๙ ตามรอยเท้าพ่อ เดินตามรอยเท้าแม่ – พระตำหนักดอยตุง เชียงราย

เชียงราย จังหวัดที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานและสำคัญ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในด้านของศิลปะ ประเพณี และวัฒนธรรมท้องถิ่นที่หลากหลาย

 

พระตำหนักดอยตุง

เริ่มการดำเนินการก่อสร้างขึ้นในปีพุทธศักราช 2530 เมื่อสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มี พระชนมายุ 88 พรรษา เหตุก็เพราะว่าก่อนหน้านั้น พระองค์ทรงมีพระราชกระแสว่า หลังพระชนมายุ 90 พรรษา จะไม่เสด็จไปประทับที่ ประเทศสวิตเซอร์แลน์ สำนักงานราชเลขานุการในพระองค์ จึงเลือกดอยตุงในการสร้างพระตำหนัก เนื่องจากมีทิวทัศน์ที่สวยงาม ขณะเดียวกันสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีก็ทรงพอพระราชหฤทัย และมีพระราชดำริจะสร้างบ้านที่ดอยตุง รวมถึงพระราชกระแสรับสั่งว่าจะ ปลูกป่าบนดอยสูงด้วยเช่นกัน

พระตำหนักดอยตุง
© รูปต้นฉบับ: DoiTungClub, Facebook

การก่อตั้งตำหนักเกิดขึ้นพร้อมกับ โครงการพัฒนาดอยตุง โดยเป็นการร่วมมือกันในทุกภาคส่วน เพื่อเป็นการฟื้นฟูสภาพพื้นที่ และยังมีการฝึกอาชีพอีกด้วย

ดอยตุงในอดีตเป็นเขาหัวโล้น แต่กลายเป็นป่าเขียว
© รูปต้นฉบับ: DoiTungClub, Facebook
ดอยตุง
© รูปต้นฉบับ: DoiTungClub, Facebook

เมื่อครั้งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้เสด็จมาประทับที่พระราชตำหนักดอยตุง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ก็ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมอยู่บ่อยครั้ง

ภายในพระราชตำหนัก ประกอบไปด้วยอาคารประกอบดังนี้

– หอพระราชประวัติ

– สวนแม่ฟ้าหลวง

– อาคารพระตำหนักดอยตุง

– พระธาตุดอยตุง

 

โครงการในพระราชดำริ

สมเด็จย่าทรงปลูกต้นแมคคาเดเมีย เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2532
© รูปต้นฉบับ: DoiTungClub, Facebook
แมคคาเดเมีย
© รูปต้นฉบับ: DoiTungClub, Facebook

“ฉันจะปลูกป่าที่ดอยตุง” เป็นพระราชดำรัสของสมเด็จย่า ที่ทรงมีจุดมุ่งหมายที่จะคืนความสมบูรณ์ให้ป่าเขาอันเสื่อมโทรมหมดสภาพ ให้กลับมามีความอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง ซึ่งปัจจุบัน ดอยตุงได้เป็นป่าต้นน้ำและเป็นป่าเศรษฐกิจที่เปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่คอยหล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนมาตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา

โครงการพัฒนาดอยตุงฯ ปลูกกาแฟใต้ป่า
© รูปต้นฉบับ: DoiTungClub, Facebook

Advertisements

เมล็ดกาแฟเชอรี่ดอยตุง
© รูปต้นฉบับ: DoiTungClub, Facebook

โครงการต่างๆ ที่เกิดขึ้นอันเนื่องจากพระราชดำริของราชวงศ์จักรี จึงเป็นเหตุผลและคำตอบที่อธิบายคำถามที่ว่า เหตุใดคนไทยจึงรักราชวงค์จักรี สุดหัวใจ

โครงการอันเนื่องจากพระราดำริทรงก่อให้เกิดชีวิตและยกระดับความเป็นอยู่ของเหล่าพสกนิกรให้ดีขึ้น ส่งผลทำให้มีการรุกรานธรรมชาติบนยอดเขาลดน้อยลง เพราะเมื่อคนมีอาชีพ มีความรู้ และแหล่งทำมาหากิน ก็จะมีการทำลายธรรมชาติลดน้อยลง และก็หวงแหนแหล่งที่ทำมาหากินของตนมากยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจุบัน โครงการดังกล่าว สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ได้สานต่อ และยังทรงเป็นองค์ประธานและดูแลดำเนินงานต่างๆ ตามพระราชปณิธานของสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี โดยแบ่งออกเป็น 3 หลักได้ดังนี้

 

1. การพัฒนาคน

งานผ้าทอมือ
© รูปต้นฉบับ: DoiTungClub, Facebook

ส่งเสริมการศึกษาให้ชาวบ้านได้มีองค์ความรู้และเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น จากนั้นส่งเสริมอาชีพให้ประชาชนได้มีอาชีพที่สุจริตสามารถที่จะยืนหยัดด้วยลำแข้งของตัวเองได้อย่างมั่นคงยั่งยืน เมื่อคนและชุมชนเข้มแข็งโอกาสที่ไปเกี่ยวข้องกับสิ่งผิดกฎหมาย อาทิ การตัดไม้ทำลายป่า จวบไปจนถึงการค้ายาเสพติด ลดน้อยลง

ส่งเสริมอาชีพให้ชาวเขา
© รูปต้นฉบับ: DoiTungClub, Facebook

 

2. การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน

เซรามิกดอยตุง
© รูปต้นฉบับ: DoiTungClub, Facebook

การพัฒนาอันเนื่องมาจากการพัฒนาคน โดยการส่งเสริมให้มีแหล่งทำมาหากิน แหล่งอาชีพ ไปจนถึงการส่งเสริมธุรกิจต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในด้าน อาหาร การท่องเที่ยว การเกษตรกรรม และ อุตสาหกรรม ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็เพื่อเป็นการลดปัญหาการเบียดเบียนทรัพยากรธรรมชาติอย่างผิดกฎหมาย หรือเป็นการลดปัญหาการทำลายสิ่งแวดล้อมไปอีกด้วย

ศาลาลีลาวดี
© รูปต้นฉบับ: DoiTungClub, Facebook

 

3. พัฒนาความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ

Tree Top Walk
© รูปต้นฉบับ: DoiTungClub, Facebook

น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่าฉันใด คนเราก็ต้องพึ่งธรรมชาติฉันนั้น โดยสมเด็จย่าทรงมีพระราชดำริให้ปลูกป่าต้นน้ำขึ้น เพื่อทดแทนป่าเดิม และทรงมีดำริให้มีการปลูกป่าเศรษฐกิจขึ้น เพื่อให้ชาวบ้านได้มีแหล่งอาชีพและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรเหล่านั้นเพื่อเลี้ยงชีพ และที่สามารถพบเห็นและมีชื่อเสียงออกสู่สายตาคนไทยและสายตาคนทั้งโลก นั้นก็คือ กาแฟพันธุ์อาราบิกาและแมคคาเดเมียที่มีความเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศของดอยตุงเป็นอย่างดี

สตรอว์เบอร์รี่สดๆ จากดอยตุง
© รูปต้นฉบับ: DoiTungClub, Facebook

Advertisements

Advertisements

Advertisements