ กีวี่ องุ่น ลูกพรุน น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะกอก น้ำมันดอกคำฝอย

 

3.อาหารที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ

สารต้านอนุมูลอิสระเป็นสารที่มีฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระตามชื่อ ช่วยปกป้องเซลล์จากการถูกทำลายโดยสารอนุมูลอิสระ สารที่ไม่มีความเสถียรทางโมเลกุล ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง เมื่อร่างกายได้รับสารต้านอนุมูลอิสระเข้าไป ร่างกายจะส่งสารต้านอนุมูลอิสระ สารที่มีความเสถียร ไปทำปฏิกิริยากับสารอนุมูลอิสระ เพื่อป้องกันการเสื่อมความเซลล์จากสารอนุมูลอิสระ

 

🥄 อาหารที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ ผลไม้ โดยเฉพาะผลไม้ตระกูลเบอร์รี กีวี มะละกอ ฝรั่ง แอปเปิ้ล องุ่น แตงโม ส้ม มะเขือเทศ แคนตาลูป ฟักทอง แครอท กะหล่ำปลี ผักโขม เนื้อวัว เนื้อเป็ด เนื้อไก่ ปลา ข้าวโพด ข้าวสาลี ถั่วเหลือง อัลมอนด์

 

4.อาหารที่มีปริมาณไขมันชนิดดีมาก

ไขมันดี (High-Density Lipoprotein : HDL) คือไขมันชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยกำจัดคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (Low-Density Lipoprotein : LDL) ที่สะสมอยู่ตามหลอดเลือด จึงช่วยลดความเสี่ยงอัตราการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ และภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้เป็นอย่างดี

 

เมื่อคนเราอายุเพิ่มขึ้น ระดับไขมันจะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย การรับประทานอาหารที่มีปริมาณไขมันชนิดดีในปริมาณที่เหมาะสม จะสามารถป้องกันภาวะคอเลสเตอรอลสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

🥄 อาหารที่มีปริมาณไขมันชนิดดีมาก ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากนม ไข่ ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาแมคเคอเรล ปลาซาร์ดีน น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว น้ำมันทานตะวัน แอปเปิล อโวคาโด ข้าวกล้อง ถั่วลิสง ถั่วพิตาชิโอ อัลมอนด์ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ เต้าหู้

Advertisements

Advertisements

Advertisements