วิจัยไทยเจ๋ง ผลิตชุดตรวจไข้เลือดออก รู้ผล 30 นาที!!!

ปรบมือรัวให้กับนักวิจัยไทยกันค่ะ  ที่สามารถผลิต “ชุดทดสอบโรคไข้เลือดออก” แบบทดสอบด้วยแถบสี รู้ผลเร็วในครึ่งชั่วโมง  ช่วยให้วินิจฉัยโรคเร็วขึ้น แม่นยำ ทันเวลา รักษาผู้ป่วยได้ทันเวลา ล่าสุดไปคว้ารางวัลทั้งในไทยและระดับนานาชาติมาแล้ว

 

ชุดทดสอบโรคไข้เลือดออกนี้เป็นผลงานของนักวิจัยจาก ภาควิชาชีวเคมี คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว)  ชื่อเต็มๆ ของชุดทดสอบนี้ คือ “ชุดตรวจวินิจฉัยเชื้อไวรัสเด็งกี่ที่ก่อโรคไข้เลือดออกแบบแยกซีโรไทป์ โดยใช้ดีเอ็นเอไบโอเซ็นเซอร์แบบแถบ”  อ่านแล้วมึน ก็ข้ามๆ ไปค่ะ เอาเป็นว่า มันคือชุดทดสอบว่าผู้ป่วยมีเชื้อเด็งกี่ซึ่งเป็นเชื้อของโรคไข้เลือดออกนั่นแหละ

 

ที่ผ่านมาคนไข้ที่เสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออก มักจะรู้ช้าไป ทำให้อาการหนักแล้ว ไวรัสได้เข้าไปทำลายระบบและอวัยยะภายในต่างๆ ทำให้การทำการของอวัยวะหรือระบบต่างๆ ล้มเหลว จนรักษาได้ยาก  แต่เจ้าชุดทดสอบฯ นี้ หลังทดสอบจะทราบผลภายในครึ่งชั่วโมง แยกชนิดของเชื้อได้แม่นยำกว่าชุดทดสอบเดิมที่ต้องใช้เวลาเพาะเชื้อนานหลายสัปดาห์กว่าจะทราบผล ช่วยให้แพทย์ตัดสินใจรักษาได้ทันท่วงที และรักษาได้ถูกโรค

 

ซึ่งความสำเร็จนี้ต้องยกนิ้วให้กับทีมนักวิจัย ที่ประกอบด้วย รองศาสตราจารย์ โกสุม จันทร์ศิริ อาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) รศ.ดร.สมชาย สันติวัฒนกุล ท่านอธิการบดี มศว, ผศ.ดร.ธงชัย แก้วพินิจ, นายจัตุรงค์ ขำดี, นายสมศักดิ์ เหรียญทอง 

 

Advertisements

นอกจากนี้ ชุดทดสอบฯ ยังได้รับรางวัลมากมายทั้งในประเทศและต่างประเทศมาแล้ว  ไม่ว่าจะเป็น รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ รางวัลระดับดีมาก จากรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2559 รางวัลสิ่งประดิษฐ์ระดับโลก 1 เหรียญทอง จาก Korea Invention Promotion Association (KIPA) ผลงานเรื่อง “Dengue virus serotype-specific DNA sensor strip test” “ชุดตรวจวินิจฉัยเชื้อโรคไวรัสไข้เลือดออกแบบแยกซีโรไทป์ โดยใช้ดีเอ็นเอไบโอเซ็นเซอร์แบบแถบ” เข้าร่วมประกวดในเวทีนานาชาติ Research for Community วิจัยเพื่อชุมชนสังคม

 

รวมทั้งยังคว้ารางวัลสิ่งประดิษฐ์ระดับโลก เหรียญทอง 1 เหรียญ เหรียญเงิน 1 เหรียญ เหรียญทองแดง 1 เหรียญ และ Special Prize 3 รางวัล โดยกวาด 6 รางวัล จาก 3 ผลงานที่เข้าร่วมแสดงนิทรรศการในงาน “Soul International Invention Fair (SIIF 2015)” ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี เมื่อเร็วๆ นี้.

 

ตอนนี้ชุดทดสอบนี้ยังเป็นตัวต้นแบบอยู่นะคะ ยังไงใจเย็น รอให้ทีมวิจัย พัฒนาให้เรียบร้อยก่อน คนไทยก็น่าจะได้ใช้กันในไม่ช้านี้

 

ที่มา ryt9  , freeimages

 

Advertisements

Advertisements

Advertisements