แบบประเมินการกินอาหาร หวาน มัน เค็ม เช็กนิสัยการกินที่ถูกต้อง

ปัญหาสุขภาพซึ่งเกี่ยวข้องกับโรคติดต่อไม่เรื้อรังส่วนใหญ่ มักมีสาเหตุมาจากไลฟ์สไตล์บริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง UndubZapp จึงอยากเชิญชวนทุกคนมาร่วมทำแบบประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหาร หวาน มัน เค็ม (Eat Test) เช็กนิสัยการกินที่ไม่เหมาะสม ทุกคนจะได้ทราบแนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหาร ลดหวาน มัน เค็ม เพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน

 

แบบประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหารหวาน

ตอบตามความเป็นจริงว่าคุณทำพฤติกรรมเหล่านี้บ่อยเพียงใด

1.กินขนมขบเคี้ยว ขนมหวาน เบเกอรี่ หรือไอศกรีม

 

2.ดื่มน้ำอัดลม น้ำหวาน หรือ นมเปรี้ยว

 

3.ดื่มกาแฟ 3 in 1 กาแฟเย็น กาแฟปั่น โกโก้ปั่น ชานม หรือชาใส่น้ำตาล

 

4.ดื่มน้ำผักผลไม้สำเร็จรูป

 

5.เติมน้ำตาล น้ำเชื่อม หรือน้ำผึ้ง เพิ่มลงในอาหาร

 

 

 

 

📝 การแปลผล

  • ถ้าคุณตอบ ก. ทุกวัน หรือ เกือบทุกวัน = 3 คะแนน
  • ถ้าคุณตอบ ข. 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ = 2 คะแนน
  • ถ้าคุณตอบ ค. แทบไม่ทำ หรือ ไม่ทำเลย = 1 คะแนน

 

📋 คะแนนรวม

 

  • ถ้าคุณได้คะแนนรวมน้อยกว่าหรือเท่ากับ 5 คะแนน

แปลว่า คุณบริโภคอาหารรสหวานในปริมาณที่พอเหมาะ

พฤติกรรมการกินเช่นนี้ทำให้คุณมีความเสี่ยงต่ำต่อการเกิดภาวะน้ำหนักเกิน

 

  • ถ้าคุณได้คะแนนรวมระหว่าง 6 – 9 คะแนน

แปลว่า คุณบริโภคอาหารรสหวานในปริมาณที่ค่อนข้างสูง

พฤติกรรมการกินเช่นนี้ทำให้คุณมีความเสี่ยงปานกลางต่อการเกิดภาวะน้ำหนักเกิน

ทั้งนี้ ควรเฝ้าระวังไม่ให้ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) สูงเกินกว่าค่ามาตรฐานอยู่เสมอ

 

  • ถ้าคุณได้คะแนนรวมระหว่าง 10- 13 คะแนน

แปลว่า คุณบริโภคอาหารรสหวานในปริมาณสูงเกือบทุกวัน

พฤติกรรมการกินเช่นนี้ทำให้คุณมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะน้ำหนักเกิน

ทั้งนี้ ควรเฝ้าระวังไม่ให้ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) สูงเกินกว่าค่ามาตรฐานอยู่เสมอ

กรมอนามัยแนะนำให้บริโภคน้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อนชาต่อวัน

 

  • ถ้าคุณได้คะแนนรวมมากกว่า 14-15 คะแนน

แปลว่า คุณบริโภคอาหารรสหวานในปริมาณสูงมาก

พฤติกรรมการกินเช่นนี้ทำให้คุณมีความเสี่ยงสูงมากต่อการเกิดภาวะน้ำหนักเกิน

ทั้งนี้ ควรเฝ้าระวังไม่ให้ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) สูงเกินกว่าค่ามาตรฐานอยู่เสมอ

กรมอนามัยแนะนำให้บริโภคน้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อนชาต่อวัน

หากไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือด

 

แบบประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหารมัน

ตอบตามความเป็นจริงว่าคุณทำพฤติกรรมเหล่านี้บ่อยเพียงใด

1.กินอาหารทอด อาหารผัด อาหารฟาสต์ฟู้ด

 

2.กินอาหารจานเดียวไขมันสูง หรืออาหารประเภทแกงกะทิ

 

3.กินเนื้อสัตว์ติดมัน ติดหนัง มีไขมันแทรก

 

4.ซดน้ำแกง ราดน้ำแกงหรือน้ำผัดลงในข้าว

 

5.ดื่มเครื่องดื่มที่ใส่ครีมเทียม นมข้นหวาน วิปปิ้งครีม

 

📝 การแปลผล

 

  • ถ้าคุณตอบ ก. ทุกวัน หรือ เกือบทุกวัน = 3 คะแนน
  • ถ้าคุณตอบ ข. 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ = 2 คะแนน
  • ถ้าคุณตอบ ค. แทบไม่ทำ หรือ ไม่ทำเลย = 1 คะแนน

 

📋 คะแนนรวม

 

  • ถ้าคุณได้คะแนนรวมน้อยกว่าหรือเท่ากับ 5 คะแนน

แปลว่า คุณบริโภคอาหารมันในปริมาณที่พอเหมาะ

พฤติกรรมการกินเช่นนี้ทำให้คุณมีความเสี่ยงต่ำต่อการได้รับผลเสียจากการบริโภคไขมันไม่เหมาะสม

Advertisements

 

  • ถ้าคุณได้คะแนนรวมระหว่าง 6 – 9 คะแนน

แปลว่า คุณบริโภคอาหารมันในปริมาณที่ค่อนข้างสูง

พฤติกรรมการกินเช่นนี้ทำให้คุณมีความเสี่ยงปานกลางต่อได้รับผลเสียจากการบริโภคไขมันไม่เหมาะสม

ทั้งนี้ ควรเฝ้าระวังไม่ให้ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) สูงเกินกว่าค่ามาตรฐานอยู่เสมอ

 

  • ถ้าคุณได้คะแนนรวมระหว่าง 10- 13 คะแนน

แปลว่า คุณบริโภคอาหารมันในปริมาณสูงเกือบทุกวัน

พฤติกรรมการกินเช่นนี้ทำให้คุณมีความเสี่ยงสูงต่อการได้รับผลเสียจากการบริโภคไขมันไม่เหมาะสม

ทั้งนี้ ควรเฝ้าระวังไม่ให้ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) สูงเกินกว่าค่ามาตรฐานอยู่เสมอ

กรมอนามัยแนะนำให้บริโภคน้ำมันไม่เกิน 3 ช้อนโต๊ะต่อวัน

 

  • ถ้าคุณได้คะแนนรวมมากกว่า 14-15 คะแนน

แปลว่า คุณบริโภคอาหารมันในปริมาณสูงมาก

พฤติกรรมการกินเช่นนี้ทำให้คุณมีความเสี่ยงสูงมากต่อการได้รับผลเสียจากการบริโภคไขมันไม่เหมาะสม

ทั้งนี้ ควรเฝ้าระวังไม่ให้ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) สูงเกินกว่าค่ามาตรฐานอยู่เสมอ

กรมอนามัยแนะนำให้บริโภคน้ำมันไม่เกิน 3 ช้อนโต๊ะต่อวัน

หากไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือด

 

แบบประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหารเค็ม

ตอบตามความเป็นจริงว่าคุณทำพฤติกรรมเหล่านี้บ่อยเพียงใด

1.กินเนื้อสัตว์แปรรูป ไส้กรอก บาโลน่า แฮม หมูยอ ปลาเค็ม ปลาร้า กุ้งแห้ง

 

2.กินบะหมี่สำเร็จรูป โจ๊กกึ่งสำเร็จรูป อาหารเวฟ อาหารกล่องแช่แข็ง

 

3.กินผักผลไม้ดอง ผลไม้แช่อิ่ม จิ้มน้ำปลาหวานหรือพริกเกลือ

 

4.ใส่น้ำปลา ซีอิ๊ว ซอส หรือปรุงรสอาหารเพิ่มเติมเป็นประจำ

 

5.ไม่ได้ใช้สมุนไพรหรือเครื่องเทศเป็นส่วนประกอบอาหารแทนเครื่องปรุง

 

📝 การแปลผล

 

  • ถ้าคุณตอบ ก. ทุกวัน หรือ เกือบทุกวัน = 3 คะแนน
  • ถ้าคุณตอบ ข. 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ = 2 คะแนน
  • ถ้าคุณตอบ ค. แทบไม่ทำ หรือ ไม่ทำเลย = 1 คะแนน

 

📋 คะแนนรวม

 

  • ถ้าคุณได้คะแนนรวมน้อยกว่าหรือเท่ากับ 5 คะแนน

แปลว่า คุณบริโภคอาหารรสเค็มในปริมาณที่พอเหมาะ

พฤติกรรมการกินเช่นนี้ทำให้คุณมีความเสี่ยงต่ำต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคไต

 

  • ถ้าคุณได้คะแนนรวมระหว่าง 6 – 9 คะแนน

แปลว่า คุณบริโภคอาหารรสเค็มในปริมาณที่ค่อนข้างสูง

พฤติกรรมการกินเช่นนี้ทำให้คุณมีความเสี่ยงปานกลางต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคไต

กรมอนามัยแนะนำให้บริโภคโซเดียมเท่ากับเกลือ 1 ช้อนชา หรือไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน

 

  • ถ้าคุณได้คะแนนรวมระหว่าง 10- 13 คะแนน

แปลว่า คุณบริโภคอาหารรสเค็มในปริมาณสูงเกือบทุกวัน

พฤติกรรมการกินเช่นนี้ทำให้คุณมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคไต

กรมอนามัยแนะนำให้บริโภคโซเดียมเท่ากับเกลือ 1 ช้อนชา หรือไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน

แนะนำให้ลดความถี่ในการกินอาหารแปรรูป เน้นกินอาหารสดใหม่ ปรุงรสอาหารให้น้อยลง

 

  • ถ้าคุณได้คะแนนรวมมากกว่า 14-15 คะแนน

แปลว่า คุณบริโภคอาหารรสเค็มในปริมาณสูงมาก

พฤติกรรมการกินเช่นนี้ทำให้คุณมีความเสี่ยงสูงมากต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคไต

กรมอนามัยแนะนำให้บริโภคโซเดียมเท่ากับเกลือ 1 ช้อนชา หรือไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน

แนะนำให้ลดความถี่ในการกินอาหารแปรรูป เน้นกินอาหารสดใหม่ ปรุงรสอาหารให้น้อยลง

หากไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคไต

อย่างไรก็ดี แบบประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหาร หวาน มัน เค็ม (Eat Test) นี้ เป็นเพียงการประเมินพฤติกรรมขั้นต้น เพื่อให้ทุกคนตรวจสอบแนวทางในการเลือกรับประทานอาหารประจำวันพอสังเขป ทุกคนจะได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคให้เหมาะสม มิใช่การวินิจฉัยโรคอย่างแท้จริง หากต้องการตรวจสุขภาพอย่างแม่นยำ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง

 

©Resource : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

©Feature image : Pexels, Unsplah

Advertisements

Advertisements

Advertisements