พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระอัจริยภาพด้านดนตรี จนได้รับการขนานนาม ยกย่องให้เป็นอัครศิลปิน นอกการทรงงานโครงการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ปวงชนชาวไทยแล้ว บทเพลงพระราชนิพนธ์ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่พระองค์ทรงสร้างสรรค์และพระราชทานเป็นของขวัญอันยิ่งใหญ่แก่ปวงชนชาวไทย
ใกล้รุ่ง
เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 4 ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น ปีพุทธศักราช 2489 ครั้งเมื่อดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ประพันธ์คำร้องภาษาไทย โดยมีท่านผู้หญิงนพคุณทองใหญ่ ณ อยุธยา ประพันธ์ในส่วนของคำร้องภาษาอังกฤษ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำบทเพลงไปพระราชทานแก่วงดนตรีสุนทราภรณ์นำออกมาบรรเลงครั้งแรก ณ ปีพุทธศักราข 2489 ในเดือนกรกฏาคม ที่ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงกรมโฆษนาการ ซึ่งในปัจจุบัน ก็คือ กรมประชาสัมพันธ์
ชะตาชีวิต
เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 5 ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นหลังจากเสด็จครองราชย์ และ เสด็จพระราชดำเนินกลับไปทรงศึกษาต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงค์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องภาษาอังกฤษ สำหรับคำร้องภาษาไทย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นคร เป็นผู้ประพันธ์
Advertisements
ในปีพุทธศักราช 2490 วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครบ 20 พรรษา ข้าราชการ นักเรียน และคนไทยในสวิตเซอร์แลนด์ ได้ร่วมกันจัดงานเฉลิมฉลองขึ้น ในวันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม ปีพุทธศักราช 2590 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงดนตรีร่วมกับคนอื่นๆ ที่พระตำหนักวิลล่าวัฒนา และมีการทายชื่อเพลงพระราชนิพจน์เพลงใหม่ H.M. Blues ว่า H.M. แปลว่าอะไร ซึ่งในงานนั้น ไม่มีผู้ใดทายชื่อเพลงถูกเลยสักคนเดียว
ดวงใจกับความรัก
เพลงพระราชนิพนธ์ ดวงใจกับความรัก หรือ Never Mind the Hungry Men’s Blues เป็นเพลงพระราชนิพจน์ลำกับที่ 6 ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในปีพุทธศักราช 2490 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องภาษาไทย และภาษาอังกฤษ แล้วจึงพระราชทานชื่อเพลงว่า Never Mind the Hungry Men’s Blues ซึ่งก็เป็นการเฉลยในปริศนาข้างต้นว่า H.M. มีความหมายว่าอะไร
มาร์ชราชวัลลภ
เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 7 ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในปีพุทธศักราช 2891 และทรงพระราชทานให้เป็นเพลงประจำกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ เพื่อไว้ใช้ในพิธีสวนสนาม หลังจากนั้น ผบ.กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ในขณะนั้น ได้มอบหมายให้พันตรี ศรีโพธิ์ ทศนุต แต่งคำร้องภาษาไทย ขึ้นถวาย โดยมีห้องเพลงที่ยาวขึ้นกว่าเดิม จึงได้ขอพระราชทานทำนองเพิ่มเติมเพื่อให้เข้ากับคำร้อง ซึ่งในการแก้ไขทำนองให้เข้ากับคำร้องนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยกร) ช่วยตรวจทาน จากนั้นจึงได้พระราชทานเพลงพระราชนิพนธ์เพลงนี้ว่า “มาร์ชราชวัลลภ” ขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2495
Advertisements