พระนครศรีอยุธยา เมืองเก่าที่เคยเป็นราชธานีของไทย ตั้งอยู่บนบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา แม่น้ำสายหลักที่หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนมาแล้วมากมาย โดยเป็นเมืองที่มีความเป็นมาอันน่าสนใจ อีกทั้งยังคงซึ่งกลิ่นอายของความเป็นอดีต ความเป็นเมืองเก่า ราวกลับว่า หากเมื่อได้เข้าไปยังจังหวัดนี้แล้ว คงเสมือนได้กลับไปยังในอดีตเลยก็ว่าได้
พระตำหนัก สิริยาลัย
พระตำหนักสิริยาลัย สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพื่อใช้เป็นที่ประทับ เมื่อเสด็จฯ มายังจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งอยู่ตรงข้ามวัดไชยวัฒนาราม โดยพระตำหนักหลังนี้เป็นการสร้างขึ้นจากทรัพย์ในส่วนของพระองค์เอง เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบในปีพุทธศักราช 2534
© รูปต้นฉบับ: คนชอบเที่ยว, oknation
หลังจากที่สร้างพระตำหนักแล้ว สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร ทรงพระราชกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จารึกคำลงในแผ่นเงินภายในฝาพระราชตำหนัก จึงขออันเชิญให้ปรากกฎไว้ ณ ที่นี้ โดยความว่า
“…พระตำหนักหลังนี้มีความหมาย พ่อกับชายสร้างถวายให้กับแม่ วิมานทองแห่งนี้คือดวงแด ลูกกับแม่ผูกพันนิรันดร อนุภาพแห่งความรักสลักจิต เนรมิตเรือนไทยอนุสรณ์ ครบหกสิบพรรษาพระมารดร ประชากรแซ่ซ้องพระบารมี ขอบูชาจารึกด้วยชีวิต ชายอุทิศกายใจไว้ที่นี่ เพื่อถวายความจงรักและภักดี อีกหมื่นปีไม่มีคลายจากชายเอย…”
© รูปต้นฉบับ: คนชอบเที่ยว, oknation
ส่วนในด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม ผู้ออกแบบคือ หม่อมหลวงท้าวเทวกุล ส่วนสถาปนิกคือ นายเดชา บุญค้ำ เป็นพระตำหนักแบบไม้ยูคาลิปตัส โดยเป็นศิลปกรรมแบบหมู่เรือนทรงไทยโบราณ ประดับตกต่างไปด้วยดอกไม้นานาชนิดและมีศาลาอยู่บริเวณริมน้ำอีกด้วย
Advertisements
ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร
แหล่งเรียนรู้และสร้างอาชีพราษฎรอันสำคัญอีกแหล่งหนึ่ง โดยมีจุดประสงค์ที่จะมุ่งหวังให้ฝึกอาชีพศิลปหัตถกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการจัดสาน การแกะสลัก การทำตุ๊กตา และ การทอผ้า โดยผลผลิตจากการฝึกอาชีพก็จะถูกนำออกมาจำหน่าย เพื่อให้เป็นรายได้แก่ผู้ผลิตผลงานออกมา โดยส่งไปจำหน่ายยังร้านจิตรลดา แต่ละสาขาทั่วประเทศ
แผนกช่างฝีมือ 32 แห่ง
อาคารแผนกช่าง ตั้งอยู่บริเวณใจกลางศิลปาชีพ ประกอบไปด้วยอาคารที่มีการฝึกอบรบช่างแขนงต่างๆ โดยล้วนแต่เป็นการมุ่งฝึกอาชีพเกี่ยวกับงานศิลปหัตถกรรมทั้งสิ้น ปัจจุบันในศูนย์ศิลปาชีพมีโรงช่างฝึกมากถึง 32 แผนก
โดยศิลปาชีพแห่งนี้ ก็มีการฝึกการสอนสิ่งต่างๆ อย่างครบถ้วน และแผนกผ้า ก็ยังเป็นแผนกที่สำคัญมาก เพราะนอกจะเป็นงานฝีมือที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงโปรดปรานแล้ว ยังเป็นการรักษาแลสานต่อเอกลักษณ์ของความเป็นไทย ที่ยังคงมีอยู่คู่กับคนไทย สืบไปตราบนานเท่านาน เพราะในปัจจุบันนี้การทอผ้าด้วยมือ ถือว่าเป็นสิ่งที่หายากและใกล้จะสูญหายไปแล้วในสังคมไทย ทั้งๆ ที่เป็นสิ่งที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้
หมู่บ้านศิลปาชีพ
ในโซนนี้ จะมีพื้นที่กว้างเป็นพิเศษ เพราะมีการจำลองหมู่บ้านไทยโบราณ 4 ภาค และมีสระน้ำขนาดใหญ่อยู่กลางพื้นที่ ความพิเศษนั้นก็คือ ภายในบ้านแต่ละภาคนั้น จะมีผลงานศิลปหัตถกรรมในแต่ละภาคให้ได้เยี่ยมชมกัน บ้านบางหลังก็มีร้านอาหารที่อยู่ตรงบริเวณใต้ถุน และแน่นอนว่าร้านอาหารเหล่านั้นก็จะเป็นอาหารของแต่ละภูมิภาคเช่นเดียวกัน บางหลังก็มีร้านขายของที่ระลึก โดยคุณสามารถเลือกซื้อจับจองและขึ้นไปชมบนบ้านได้อีกด้วย
Advertisements