ระบบปฎิบัติการของสมาร์ทโฟน ณ ตอนนี้ที่มีอยู่รายใหญ่ ๆ ก็คงหนีไม่พ้น IOS และ Android แต่ในตอนนี้เราจะขอข้ามระบบปฎิบัติการณ์ IOS ไปก่อน เพราะว่าเราจะมาพูดถึงระบบปฎิบัติการณ์ Android
Android เป็นระบบปฎิบัติการ์บนสมาร์ทโฟนที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในโลก แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่ากว่าจะมาเป็น Android รุ่นที่เราได้รู้จักได้ใช้กันในปัจจุบันนั้นมีประวัติศาสตร์ที่ถือว่ายาวนานไม่น้อยเลย หากย้อนกลับไปเมื่อ 23 กันยายน ปี 2008 ซึ่งถือว่าเป็นการถือกำเนิดครั้งแรกของ Android 1.0 จนกระทั่ง 5 ปีต่อมาให้หลัง สารพัดรุ่นขนมที่คุณอาจจะเคยรู้จัก ก็ได้มาเป็นชื่อของระบบปฎิบัติการ Android อยู่เต็มไปหมด แต่ที่ผ่านมานั้น ได้มีเวอร์ชั่นอะไรออกมาบ้างนั้น วันนี้เราพากันไปทบทวน ทัวร์ระบบปฎิบัติการขนม เวอร์ชั่นหน้าหม่ำกัน
Android 1.5 Cupcake
เป็นเวอร์ชั่นแรกของ Android ที่มีการการตั้งชื่อเล่นของระบบปฎิบัติการเป็นชื่อขนม ส่วนใครที่อาจจะสงสัยว่า เหตุใดต้องตั้งชื่อเป็นขนมนั้น เราจะขอเก็บไว้ไปเฉลยในตอนท้าย แต่ในตอนนี้กลับมาที่ Android 1.5 Cupcake กันก่อน โดยฟีเจอร์ที่โดดเด่นในรุ่นนี้ก็คือการ “รองรับแป้นพิมพ์คีย์บอร์ดบนหน้าจอสัมผัส” หากใช้มุมมองในปัจจุบันมองออกไป ก็คงคิดว่า มันเป็นฟีเจอร์ที่ไม่ค่อยน่าตื่นเต้นสักเท่าไหร่ แต่รู้หรือไม่ว่า ในปี 2008 นั้น สมาร์ทโฟนส่วนใหญ่ ยังใช้แป้นพิมพ์แบบกดปุ่มเพื่อป้อนข้อมูลอยู่เลย ดังนั้น Android รุ่นนี้ก็ถือได้ว่าเป็นรุ่นบุกเบิกวงการสมาร์ทโฟนให้มีการพัฒนาออกมาให้เราได้เห็นกันอย่างทุกวันนี้
Android 1.6 Donut
เป็น Android เวอร์ชั่นแรกที่สามารถรองรับการแสดงผลบนอุปกรณ์ที่มีความละเอียดของหน้าจอต่างกันได้ หรือเรียกว่าสามารถประมวลผลให้หน้าจอมีขนาดที่พอดีกับสมาร์ทโฟนของเรา โดยไม่คำนึงถึงความหนาแน่นของพิกเซลนั่นเอง และฟีเจอร์ดังกล่าวก็เป็นเสมือนตัวต้นแบบและผลักดันให้มีการผลิตสมาร์ทโฟนรุ่นต่าง ๆ ที่มีความหลากหลายในเรื่องขนาดของหน้าจอนั่นเอง
Android 2.0 Éclair
ในเวอร์ชั่น 1.6 ตัวซอฟเวอร์กล้องถ่ายรูปยังไม่สามารถรองรับการใช้งานแฟลช LED ได้ แต่ในเวอร์ชั่นนี้ได้มีการปรับปรุงให้สามารถใช้งานได้แล้ว มากไปกว่านั้นยังปรับปรุงให้มีการรองรับการแต่งเอฟเฟ็กต์แสงสี โหมดฉาก โหมดโฟกัสกล้อง และสมดุลแสงขาวอีกด้วย
Advertisements
Android 2.2 Froyo
ความเปลี่ยนแปลงและการปรับปรุงของรุ่นนี้ ที่สามารถเห็นได้อย่างเด่นชัด ก็คือในเรื่องความเร็วและความสามารถในการรองรับ WiFi hotspot ที่นักพัฒนาได้มีการแก้ไขให้สามารถทำงานได้ดีขึ้นและมีประสิทธิภาพเป็นอย่างดี จนทำให้ความเร็วเพิ่มขึ้นประมาณ 2 – 5 เท่า
Android 2.3 Gingerbread
แม้ว่าในปัจจุบัน ผู้ใช้งานเวอร์ชั่นดังกล่าวจะเหลือเพียง 11 เปอร์เซ็นต์ หากแต่ว่ามันกลับเป็นรุ่นที่ได้รับความยอดนิยมอย่างมาก โดยในเวอร์ชั่นนี้ จะเน้นในการปรับปรุงรายละเอียดการทำงานของระบบ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาให้มีการรองรับเซ็นเซอร์เพิ่มมาขึ้น การวัดความดันอากาศ หรือ การตรวจจับทิศทางการเคลื่อนไหว ส่งผลทำให้สามารถนำไปต่อยอดกับเกมบนสมาร์ทโฟนได้อีกด้วย
Android 3.0 Honeycomb
เมื่อบริษัทต่าง ๆ ได้หันมาลงทุนในตลาดของแท็บเล็ตมากยิ่งขึ้น ตัวเวอร์ชั่นนี้จึงได้ถือกำเนิดออกมา เพื่อรองรับการทำงานบนแท็บเล็ตโดยเฉพาะ
จะเห็นได้ว่าในแต่ละเวอร์ชั่นก็ได้มีการพัฒนาความสามารถของระบบปฎิบัติการให้มีความเสภียรและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และจนเมื่อไม่นานที่ผ่านมาก็ได้มี Android เวอร์ชั่นล่าสุดออกมา นั่นก็คือ Android 8.0 หรือ Android Oreo ซึ่งแน่นอนว่าได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดีเช่นเดียวกัน แต่ก็ยังมีบางจุดที่ยังต้องได้รับการแก้ไขอยู่
ส่วนที่ทิ้งให้สงสัยไว้ข้างต้น ว่าเหตุใดชื่อเวอร์ชั่น ต้องเป็นชื่อของขนม หากสังเกตุให้ดีๆ จะเห็นได้ว่า เวอร์ชั่นต่างๆ ได้มีการเรียงกันตามตัวอักษรภาษาอังกฤษ และใส่ชื่อขนมกำกับเข้ามาเพื่อให้จดจำง่ายขึ้นมากกว่าการจดจำตัวเลขนั่นเอง
โดยภายรวมก็คือว่าเป็นการพัฒนาที่ดี และฟีเจอร์ต่าง ๆ ก็เป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้งาน Android เป็นอย่างมาก จากข้างต้นจะเห็นได้ว่ากว่าจะมาเป็น Android ที่มีความสามารถอย่างที่เราเห็นได้อย่างทุกวันนี้ ต้องผ่านการพัฒนามานับไม่ถ้วน ต้องขอขอบคุณนักพัฒนาเหล่านั้นเลยจริง ๆ ที่ทำให้ชีวิตของเราสะดวกสบาย และมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยอย่างนี้ ได้ใช้กันอย่างในปัจจุบัน
Advertisements