ความดันโลหิตเท่าไหร่จัดว่าความดันสูง? รู้ให้ทันภาวะความดันโลหิตสูงแบบเข้าใจง่าย ลดเสี่ยงเจ็บป่วย

“โรคความดันโลหิตสูง” ถือเป็นอีกภัยเงียบที่เราทุกคนควรให้ความสนใจไม่แพ้กับโรคอื่นๆ เนื่องจากเป็นโรคที่ไม่ค่อยส่งสัญญาณเตือน หรือแสดงอาการใดๆ ให้เราทราบล่วงหน้าสักเท่าไหร่ หลายๆ คนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงนั้น กว่าจะรู้ตัวก็มารู้เอาตอนที่เกิดโรคแทรกซ้อนเจ็บป่วยฉุกเฉินเสียแล้ว ที่สำคัญ เป็นแล้วรักษาไม่หาย แต่ควบคุมอาการได้หากดูแลสุขภาพให้ถูกวิธี

 

ความดันโลหิตคืออะไร? 

“ความดันโลหิต” คือ แรงดันที่เกิดขึ้นในหลอดเลือดแดง ทำหน้าที่สูบฉีดเลือด เพื่อไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย เครื่องวัดความดันโลหิตจะบอกค่าความดันโลหิตเป็น 2 ค่า ได้แก่ ค่าตัวบน (Systolic) ความดันเมื่อหัวใจบีบตัว และ ค่าตัวล่าง (Diastolic) ความดันเมื่อหัวใจคลายตัว ซึ่งค่าความดันมาตรฐานสำหรับบุคคลทั่วไปจะอยู่ที่ 120/80 อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ ความดันโลหิตตัวบนไม่เกิน 120 มิลลิเมตรปรอท ความดันโลหิตตัวล่างไม่เกิน 80 มิลลิเมตรปรอทนั่นเอง 

 

ความดันโลหิตเท่าไหร่จัดว่าความดันโลหิตสูง? 

  • เมื่อค่าตัวบนอยู่ที่ 121-139 และ ค่าตัวล่างอยู่ที่ 80-89 

จัดว่าความดันเริ่มสูง ควรเริ่มควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย และหมั่นเช็คความดันสม่ำเสมอ 

  • เมื่อค่าตัวบนอยู่ที่ 140-159 และ ค่าตัวล่างอยู่ที่ 90-99 

จัดว่าความดันสูง ควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษาตามอาการต่อไป 

  • เมื่อค่าตัวบนมากกว่า 160 และ ค่าตัวล่างมากกว่า 100 

จัดว่าความดันสูงมาก ควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษาโดยด่วน 

 

ความดันโลหิตสูงเกิดจากอะไร? 

  • อายุมากขึ้น 
  • น้ำหนักเกินมาตรฐาน 
  • อาหารไขมันสูง อาหารรสจัด หวานจัด เค็มจัด  
  • ความเครียดสะสม 
  • โรคทางพันธุกรรม 

 

โรคความดันโลหิตสูงมีอาการอย่างไรบ้าง? 

ผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีอาการใดๆ เลย หรืออาจพบว่ามีอาการปวดศีรษะ ปวดตา หรือปวดต้นคอเป็นประจำ รู้สึกมึนงง หน้ามืด เวียนศีรษะ ตาพร่ามัว เหนื่อยง่าย หายใจหอบ เลือดกำเดาไหลบ่อย คลื่นไส้ อาเจียน มือชา มือสั่น ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว แต่ที่น่ากังวลยิ่งกว่าก็คือ ภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูง เพราะหากปล่อยให้ความดันโลหิตสูงต่อไปเรื่อยๆ โดยไม่ได้ดูแลหรือหาทางควบคุมให้ความดันโลหิตกลับมาอยู่ในเกณฑ์ปกติแล้ว อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา เช่น โรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดแดง โรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง หลอดเลือดในสมองแตก ตีบ หรือตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคไตเรื้อรัง  (อ้างอิง โรคความดันโลหิตสูง )

 

© รูปต้นฉบับ:   unsplash.com

ป้องกันโรคความดันโลหิตสูงอย่างไรดี? 

1.ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่ให้น้ำหนักมากเกินไป หรือจัดอยู่ในโรคอ้วน 

2.รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่เป็นประจำ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างพอเพียง 

3.หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด หวานจัด เค็มจัด มันจัด และอาหารให้พลังงานสูงทั้งหลาย 

4.จำกัดปริมาณโซเดียม ไม่บริโภคโซเดียมเกิน 2,300 มิลลิกรัมในแต่ละวัน 

5.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อยๆ วันละ 30 นาที 3 วันต่อสัปดาห์ 

6.งดหรืดลดการสูบบุหรี่และการดื่มสุรา ให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม 

Advertisements

7.ทำจิตใจให้แจ่มใส มองโลกในแง่บวก ทำให้อยู่ไกลจากความเครียด 

8.เข้ารับการตรวจวัดค่าระดับความดันโลหิตเป็นประจำ อย่างน้อยๆ ปีละ 1 ครั้ง 

© รูปต้นฉบับ:  pexels.com

ความดันโลหิตเริ่มสูงควรดูแลตัวเองอย่างไร?  

ส่วนคนที่พบว่าความดันโลหิตเริ่มเข้าข่ายสูงเกินมาตรฐานแล้ว สามารถดูแลตัวเองได้ง่ายๆ ด้วยการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตตัวเองใหม่   

1.ปรับพฤติกรรมการกิน  

พฤติกรรมการเพิ่มการรับประทานอาหารที่ให้กากใยสูง เช่น พืชผักใบเขียว เลือกรับประทานอาหารที่ให้กรดไขมันดีต่อร่างกาย เช่น ธัญพืช หรือถั่วชนิดต่าง  เปลี่ยนจากการรับประทานเนื้อสัตว์ที่มีไขมันสูง มาเป็นเนื้อสัตว์ที่ให้ไขมันต่ำ และมีกรดไขมันโอเมก้า-3 เช่น ปลาชนิดต่างๆ โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นปลาจากทะเลลึก ราคาสูง แต่ปลาไทยๆ หาซื้อได้ในเมืองไทยก็ให้ปริมาณกรดไขมันโอเมก้า-3 ได้เหมือนกัน ( กินปลา(ไทย)ได้โอเมก้า-3 เหมือนกัน!! 7 ปลาไทยโอเมก้า-3 สูง บำรุงสมอง ป้องกันอัลไซเมอร์ )

 

2.ออกกำลังกายให้เหมาะกับสุขภาพ 

สำหรับคนที่มีความดันโลหิตสูง การออกกำลังกายก็เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยสำคัญที่จะช่วยควบคุมความดันโลหิตไม่ให้สูงเกิดค่ามาตรฐาน แต่จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ก่อนว่าควรออกกำลังกายอย่างไรเพื่อความปลอดภัย ซึ่งการออกกำลังกายที่ปลอดภัย คือการเดิน  เนื่องจากการเดินต่อเนื่อง เป็นการออกกำลังกายที่มีการเคลื่อนไหวและไม่หนักจนเกินไป สำหรับผู้ที่เริ่มต้นออกกำลังกาย แนะนำให้เดินวันละ 20-30 นาที คือให้อยู่ในระดับเบาจนถึงปานกลาง ไม่ให้รู้สึกเหนื่อยเกินไป   (อ้างอิง ความดันโลหิตสูงกับการออกกำลังกาย )

© รูปต้นฉบับ:  unsplash.com

 

3.งดเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์  

การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ในปริมาณมากมีผลต่อภาวะความดันโลหิตสูงได้เช่นเดียวกับการรับประทานอาหารไขมันสูง เนื่องจากแอลกอฮอล์จะเข้าไปกระตุ้นให้หัวใจทำงานหนักขึ้น สูบฉีดเลือดเร็วและแรงขึ้น ทำให้เกิดแรงดันสูงในหลอดเลือด  

 

 

 ©Feature image pixabay.com

กดติดตาม ADD Line @UndubZapp

Advertisements

Advertisements

Advertisements