ตั้งการ์ดสู้ Long COVID โรคหายแต่ร่างกายยังต้องสู้

ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐบาลเริ่มคลายล็อกดาวน์และปรับลดระยะเวลาเคอร์ฟิว ทำให้ผู้คนออกมาใช้ชีวิตนอกบ้านมากขึ้น ห้างร้านต่างๆ เริ่มมีผู้ใช้บริการหนาตา ประชาชนบางส่วนก็เริ่ม “ลดการ์ด” ถอดหน้ากากตอนอยู่นอกบ้าน เริ่มไม่เคร่งครัดเรื่องระยะห่าง ซึ่งอาจนำเราทุกคนเข้าสู่อันตรายอีกครั้ง สงครามระหว่างเราและ COVID-19 ยังไม่จบลงง่ายๆ เพราะคนที่หายจากโรค COVID-19  ก็อาจมีภาวะ Long Covid และยังส่งผลในการดำเนินชีวิตทั้งระยะสั้น และระยะยาว ที่แม้ว่าจะรักษาหายแล้ว แต่ก็ยังรู้สึกเหมือนยังไม่หายสนิทดี ดังนั้น พญ.พิชชาพร  เมฆินทรพันธุ์ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลวิมุต ได้ให้คำแนะนำว่าเราควรสังเกตอาการของตัวเองและเตรียมรับมือเพื่อการฟื้นฟูสภาพร่างกาย

Long COVID อาการหลากหลาย ครอบคลุมทั้งกายและใจ


           Long COVID คือผลกระทบระยะยาวจากโรค COVID-19 ที่อาจเกิดขึ้นกับร่างกายของผู้ป่วย COVID-19 แม้ว่าจะพ้นการติดเชื้อไปแล้ว อาการแสดงจะมี 3 ลักษณะดังต่อไปนี้
1. กลับมามีอาการใหม่หรืออาการเดิมยังอยู่ (New or ongoing symptoms)
พบในผู้ป่วยที่เคยมีอาการรุนแรง ได้แก่ เป็นไข้ ปวดหัว วิงเวียน หายใจไม่อิ่ม ไอ แน่นหน้าอก อ่อนเพลีย ปวดท้อง ท้องเสีย ขาดสมาธิ นอนไม่หลับ อารมณ์แปรปรวน มีอาการชา ปวดกล้ามเนื้อ รับกลิ่นหรือรสได้ไม่ดี
2. เกิดความผิดปกติในหลายอวัยวะ (multiorgan effects)

เนื่องจากขณะที่มีการติดเชื้อ ได้เกิดกระบวนการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันทั่วร่างกาย มีการหลั่งของcytokinesซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะอักเสบในระบบอวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย มิได้เฉพาะเจาะจงแค่ระบบทางเดินหายใจเท่านั้น  ไม่ว่าจะเป็นระบบหัวใจ ระบบประสาท ระบบฮอร์โมน ระบบย่อยอาหาร ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก เป็นต้น
            3.ผลกระทบระยะยาวจากการนอนโรงพยาบาล

ผู้ป่วยที่ต้องนอนพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลนานๆ จะไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวตัว ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อฝ่อลีบ แขนขาไม่ค่อยมีแรง การรับรู้ความรู้สึกของข้อและการทรงตัวแย่ลง  นอกจากนี้การนอนโรงพยาบาลนานจะเกิดผลกระทบต่อจิตใจ เช่น รู้สึกเบื่อหน่าย หดหู่ รู้สึกเหนื่อยล้า ไม่สดชื่นแจ่มใส
ผู้ป่วยบางรายที่เคยได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจ อาจเข้าสู่ภาวะผิดปกติทางจิตใจหลังจากประสบเหตุการณ์รุนแรงได้ (post-traumatic stress disorder; PTSD)

 

 

คำว่า Long นี้นานแค่ไหน

Advertisements


           นอกจากจะรบกวนทั้งกายและใจแล้ว อาการ Long COVID ยังถือว่ากินเวลา “Long” สมชื่อ จากผลการวิจัยของโครงการศึกษาระดับนานาชาติพบว่า ผู้ป่วยจำนวน 3,762 คนจาก 56 ประเทศ มีอาการจาก Long-COVID รวม 203 อาการ โดยจะมี 1 ใน 3 อาการที่เกิดขึ้นยาวนานอย่างน้อย 6 เดือน ทั้งนี้ในผู้ป่วยที่เป็นเด็กบางราย ผลกระทบยังคงอยู่ต่อเนื่องเป็นปี

 

Check list อาการ Long COVID-19 ที่ควรพบแพทย์
            หากสงสัยว่าคุณกำลังเผชิญกับ Long COVID อยู่หรือไม่ ลองสังเกตร่างกายตามอาการดังต่อไปนี้
1. อ่อนเพลีย ไม่สดชื่น
2. เหนื่อยล้าได้ง่ายขึ้นแม้ในตอนทำกิจวัตรประจำวัน
3. พูดคุยต่อเนื่องได้สั้นลง ต้องพักหายใจบ่อยขึ้น
4. สมองล้า สมาธิความจำและการตัดสินใจช้าลงหรือมีประสิทธิภาพลดลง
5. หน้ามืด วิงเวียนบ่อยขึ้น
6. มวลกล้ามเนื้อลดลง กล้ามเนื้อลีบหรือเหลวมากขึ้น กล้ามเนื้ออ่อนแรง
7. เคลื่อนไหวร่างกายหรือทรงตัวลำบาก
นอกจากนี้ พญ.พิชชาพร  ยังมีคำแนะนำเพิ่มเติมว่า  หากพบอาการต้องสงสัย อยากได้ความแน่ใจก็สามารถเข้ามารับคำปรึกษาได้ที่ แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลวิมุต เรามีโปรแกรมการฟื้นฟูสภาพที่สามารถทำได้ทั้งที่โรงพยาบาลและ Telemedicine ไม่ว่าจะเป็นการฝึกการหายใจ  ฝึกบริหารปอดและกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจ เพิ่มสมรรถภาพของระบบหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ฝึกการทรงตัว ไปจนถึงการให้ Oxygen Supplement ในระหว่างฝึกฟื้นฟูเพื่อลดความเหนื่อยล้า รวมถึงมีผู้เชี่ยวชาญดูแลในทุกขั้นตอนอีกด้วย

 

กันไว้ดีกว่าแก้


             นอกจากจะส่งผลกระทบยืดเยื้อยาวนานและลดทอนสุขภาวะของร่างกายโดยรวมแล้ว Long COVID ยังไม่มีแนวทางในการรักษาชัดเจน นอกจากจะรักษาฟื้นฟูไปตามอาการ ดังนั้นทางเลือกที่ดีที่สุดคือระมัดระวังตัวไม่ให้ติดตั้งแต่แรก หมั่นล้างมือ ใส่หน้ากากอนามัย รักษา Social Distance ให้นานที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ ออกจากบ้านเท่าที่จำเป็น ดูแลตัวเองและครอบครัวให้ร่างกายแข็งแรงอยู่ตลอด และอย่าลังเลที่จะปรึกษาแพทย์เมื่อมีอาการหรือเกิดความกังวลใจ

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก โรงพยาบาลวิมุต

 

Advertisements

Advertisements

Advertisements