“ตลอดระยะเวลา 70 ปีที่ครองราชย์ ไม่มีที่ใดในผืนแผ่นดินไทย ที่ในหลวงไปไม่ถึง” เป็นคำพูดที่คงจะเป็นคำที่ตราตรึงอยู่ในหัวใจคนไทยมาตลอดและตราบนานเท่านาน เพราะว่าการเสด็จของท่าน มิได้เป็นการไปเพื่อพักผ่อนพระวรกาย หรือเพื่อความสำราญแต่อย่างใด แต่ทรงไปเพื่อสร้างอาชีพ สร้างความอยู่ดีกินดีแก่พสกนิการชาวไทยทั้งสิ้น วันนี้ Undubzapp จึงอยากชวนคนไทยทั้งชาติ มาก้าวตามรอยพ่อหลวงของเราไปยังสถานที่ต่างๆ ที่อยู่ในจังหวัดพระตำหนักของพ่อหลวงที่พระองค์ใช้ทรงงานมาตลอดการครองราชย์ที่ผ่านมา
พระตำหนัก วังไกลกังวล
“วังไกลกังวล” สร้างโดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ จากพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ โดยผู้อำนวยการศิลปากรในขณะนั้น คือ หม่อมเจ้าอิทธิเทพสวรรค์ กฤดากร เป็นสถาปนิกออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง
ครั้งหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ ไปประทับพักผ่อนพระอริยาบถที่พระราชตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล เป็นเวลา 3 วัน พร้อมกับผู้ติดตาม
ภายในพระตำหนัก ประกอบไปด้วยอาคารประกอบดังนี้
– พระตำหนักเปี่ยมสุข
– พระตำหนักน้อย
– พระตำหนักปลุกเกษม
– พระตำหนักเอิบเปรมเอมปรีย์
– ศาลาเริงใจ
Advertisements
– ศาลาราชประชาสมาคม
วังไกลกังวลเป็นที่ประทับแปรพระราชฐานในช่วงฤดูร้อนของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์
ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี
“…พระเจ้าอยู่หัวเป็นน้ำ ฉันจะเป็นป่า ป่าที่ถวายความจงรักภักดีต่อน้ำ …. พระเจ้าอยู่หัวสร้างอ่างเก็บน้ำ ฉันจะสร้างป่า…”
นี่คือพระราชปณิธาน “สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ” ปรากฏตามพระราชดำรัส เมื่อ พ.ศ.2525 พระราชปณิธานนั้นมิใช่ทรงตั้งขึ้นบนการร้องขอให้ผู้อื่นทำหากแต่ทรงลงมือทำด้วยพระองค์เอง เพื่อให้คำว่า “ฉันจะสร้างป่า” เป็นประจักษ์จริง
ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี เป็นศูนย์การเรียนรู้ ฟื้นฟูป่าชายเลนจากนากุ้งร้างแห่งแรกของประเทศไทย บนพื้นที่กว่า 786 ไร่ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มีพระราชดำรัสเมื่อครั้งเสด็จฯ ปราณบุรีว่า “ปลูกป่าแล้วต้องให้ชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์ด้วย” นอกจากการเดินชมธรรมชาติแล้ว ยังมีกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวตามรอย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ด้วยการร่วมกันปล่อยปู เพื่อเป็นการอนุรักษ์สัตว์น้ำ
นอกจากนั้น ในเส้นทางเดินยังมีสิ่งน่าสนใจ คือ ต้นโกงกางประวัติศาสตร์ หรือ ต้นโกงกางใบเล็กจำนวน 2 ต้น ที่ ในหลวงรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระเทพฯ ทรงปลูกที่ศูนย์แห่งนี้ และที่สำคัญ ต้นโกงกางก็ถือว่าเป็นไม้เด่นประจำป่าชายเลน อีกด้วย ในป่าแห่งนี้นี้มีทั้งโกงกางใบเล็กและโกงกางใบใหญ่ นอกจากนั้นก็ยังมีต้นแสม ต้นโปร่ง เป็นต้น เรียกได้ว่าเป็นสังคมป่าชายเลน ที่อุดมสมบูรณ์อีกที่หนึ่งในประเทศไทยเลยก็ว่าได้
Advertisements