คนรักสุขภาพทั้งหลายคงคุ้นหูกับ “โปรไบโอติกส์” เป็นอย่างดี หลายๆ คนคงเคยได้ยินผ่านหู หรือเคยเห็นชื่อนี้ผ่านตากันมาบ้าง เพราะโยเกิร์ตหลายแบรนด์มักชูคุณประโยชน์สุดล้ำที่จะได้จากการกินโยเกิร์ตชนิดนั้นๆ ซึ่งก็คือ จะได้รับจุลินทรีย์โปรไบโอติกส์หลายล้านตัว ซึ่งโปรไบโอติกส์เหล่านี้มีฤทธิ์ในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน กระตุ้นระบบขับถ่ายให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับคนที่กำลังลังเลว่า จะกินโปรไบโอติกส์ยี่ห้อไหนดี UndubZapp ขอชวนคุณๆ ทุกคนมาเช็กลิสต์โปรไบโอติกส์ ยี่ห้อไหนดี 2022 ส่องตัวช่วยลดท้องผูก เสริมความแข็งแรงของร่างกาย ยับยั้งจุลินทรีย์ก่อโรค ตัวไหนดี ตัวไหนเด็ดอย่างไร ไปดูกันค่ะ!
โปรไบโอติกส์ คืออะไร?
โปรไบโอติกส์ส์ (Probiotics) คือ จุลินทรีย์ชนิดดีที่ “มีชีวิต” มีส่วนช่วยในการดูดซึมสารอาหาร ยับยั้งจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค เสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ และฟื้นฟูภาวะผิดปกติต่างๆ ในร่างกาย ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้จะอยู่ในระบบทางเดินอาหาร รวมถึงระบบอื่นๆ ในร่างกาย พบจุลินทรีย์ชนิดนี้ได้ในอาหารหมักต่างๆ เช่น โยเกิร์ต นมเปรี้ยว คอมบูชา มิโสะ กิมจิ
จากการศึกษาพบว่า โปรไบโอติกส์มีส่วนสำคัญที่ใช้ในทางการแพทย์ เพื่อรักษาและป้องกันภาวะลำไส้อักเสบ เช่น ท้องเสีย ลำไส้แปรปรวน ภาวะท้องผูกเรื้อรัง อาจกล่าวได้ว่า ถ้าร่างกายของคนเราได้รับจุลินทรีย์ชนิดดีในจำนวนที่เหมาะสม ก็จะช่วยให้การทำงานของระบบอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ร่างกายจึงแข็งแรงตามไปด้วย
เลือกโปรไบโอติกส์อย่างไรดี?
1.ตรวจสอบชั้นวางผลิตภัณฑ์ให้ถี่ถ้วน
ถ้าคุณสนใจผลิตภัณฑ์โปรไบโอติกส์ที่วางขายตามท้องตลาดทั่วไป อย่าลืมตรวจสอบให้แน่ใจว่า ผลิตภัณฑ์นั้นถูกจัดวางอยู่ในตู้แช่เย็นที่เย็นกว่าหรือเท่ากับตู้เย็นที่บ้านคุณ ข้อสำคัญคือต้องเย็นอยู่เสมอ เพราะอากาศเย็นช่วยให้โปรไบโอติกส์คงตัวได้ดีกว่า
2.เช็กชื่อจุลินทรีย์ที่ระบุอยู่บนฉลาก
จุลินทรีย์ชนิดดีที่มีชีวิตนั้น มีอยู่หลายชนิด อีกทั้งยังมีหน้าที่แตกต่างกัน เพราะฉะนั้นต้องเช็กชื่อจุลินทรีย์ที่ระบุอยู่บนฉลากดีๆ ว่า จุลินทรีย์นั้นช่วยเรื่องอะไรบ้าง
ถ้าฉลากผลิตภัณฑ์ระบุว่าเป็นจุลินทรีย์ 2 ชนิดนี้ ให้ตัดผลิตภัณฑ์ดังกล่าวทิ้งไป เนื่องจากจุลินทรีย์ชนิดนี้ เป็นจุลินทรีย์ที่ใช้สำหรับทำโยเกิร์ตทั่วๆ ไป ไม่จัดว่าเป็นโปรไบโอติกส์
- ❌ สเตร็ปโตค็อคคัส เทอร์โมฟิลัส (Streptococcus thermophilus)
- ❌ แล็คโตแบซิลลัส เดลบรูคคิไอ ชับสปีชี่ส์ บัลการิคัส (Lactobacillus delbrueckii subsp. bulgaricus)
ถ้าฉลากผลิตภัณฑ์ระบุจุลินทรีย์ด้านล่างนี้ ถือว่าใช้ได้ ให้ลองพิจารณาเลือกซื้อตามความเหมาะสม
- ✔️ ไบฟิโดแบคทีเรียม ไบฟิดุม (Bifidobacterium bifidum)
- ✔️ ไบฟิโดแบคทีเรียม แอนิมาลิส (Bifidobacterium animalis DN-173 010)
- ✔️ แล็คโตแบซิลลัส เคซิไอ (Lactobacillus casei)
- ✔️ แล็คโตแบซิลลัส แอซิโดฟิลลัส (Lactobacillus acidophilus)
3.เช็กปริมาณโปรไบโอติกส์ว่ามีกี่ตัว
นอกจากการเช็กชื่อแล้วการเช็กปริมาณก็สำคัญ อย่าลืมส่องดูอยู่เสมอว่า ผลิตภัณฑ์นั้นๆ มีจำนวนเชื้อเท่าไหร่
วิธีจำง่ายๆ คือ ถ้าปริมาณโปรไบโอติกส์มีเลขศูนย์อย่างน้อย 10 ตัว ก็ถือว่าเป็นอันใช้ได้
เช่น ฉลากผลิตภัณฑ์ระบุว่า มีโปรไบโอติกส์ 10 Billion CFU หรือ 10,000 ล้านตัว
เมื่อคุณนำมาเขียนเป็นตัวเลขก็จะได้เป็น 10,000,000,000 ตัว นับดูแล้วมีเลขศูนย์สิบตัว ถือว่าโอเค
Advertisements
⚠️ ตัวเลขมากดีกว่าน้อย เพราะกว่าที่โปรไบโอติกส์จะไปถึงกระเพาะได้ ก็ต้องเผชิญกรดในระบบทางเดินอาหารไปโข กว่าจะถึงที่ตั้งที่สามารถตั้งรกรากได้ ปริมาณก็ลดลงไปอีก ผลิตภัณฑ์โปรไบโอติกส์ที่ดีจึงควรมีเทคโนโลยีทนกรดในกระเพาะอาหาร
4.เลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับตนเอง
- ถ้าคุณเป็นคนธาตุหนัก ท้องผูกเป็นประจำ แนะนำให้เลือกผลิตภัณฑ์ที่มีจุลินทรีย์ “ไบฟิโดแบคทีเรียม แอนิมาลิส” เป็นลำดับแรก เนื่องจากเชื้อชนิดนี้มีส่วนช่วยในการกระตุ้นการขับถ่าย
- ถ้าคุณเป็นคนธาตุเบา เข้าห้องน้ำง่าย แนะนำให้หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีจุลินทรีย์ “ไบฟิโดแบคทีเรียม แอนิมาลิส” ไว้ก่อน เพราะจะทำให้ท้องอืดง่าย และทำให้ต้องเข้าห้องน้ำถี่ยิบกว่าเดิม
- ถ้าคุณเป็นคนธาตุปกติ ถ่ายทุกวัน แต่ไม่ถึงขั้นลำไส้ตรง แนะนำให้ลองโปรไบโอติกส์ตัวใดก็ได้ (ทดลองทีละผลิตภัณฑ์) โดยทดลองกินเป็นระยะเวลา 2-3 สัปดาห์ วันละ 2 ครั้ง คือ เช้า 1 ครั้ง เย็น 1 ครั้ง แล้วสังเกตดูว่าการขับถ่ายของคุณเป็นอย่างไร รู้สึกสบายท้องขึ้นไหม ถ้าคุณกินแล้วรู้สึกว่าใช่เลย ก็ขอให้คุณกินผลิตภัณฑ์นั้นๆ ต่อไป ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา เพราะข้อสำคัญของการกินโปรไบโอติกส์ให้เกิดผล คือ กินอย่างสม่ำเสมอ ไม่ใช่กินๆ หยุดๆ
โปรไบโอติกส์ ยี่ห้อไหนดี 2022 ยับยั้งจุลินทรีย์ก่อโรค ลดท้องผูกชะงัด
5.Probalance Jelly
- ปริมาณโปรไบโอติกส์ : มีจำนวนเชื้อถึง 10,000 ล้าน CFU ต่อซอง
- ขนาด : 1 กล่องบรรจุ 20 ซอง
- วิธีรับประทาน : รับประทานก่อนอาหาร 30 นาที หรือหลังอาหาร 2-3 ชั่วโมง และทาน 1 ซองก่อนนอน
- ราคา : 850 บาท
- ข้อดี : รสชาติเหมือนยาคูลท์ ทานง่าย ไม่มีกลิ่นคาว
- ข้อเสีย : ราคาค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์โปรไบโอติกส์ที่มีจำนวนเชื้อเท่ากัน
4.PRO10 Probiotics
- ปริมาณโปรไบโอติกส์ : มีจำนวนเชื้อถึง 10,000 ล้าน CFU ต่อซอง
- ขนาด : 1 กล่องบรรจุ 15 ซอง
- วิธีรับประทาน : รับประทานวันละ 1 ซอง โดยฉีกซอง เทเข้าปาก แล้วดื่มน้ำตาม ไม่ควรบริโภคพร้อมน้ำร้อน
- ราคา : 550 บาท
- ข้อดี : ทานง่าย พกพาติดตัวไปกินระหว่างวันได้ รสชาติเหมือนขนมรสบลูเบอรี่ เปรี้ยวๆ หวานๆ ทานง่าย
- ข้อเสีย : เนื่องจากต้องทานโดยเทกรอกปาก หากไม่ดื่มน้ำตามเยอะๆ หลังทาน จะรู้สึกเฝื่อนคอ
3.Probac7
- ปริมาณโปรไบโอติกส์ : มีจำนวนเชื้อถึง 20,000 ล้าน CFU ต่อซอง
- ขนาด : 1 กล่องบรรจุ 30 ซอง
- วิธีรับประทาน : รับประทานวันละ 2 ซอง (เช้า-เย็น) โดยฉีกซอง เทใส่ปาก หรือชงกับน้ำเย็น สามารถทานควบคู่กับยารักษาโรคลำไส้แปรปรวนได้ โดยทานให้ห่างกัน 30 นาที
- ราคา : 1,250 บาท
- ข้อดี : รสชาติเหมือนน้ำส้ม ทานง่าย กล่องแข็งแรงทนทาน มั่นใจได้ว่าสินค้าจะไม่เสื่อมประสิทธิภาพง่ายๆ
- ข้อเสีย : ราคาค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์โปรไบโอติกส์ที่มีจำนวนเชื้อใกล้เคียงกัน
2.Blackmore Probiotics+ Daily Health
- ปริมาณโปรไบโอติกส์ : มีจำนวนเชื้อถึง 30,000 ล้าน CFU ต่อเม็ด
- ขนาด : 90 แคปซูล
- วิธีรับประทาน : รับประทานก่อนอาหารอย่างน้อย 30 นาที โดยทานในขณะที่ท้องว่าง
- ราคา : 1,290 บาท
- ข้อดี : ผลิตภัณฑ์เป็นสินค้านำเข้า ผลิตจากโรงงานที่ได้มาตรฐานระดับสากล มั่นใจได้ในเรื่องคุณภาพและความปลอดภัย
- ข้อเสีย : ราคาค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์โปรไบโอติกส์ที่มีจำนวนเชื้อใกล้เคียงกัน อีกทั้งตัวผลิตภัณฑ์ก็เป็นแคปซูล อาจไม่เหมาะกับคนทานยายาก
1.Total:flora Probiotic Combination
- ปริมาณโปรไบโอติกส์ : มีจำนวนเชื้อถึง 42,000 ล้าน CFU ต่อซอง
- ขนาด : 1 กล่องบรรจุ 15 ซอง
- วิธีรับประทาน : รับประทานโดยฉีกซอง เทเข้าปาก แล้วดื่มน้ำตาม
- ราคา : 885 บาท
- ข้อดี : ทานง่าย ไม่ต้องเสียเวลาชง สินค้าอายุยาว เก็บไว้ได้นาน ราคาย่อมเยาว์
- ข้อเสีย : อาจเห็นผลช้ากรณีที่เป็นคนธาตุหนัก ต้องใช้เวลาประมาณ 4-5 วัน จึงจะได้ผลลัพธ์ที่ดี
©Resource : นพ.วีระกิจ หิรัญวิวัฒน์กุล ศูนย์เด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลนนทเวช
รองศาสตราจารย์วิมล ศรีศุข ภาควิชาอาหารเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
©Featured image : freepik
Advertisements