10 เรื่องจริงจากโรคกินไม่หยุด (Binge Eating Disorder) ที่หมออาจไม่เคยบอกคุณ

เคยไหม!? กับพฤติกรรมการกินไม่หยุด แม้จะกินอาหารจานหลักไปมากแล้ว แต่ยังสามารถต่อด้วยชีสเค้ก ไอศกรีม  แล้วตามด้วยมันฝรั่งทอดอีกสักถุง แถมมีตบท้ายด้วยคุ้กกี้อีกสักกล่องภายในเวลาเพียง 2 ชั่วโมง แม้จะอิ่มแสนอิ่ม แต่กินเท่าไหร่ก็ยังไม่พอ  มองเผินๆ แล้วอาจดูเป็นคนที่ไม่มีวินัยในการกินอาหารเอามากๆ และแน่นอนคงจะไม่ค่อยมีความอดทนในการออกกำลังกายสักเท่าไหร่  แต่ในความเป็นจริงแล้ว คนเหล่านี้อาจกำลังป่วยเป็นโรคที่ถูกเรียกว่า “โรคกินไม่หยุด” (Binge Eating Disorder) อยู่ก็เป็นได้

โชคร้ายของคนที่ป่วยเป็นโรคกินไม่หยุดคือ มักได้รับการรักษาในทางที่ไม่ถูกต้อง  แพทย์มักแนะนำให้ผู้ป่วยพยายามควบคุมอาหารและออกกำลังกายให้มากขึ้น และมักมองข้ามสาเหตุทางด้านจิตใจไป  แต่ไม่ต้องกังวลค่ะ สำหรับคนที่กำลังสงสัยว่าตัวเองหรือคนใกล้ตัวอาจจะมีอาการเข้าข่ายโรคนี้  Undubzapp มีคำแนะนำดีๆ จากผู้ที่เคยป่วยเป็นโรคนี้มาฝากกันค่ะ

 

1.ทฤษฏีการลดน้ำหนักเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะรักษาโรคกินไม่หยุด

โดยคำแนะนำที่มักจะบอกให้เน้นการนับแคลอรี่ ควมคุมคาร์โบไฮเดรต, น้ำตาล และไขมัน  การดื่มน้ำให้มากขึ้น  รวมทั้งการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สิ่งเหล่านี้ยังคงเป็นสิ่งที่ถูกต้องสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักเสมอ  แต่สำหรับผู้ป่วยเป็นโรคกินไม่หยุด วิธีเหล่านี้ไม่เพียงพออีกต่อไปค่ะ

2.การรักษาด้วยวิธีผ่าตัดไม่ใช่คำตอบ

การลดน้ำหนักด้วยวิธีผ่าตัด เช่น การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร หรือการดูดไขมัน ไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุสำหรับโรคนี้  เนื่องจากไม่ได้ช่วยเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการกินของผู้ป่วย ดังนั้น หากแพทย์มีการแนะนำให้ใช้วิธีผ่าตัดร่วมด้วย ควรพิจารณาอย่างถี่ถ้วนและปรึกษาคนรอบข้างเพื่อขอความเห็นก่อนตัดสินใจ

3.ใช้กระบวนการรักษาแบบองค์รวม

เนื่องจากโรคกินไม่หยุดเป็นโรคที่มีความซับซ้อน ต้องเริ่มแก้ไขจากจิตใจเป็นอันดับแรก  ดังนั้น นอกจากการปรึกษานักโภชนาการเพื่อควบคุมอาหารแล้ว ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาจากนักจิตวิทยาที่เชี่ยวชาญเรื่องนี้ด้วยค่ะ

 

4.ในบางครั้งอาจต้องมีการรักษาในโรงพยาบาล

ในกรณีของผู้ป่วยที่มีอาการหนักมาก และเริ่มส่งผลที่ไม่ดีต่อร่างกาย  อาจมีความจำเป็นต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล เนื่องจากต้องมีการรักษาอย่างต่อเนื่่องในหลายกระบวนการ โดยเฉพาะจากนักจิตวิทยา อาทิ การบำบัดด้วยดนตรีและศิลปะ  เป็นต้น

5.ในบางคนอาจไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้

เป็นเรื่องน่าเศร้าสำหรับผู้ป่วยบางคน ที่ทั้งแพทย์และนักจิตวิทยาต่างลงความเห็นว่าไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ หลังจากที่ได้รับการรักษาไประยะหนึ่งแล้ว แต่ขอย้ำว่า เป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้นนะคะ โดยส่วนใหญ่แล้วสามารถหายขาดได้หากได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

Advertisements

6.พิจารณาการรักษาโดยใช้หลักพฤติกรรมศาสตร์ร่วมด้วย

องค์ความรู้ด้านพฤติกรรมศาสตร์มักได้รับการแนะนำเป็นอันดับต้นๆ ในการรักษา โดยเน้นให้ผู้ป่วยยอมรับพฤติกรรมของตนเอง และค่อยๆ ปรับเปลี่ยนความคิดและความรู้สึก ซึ่งจะนำไปสู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในภายหลัง

7.ห้ามใช้วิธีการลดน้ำหนักตามแฟชั่นโดยเด็ดขาด

ไม่ว่าจะเป็นคำแนะนำให้กินแต่แตงกวาทั้งวัน หรือพวกสูตรลดน้ำหนักที่ให้กินอาหารน้อยมากๆ ต่อวัน รวมทั้งวิธีอื่นๆ ที่ไม่ได้รับการรับรอง สิ่งเหล่านี้ไม่ได้ช่วยรักษาโรคกินไม่หยุดแน่นอน แถมยังอาจะทำให้อาการกำเริบหนักมากขึ้นอีกด้วยค่ะ

8.อย่ารักษาโรคกินไม่หยุดเพียงคนเดียว

ควรมีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษา  นอกจากนี้  การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้ป่วยด้วยกันหรือการรักษาแบบกลุ่มก็เป็นวิธีที่ให้ผลดีมากทีเดียวค่ะ

9.โรคกินไม่หยุดสามารถลุกลามไปสู่คนในครอบครัวได้

โดยอาจเกิดขึ้นในลักษณะของพฤติกรรมต่อเนื่อง  นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาพบว่า โรคนี้สามารถติดต่อผ่านพันธุกรรมได้อีกด้วย

10.อย่าโทษว่าเป็นความผิดของตัวเอง

เนื่องจากอาการกินไม่หยุดถือเป็นอาการทางจิต และไม่มีใครที่ต้องการป่วยเป็นโรคนี้ ดังนั้น การโทษตัวเองอาจยิ่งทำให้สถานการณ์ย่ำแย่ลง ทางที่ดีควรรับความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญและคนรอบข้างดีกว่าค่ะ

ยังมีคนอีกจำนวนมากที่ป่วยเป็นโรคกินไม่หยุดโดยไม่รู้ตัว และไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ดังนั้น หันมาสำรวจตนเองและคนรอบข้าง หากมีอาการดังที่กล่าวมาข้างต้น อย่าลืมนำคำแนะนำดีๆ ที่ Undubzaap นำมาให้ไปใช้ควบคู่ไปกับการรักษาด้านอื่นๆ ด้วยนะคะ

 

Advertisements

Advertisements

Advertisements