พระราชปรีชาญาณด้านดนตรี บทเพลงของ “พ่อ” ในหลวง ร.9 ตอนที่ 3

นอกจากพระราชกรณียกิจมากมายที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงงานเพื่อปวงชนชาวไทย บทเพลงพระราชนิพนธ์คืออีกหนึ่งพระอัจฉริยภาพทางด้านดนตรีของพระองค์

อัครศิลปินแห่งชาติ

พระองค์ทรงฝึกหัดดนตรีตั้งแต่พระชนมายุ 10 พรรษา ทรงเรียนแซกโซแฟน วิชาการดนตรี และการเขียนโน้ต จนเมื่อปีพุทธศักราช 2529 คณะกรรมการสำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้ยกย่องให้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เป็น อัครศิลปินแห่งชาติ

พระราชปรีชาญาณด้านดนตรี

 

อาทิตย์อับแสง

เพลงพระราชนิพนธ์ พระอาทิตย์อับแสง
© รูปต้นฉบับ: krupor piano, youtube

เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 8 ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น ณ ปีพุทธศักราช 2892 วันที่ 3 กุมภาพันธ์ ขณะที่ประทับแรมบนภูเขา เมืองดาไวส์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งต่อมา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องของบทเพลงดังกล่าวทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

 

เทวาพาคู่ฝัน

เพลงพระราชนิพนธ์ เทวาพาคู่ฝัน
© รูปต้นฉบับ: ๗๐ ปีครองราชย์ พระอัจฉริยภาพด้านดนตรี ๗๒๐ ปีเมืองเชียงใหม่, youtube

เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 9 ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในปีพุทธศักราช 2892 ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ขณะที่ยังประทับ ณ เมืองดาโวส์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เช่นเดียวกัน ซึ่งต่อมา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องของบทเพลงดังกล่าวทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ อีกเช่นเดียวกัน

Advertisements

 

คำหวาน

เพลงพระราชนิพนธ์ คำหวาน
© รูปต้นฉบับ

เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 10 ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในปีพุทธศักราช 2892 ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องของบทเพลงดังกล่าวทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

 

มหาจุฬาลงกรณ์

เพลงพระราชนิพนธ์ มหาจุฬาลงกรณ์
© รูปต้นฉบับ: Jom T., youtube

เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 11 ทรงพระราชนิพนธ์ในปีพุทธศักราข 2492 ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ซึ่งบทเพลงดังกล่าว ถือว่าเป็นเพลงพระราชนิพนธ์เพลงแรก ที่ใช้ Pentatonic Scale โดย ศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์สมุนชาติ สวัสดิกุล ได้ขอพระราชทานเพลงประจำจุฬามหาวิทยาลัย พระองค์จึงทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานทำนองเพลง โดยมี ท่านผู้หญิง สมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา และ นายสุพร ผลชีวิน ประพันธ์คำร้องขึ้นถวาย

บทเพลงพระราชนิพนธ์ได้กล่าวมาข้างต้นนั้น เป็นเพียงส่วนหนึ่งของบทเพลงพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดชฯ และบทเพลงสุดท้ายที่พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์ออกมา ก็คือเพลง “เมนูไข่” ซึ่งเป็นบทเพลงแนวสนุกสนาน โดยได้ประพันธ์เนื้อร้องโดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งบทเพลงพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชนั้นมีทั้งหมด 48 บทเพลง

Advertisements

Advertisements

Advertisements