เลือดไม่ข้น ทรัพย์จาง ก็จัดสรรมรดกได้ 4 วิธีทำพินัยกรรม สบายใจไร้ปัญหา

ถ้าพูดถึงละครที่กำลังเป็นกระแสสุดๆ ในตอนนี้ คงต้องยกให้ละครแนวดราม่า สืบสวนสอบสวนที่คนดูพากันลุ้นกันอย่างตัวโก่งว่าท้ายที่สุดแล้วใครคือฆาตกรตัวจริง แต่นอกจากเรื่องการตามหาคนร้ายแล้ว อีกประเด็นที่น่าสนใจสำหรับละครเรื่องนี้ ก็คือในส่วนของการจัดการมรดกที่จะเห็นได้ว่า ทุกคนในเรื่องที่เสียชีวิตได้มีการทำพินัยกรรมเอาไว้ล่วงหน้าเพื่อให้ผู้เป็นทายาทได้รับการแบ่งสรรปันส่วนทรัพทย์สินตามเจตจำนงของเจ้าของมรดก

โดยการจัดการทรัพย์สินด้วยทำพินัยกรรมอย่างรัดกุม และชัดเจนนั้น สามารถป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นตามมาได้หลายประการ รวมทั้งความขัดแย้งที่อาจเคยเห็นในข่าวกันอยู่บ่อยๆ ที่เรื่องเงินๆ ทองๆ นั้นรุนแรงถึงขั้นทะเลาะวิวาทกันในครอบครัวจนนำไปสู่การฟ้องร้องในศาล หรือร้ายไปกว่านั้นบางรายอาจนำไปสู่การใช้ความรุนแรงถึงขั้นปลิดชีวิตคนในตระกูลเดียวกันก็เป็นได้

แต่ถึงแม้จะเข้าใจความสำคัญของการทำพินัยกรรมแล้ว แต่ในพินัยกรรมเองก็ยังอาจเกิดความผิดพลาดได้เช่นกัน ทั้งในเรื่องของพินัยกรรมปลอม หรือผู้จัดการมรดกฉ้อฉล แต่เพื่อความรัดกุมแล้ว เราสามารถเลือกทำพินัยกรรมได้ถึง 4 รูปแบบด้วยกันขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละบุคคล โดยจะมีแบบไหนบ้างนั้น ตาม UndubZapp ไปดูกันค่ะ

 

แบบที่ 1 : แบบทั่วไป

พินัยกรรมแบบทั่วไปนั้น เป็นพินัยกรรมที่สามารถจัดเตรียมได้เองโดยต้องมีพยานยืนยันจำนวน 2 ท่าน มีการระบุวันเดือนปีและสถานที่ให้ชัดเจน พร้อมกับระบุรายละเอียดทรัพย์สินและชื่อนามสกุลผู้รับมรดก รวมทั้งลงลายมือชื่อของเจ้าของมรดกในตอนท้าย โดยปกติแล้ววิธีนี้มักจะมีการทำต่อหน้าทนายความและมีการฝากไว้ที่ทนายความจำนวน 1 ชุด ขณะที่เจ้าของมรดกเก็บไว้ 1 ชุด รวมทั้งถ่ายรูปไว้เป็นหลักฐานเพื่อความรัดกุม แต่หลายครั้งการทำพินัยกรรมแบบนี้ก็ยังเกิดข้อพิพาทว่าเป็นพินัยกรรมปลอมซึ่งต้องนำไปสู่การพิสูจน์ในชั้นศาล

 

แบบที่ 2 : แบบเขียนเอง

แบบนี้เป็นแบบที่ทำง่ายมากที่สุด โดยให้เจ้าของมรดกต้องเขียนด้วยลายมือของตนเองทั้งฉบับ สั่งเสียว่าจะให้ใครเป็นผู้รับทรัพย์สินในส่วนต่างๆ อย่างชัดเจน เหมาะกับการทำพินัยกรรมของผู้ที่สามารถตกลงกันได้ในครอบครัวอย่างไม่มีปัญหาและมีจำนวนพี่น้องไม่มากนัก และสามารถทำได้โดยไม่ต้องมีพยาน อย่างไรก็ตาม เพื่อความรัดกุมและป้องกันความขัดแย้งในภายหลัง จึงควรให้มีพยานลงนาม รวมทั้งถ่ายรูปไว้เป็นหลักฐานเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือด้วย

Advertisements

 

แบบที่ 3 : แบบเอกสารฝ่ายเมือง

ถือเป็นวิธีที่มีความรัดกุมและสามารถโต้แย้งได้ยาก เนื่องจากเป็นพินัยกรรมที่ต้องทำที่อำเภอหรือสำนักงานเขต โดยการทำพินัยกรรมลักษณะนี้ ผู้ทำจะต้องนำหลักฐานทรัพย์สินไปแสดงทั้งหมด เช่น โฉนดที่ดินตัวจริง และเอกสารอื่นๆ รวมทั้งต้องมีใบรับรองแพทย์ยืนยันว่าขณะทำพินัยกรรมนั้น ผู้ทำมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ นอกจากนี้ยังต้องมีพยานซึ่งเป็นผู้ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียในทรัพย์สินเข้าลงนามรับทราบด้วย ถึงแม้จะมีขั้นตอนที่ยุ่งยากแต่ก็ถือเป็นพินัยกรรมที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้มากที่สุดค่ะ

 

แบบที่ 4 : แบบลับ

พินัยกรรมแบบนี้ เจ้าของมรดกจะเป็นผู้ทำเองทั้งฉบับและจะมีการปิดผนึกเป็นความลับเพื่อไปยื่นไว้ที่อำเภอเช่นกัน เพียงแต่เจ้าหน้าที่จะไม่รู้รายละเอียดที่อยู่ในพินัยกรรม โดยเอกสารเพิ่มเติมสำหรับการทำพินัยกรรมแบบลับนั้นได้แก่ ใบรับรองแพทย์ และสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมรดก ซึ่งนายอำเภอจะเป็นผู้จดถ้อยคำจากเจ้าของมรดก พร้อมรับซองปิดผนึกและลงตำแหน่งเป็นพยานให้

โดยนอกจากวิธีที่กล่าวมานี้แล้ว เจ้าของมรดกยังสามารถป้องกันความขัดแย้งจากการแบ่งมรดกได้ ด้วยการทำพินัยกรรมต่อหน้าผู้รับมรดกทุกคนในลักษณะการประชุมร่วมกันเพื่อให้ทุกคนได้รับรู้ล่วงหน้าถึงทรัพย์สินที่จะได้ และยอมรับร่วมกันเสียก่อน ก็ถือเป็นอีกหนึ่งหนทางที่จะสามารถป้องกันปัญหามรดกเลือดในภายหลัง และยังคงรักษาความสัมพันธ์ของครอบครัวไว้อย่างเหนียวแน่นได้ค่ะ

กดติดตาม ADD Line @UndubZapp

 

Advertisements

Advertisements

Advertisements