แม่ฮ่องสอน เป็ยนจังหวัดหนึ่งทางภาคเหนือ ที่มีเอกลักษณ์ทางด้านสภาพภูมิประเทศ และภูมิอากาศ จนได้รับฉายาว่า “เมืองหมอก 3 ฤดู” หรือเมืองสามหมอก เพราะไม่ว่าจะฤดูไหน จังหวัดนี้ก็จะมีหมอกปกคลุ่มตลอดทั้งปี เรียกได้ว่าเป็นความโรแมนติกของธรรมชาติ ที่หายากจากที่อื่นใด อีกทั้งยังมีความหลากหลายของวิถีชีวิต สภาพความเป็นอยู่ และวัฒนธรรม จึงทำให้จังหวัดแห่งนี้มีความหลากหลายในหลายๆ ด้าน
พระตำหนักปางตอง
จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่ซึ่งมีปัญหาการบุกรุกป่าไม่ เพื่อทำไร่เลื่อนลอย และยังมีการปลูกฝิ่นกันอย่างกว้างขว้าง หากแต่ว่าในภายหลังที่ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช” และ “สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จมายังพื้นที่ดังกล่าวแล้ว จึงได้มีกระแสรับสั่งให้ก่อตั้ง โครงการพัฒนาพื้นที่ตามแนวพระราชดำริปางตอง โดยมีวัตุประสงค์เพื่อให้มีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ลด ละ เลิก การทำลายธรรมชาติ แล้วหันมาดำรงชีวิตด้วยการทำเกษตรกรรม จากพืชเมืองหนาว ภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
© รูปต้นฉบับ: inlovepai, อินสตาแกรม
สืบเนื่องจากการก่อตั้งโครงการนั้น ทำให้ “พระตำหนักปางตอง” ได้ถูกสร้างขึ้นมา เพื่อเป็นสถานที่สำหรับใช้ทรงงาน และประทับ โดยพระตำหนักเป็นหมู่เรือนประทับแรมไม้ 6 หลัง ซึ่งตั้งอยู่ติดแนวไหล่เขา โดยรอบยังมีการปลูกต้นไม้นานาชนิดเพื่อให้ความร่มรื่น
โดยลักษณะทั่วไปของพระตำหนัก ตั้งอยู่บนพื้นที่ภูเขาชันสลับกับที่ราบเชิงเขา มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 800 – 1,000 เมตร จึงทำให้บรรยากาศในพระตำหนักแห่งนี้ มีอากาศที่หนาวเย็นตลอดเกือบทั้งปี
ภายในพระราชตำหนัก ประกอบไปด้วยอาคารประกอบดังนี้
ศาลมหาราช
– ฐานเรียนรู้การปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง
– เรือนเพาะชำและอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้
– ศูนย์อนุรักษ์และสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าปางตอง
Advertisements
– ฐานเรียนรู้การทำเกษตรที่สูงตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
– อาคารพระตำหนักปางตอง
© รูปต้นฉบับ: airportthai.co.th
ปัจจุบัน ภายในพระตำหนัก มีทั้งพื้นที่ของการให้ความรู้และให้ความเพลิดเพลินแก่ผู้ที่ได้เข้ามารับชม ซึ่งทำให้บริเวณดังกล่าว นอกจะเป็นจุดกำเนิดของแกล่งอาชีพของผู้คน ก็ยังเป็นสถานที่สำคัญในการให้ความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงอีกด้วย
โครงการจัดหมู่บ้านรวมไทย ปางอุ๋ง
ในสมัยก่อน พื้นที่บริเวณปางอุ๋ง มีสภาพเป็นป่าเสื่อมโทรม และเป็นพื้นที่ที่มีความอันตรายสูง เพราะอยู่ติดกับแนวชายแดน ซึ่งมีการขนส่งยาเสพติด และเป็นสถานที่ทำไร่ฝิ่นของชาวเขา จนทำให้ป่าไม้ในบริเวณดังกล่าว ถูกบุกรุกเพื่อจะได้มาซึ่งพื้นที่ในการปลูกสิ่งผิดกฏหมาย
© รูปต้นฉบับ: ru_jiira, อินสตาแกรม
ในปีพุทธศักราช 2522 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชดำริ ที่จะให้สภาพความเป็นอยู่ของผู้คนมีคุณภาพที่ดีขึ้น โดยการส่งเสริมให้ปลูกป่า ส่งเสริมการสร้างอาชีพ และประการที่สำคัญคือการสร้างอ่างเก็บน้ำขึ้น เป็นการสร้างความมั่นคงตามพื้นที่แนวชายแดน มากไปว่านั้น ก็คือการพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น และฟื้นฟูธรรมชาติไปในตัว
© รูปต้นฉบับ: bellahha, อินสตาแกรม
ปัจจุบัน ปางอุ๋ง ถือว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยว ทั้งจากในและนอกประเทศให้ความสนใจกันอย่างล้นหลาม โดยสภาพของปางอุ๋งที่มีความเป็นธรรมชาติสูง เหล่าผู้โหยหาความเป็นธรรมชาติ ไฝ่ฝันที่จะมาที่นี่โดยที่พักภายในปางอุ๋ง ก็จะมีบ้านพักที่เหล่าผู้คนในพื้นที่ เปิดเป็นโฮมสเตย์ ให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสความสวยงามของบรรยากาศ ทั้งแนวต้นสนริมทะเลสาบที่มองแล้วไกลออกไกลสุดลูกหูลูกตา หากว่าโชคดีก็อาจจะได้เห็นถึงความโรแมนติกของคู่รักประจำที่แห่งนี้ นั้นก็คือหงส์ดำและหงส์ขาว ซึ่งเป็นหงส์ที่ได้รับการพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถอีกด้วย ความงามของทะเลหมอกที่คลอเคลียลำธารและยอดหญ้าในยามเช้า จนทำให้ได้รับการขนานนามว่าเป็น “สวิสเซอร์แลนด์เมืองไทย” เลยที่เดียว
Advertisements