ประวัติศาสตร์ที่ต้องเช็กอิน ! 4 ปราสาทหิน ที่ต้องไปเยือนให้ได้สักครั้งในชีวิต

ร่องรอยอารยธรรมโบราณต่าง ๆ ที่ได้ทิ้งร่องรอยแห่งประวัติศาสตร์และอวดโฉมความงดงามให้คนรุ่นต่อรุ่นได้เชยชม หนึ่งในนั้นก็คือ “ปราสาทหิน” ซึ่งถือได้ว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่โดดเด่นของภาคตะวันออกเฉียงเหนือเลยก็ว่าได้ โดยปราสาทหินจะมีทั้งขนาดใหญ่และเล็กอยู่หลายสิบแห่ง แต่ในวันนี้ Undubzapp จะมารวบรวมปราสาทหินที่ควรค่าแก่การเดินทางไปเยี่ยมชมสักครั้งในชีวิต โดยจะมีที่ไหนกันบ้างนั้น มาติดตามในบทความนี้ได้เลย

 

1.อุทยานประวัติศาสตร์เขาพนมรุ้ง – บุรีรัมย์

ปราสาทหินพนมรุ้ง เป็นปราสาทที่มีความงดงามมากๆ แห่งหนึ่งในประเทศไทย โดยตั้งอยู่บนเขาพนมรุ้ง อันเป็นที่มาของชื่อปราสาท โดยแต่เดิมที่แห่งนี้เคยเป็นภูเขาไฟมาก่อน ตัวปราสาทออกแบบตามความเชื่อที่สอดคล้องกับลักษณะภูมิประเทศ ซึ่งจะสังเกตุได้จากการประดับตกแต่งลวดลายที่เป็นรูปเทพและเรื่องราวทางศาสนา และสิ่งหนึ่งที่ถือว่าเป็นไฮไลต์ของที่นี่คือทับหลังที่มีชื่อเสียงที่สุด นั่นก็คือทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ ที่วางอยู่เหนือกรอบประตูวิหาร ซึ่งตามหลักความเชื่อแล้ว พระนารายณ์ถือว่าเป็นเทพเจ้าแห่งผู้สร้างและยังเป็นเทพเจ้าสูงสุดหนึ่งในสามพระองค์ (ตรีมูรติ) ตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูอีกด้วย

ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์

อีกหนึ่งความมหัศจรรย์ของปราสาทหินพนมรุ้ง ก็ความสวยงามที่ลงตัวระหว่างตัวปราสาทและธรรมชาติ ซึ่งในแต่ละปีจะมีปรากฎการณ์ที่แสงของพระอาทิตย์ส่องลอดผ่าน 15 ประตูของปราสาท

อุทยานประวัติศาสตร์เขาพนมรุ้ง - บุรีรัมย์ 02
© รูปภาพ

สำหรับปรากฎการณ์แสงแรกของแห่งรุ่งอรุณที่พระอาทิตย์ฉายแสงผ่านศิวลึงค์ มีความเชื่อว่าเป็นตัวแทนแห่งพระศิวะ หากผู้ใดได้มาชมและสัมผัสปรากฎการณ์ดั่งกล่าว เชื่อว่าจะเกิดเป็นสิริมงคลในการเริ่มต้นดำเนินชีวิต หรือเริ่มต้นทำสิ่งต่าง ๆ นั่นเอง

 

2.ปราสาทหินพิมาย – นครราชสีมา

ประสาทขอมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ตัวปราสาทหันหน้าไปทางทิศใต้ ซึ่งต่างจากปราสาททั่วๆ ไปที่หันไปทางทิศตะวันออก และถูกล้อมไปด้วยคูน้ำ รูปแบบการก่อสร้างปราสาทหินแห่งนี้ มีลักษณะคล้ายกับเขาพระสุเมรุ ตามความเชื่อเกี่ยวกับสวรรค์และโลกมนุษย์ เสมือนว่าประสาทหินพิมายเป็นทางเชื่อมต่อระหว่างโลกและสวรรค์

ปราสาทหินพิมาย - นครราชศรีมา 01
© รูปภาพ: suphawit

สิ่งแรกที่เมือเดินเข้าไปแล้วจะพบเจอ นั่นก็คือ “สะพานนาคราช” และประติมากรรมรูปสิงห์ ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าของพระปรางค์ ราวสะพานโดยรอบเป็นปฏิมากรรมลำตัวของพญานาค ชูคอแผ่พังพาน โดยมีลักษณะเป็นนาคเจ็ดเศรียร

ปรางค์หินแดง
© รูปภาพ

Advertisements

สำหรับใครที่เดินทางมาเที่ยวชม ปราสาทหินพิมาย เราขอแนะนำอีกหนึ่งจุดที่ห้ามพลาด นั่นก็คือ ปรางค์หินแดง ซึ่งตั้งอยู่บริเวณด้านขวา ถูกสร้างด้วยหินทรายสีแดง ภายในจะมีทับหลังที่ท่านไม่ควรพลาดเข้าไปเยี่ยมชมอย่างยิ่ง โดยทับหลังดังกล่าวถูกแกะสลักเป็นภาพมหากาพย์ภารตะ ตอนกรรณะล่าหมูป่า ถือว่าเป็นศิลปะโบราณที่มีเรื่องราวและความสวยงามอย่างยิ่ง

 

3.ปราสาทสระกำแพงใหญ่ – ศรีสะเกษ

เป็นปราสาทหินที่มีความสมบูรณ์และสวยงามเป็นอย่างมากของจังหวัดศรีสะเกษ ถูกสร้างขึ้นเมื่อศตวรรษที่ 16 โดยสันนิฐานว่าสร้างขึ้นมาเป็นเทวาลัยในศาสนาฮินดู

ปราสาทสระกำแพงใหญ่ - ศรีสะเกษ
© รูปภาพ

โดยมีสิ่งที่น่าสนใจ คือ ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์เหนือพระยาอนันคราช โดยมีพระพรหมผุดออกจากพระนาภี หรือ สะดือ และมีสตรี 5 นางนั่งอยู่ปลายพระบาท

ปราสาทมีระเบียงล้อมรอบเป็นรูปสี่เหลี่ยม โดยวัสดุในการก่อสร้าง ประกอบไปด้วยหินทรายและภายในยังมีการแกะสลักภาพ เช่น หน้าบัน ทับหลัง และเสาประตู ถือว่าเป็นลักษณะเฉพาะของศิลปะขอมในดินแดนไทย

 

4.ปราสาทเมืองสิงห์ – กาญจนบุรี

เมืองโบราณที่ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำแควน้อย ปราสาทแห่งนี้สันนิษฐานว่าสร้างความความเชื่อของพุทธศาสนสถานในศาสนาพุทธ นิกายมหายาน โดยลักษณะของสถาปัตยกรรม และปฏิมากรรม นั้นมีความคล้ายคลึงกับศิลปะในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 โดยบริเวณปราสาทมีกำแพงและคูน้ำล้อมรอบ

Prasat Mueang Sing Historical Park, Kanchanaburi *** Local Caption *** อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี
© รูปภาพ: tourismthailand

เส้นทางสู่ปราสาทมีลานประกอบพิธีกรรม และเป็นที่ประดิษฐานพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับที่พบในประเทศกัมพูชา ตัวปราสาทถูกสร้างโดยการรับอิทธิพลของขอมที่เข้ามาในประเทศไทย

จากศิราจารึกปราสาทพระขรรค์ เมืองพระนคร ประเทศกัมพูชา ได้ทรงจารึกชื่อเมือง 23 เมืองที่เจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงสร้างขึ้นไว้ ปรากฎชื่อเมือง ศรีชัยสิงห์บุรี จึงสันนิษฐานกันว่าน่าจะเป็นเมือง ปราสาทเมืองสิงห์ นั่นเอง

ประสาทหิน สะท้อนให้เห็นถึงสปาปัตยกรรมโบราณที่สวยงามและน่าหลงใหล อีกหนึ่งอย่างที่นับเป็นเรื่องที่น่ามหัศจรรย์นั่นก็คือระบบวิศวกรรมการก่อสร้างในยุคนั้นที่ยังไม่มีเครื่องมืออำนวยความสะดวกเฉกเช่นปัจจุบัน คงจะมีเพียงแรงงานคนที่ใช้ในการก่อสร้าง ใช้แรงงานคนในการก่อเรียงต่อหินแต่ละก้อนให้กลายเป็นปราสาทหินที่สวยงาม และสิ่งที่เราพอจะทำได้ก็คือการอนุรักษ์ความมหัศจรรย์เหล่านี้ให้คงอยู่ต่อไป เพื่อจะได้คนรุ่นหลังสามารถรับรู้ถึงเรื่องราวอันน่ามหัศจรรย์เหล่านี้นั่นเอง

Advertisements

Advertisements

Advertisements