10 เหตุการณ์ภูเขาไฟระเบิด “รุนแรง” ที่สุดในโลก

พาย้อนเวลาไปดู 10 เหตุการณ์ภูเขาไฟระเบิดครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์โลกที่เกิดความเสียหายขั้นหายนะ คร่าชีวิตมนุษย์ไปมากมาย และยังส่งผลต่อสภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศ แปรปรวนไปกันหมด ซึ่งระดับความรุนแรงของเหตุภูเขาไฟระเบิดนี้ นักวิทยาศาสตร์เขามีเกณฑ์วัดระดับความรุนแรงที่เรียกว่า VEI (Volcano Explosivity Index) ที่มีสเกลให้ตั้งแต่ 0-8 ยิ่งตัวเลขสูงแสดงว่าการระเบิดยิ่งรุนแรง ไปดูกันว่า 10 เหตุการณ์ภูเขาไฟระเบิดครั้งใหญ่ในหน้าประวัติศาสตร์โลก จะมีที่ไหนกันบ้าง ระดับความเสียหายน่ากลัวขนาดไหน

 

10. การระเบิดของภูเขาไฟฮวนนา ปูติน่า ประเทศเปรู

ความรุนแรงระดับ 6

เหตุภูเขาไฟปะทุที่รุนแรงที่สุดในอเมริกาใต้ ฝุ่นควันฟุ้งทั่วมหาสมุทรแปซิฟิกเป็นวงกว้าง 120 กม. ฝุ่นควันที่พวยพุ่งขึ้นไปถึงชั้นบรรยากาศ หนาจนแสงแดดที่ส่องลงมายังโลกได้ยากลำบากขึ้น ทำให้บางพื้นที่มีอากาศหนาวเย็น เรียกว่าหนาวสุดในรอบ 500 ปี ทำเอาสภาวอากาศของหลายๆ ประเทศในยุโรปแปรปรวนวิปริตไปด้วย

ภูเขาไฟฮวนนา ปูติน่า ประเทศเปรู

 

9. การระเบิดของภูเขาไฟกรากะตัว ประเทศอินโดนีเซีย

ความรุนแรงระดับ 6

เป็นการระเบิดแบบมาราธอนจนต้องจดไว้บนหน้าประวัติศาสตร์โลกเลยก็ว่าได้ โดยเริ่มระเบิด พ่นเถ้าถ่าน เศษหินพวยพุ่งขึ้นมา จนกระทั่งเดือนส.ค. ได้เกิดการระเบิดขึ้นยาวนาน ข้ามวันข้ามคืน เถ้าถ่านพวยพุ่งสูงไปถึงชั้นบรรยากาศเป็นระยะทางถึง 80 กม. เกิดแผ่นดินไหวรุนแรง เศษหินเศษดิน กระจายไปโดยรอบรัศมี 750,000  ตร.กม. หมอก ควันที่ปกคลุมอากาศจนมืดมิด ตามมาด้วยคลื่นยักษ์สึนามิสูงถึง 40 เมตร คร่าชีวิตมนุษย์ไป 34,000 คนเลยทีเดียว

ภูเขาไฟกรากะตัว ประเทศอินโดนีเซีย

 

8. การระเบิดของภูเขาไฟ ซานตา มาเรีย ประเทศกัวเตมาลา

ความรุนแรงระดับ 6

ภูเขาไฟลูกนี้สงบนิ่งมานานกว่า 50 ปี  ภูเขาซานต้า มาเรีย ก็เกิดปะทุ พ่นเถ้าถ่าน ฟุ้งกระจายออกมาจากปากปล่องขนาดใหญ่  นับจาก ปี ค.ศ 1902  ซานตา มาเรียก็ยังคงปะทุอยู่เรื่อยๆ จนกระทั้งในปี  1922  ซานตา มาเรีย ได้เกิดระเบิดครั้งใหญ่ขึ้นอีกครั้ง ลาวาจากปากปล่องภูเขาไฟไหลลงมาอย่างรวดเร็ว คาดกันว่าในครั้งนั้นคร่าชีวิตผู้คนไปมากถึง 5,000 คน

ภูเขาไฟ ซานตา มาเรีย ประเทศกัวเตมาลา

 

7. การระเบิดของภูเขาไฟโนวารัปตา อลาสกา เพนนินซูล่า

ระดับความรุนแรง 6

เป็นภูเขาไฟที่มีพลัง ปะทุแรงที่สุดในศตวรรษที่ 20 รุนแรงขนาดที่ว่า คนที่อยู่ห่างจากภูเขาไฟลูกนี้ไกลถึง 750 ไมล์ ยังได้ยินเสียงระเบิดนานนับชั่วโมง ในอีก 60 ชั่วโมงต่อมา เมฆเถ้าถ่านขนาดใหญ่ก็ปรากฏขึ้นบนท้องฟ้า หลังเหตุปะทุสงบลง พื้นที่เสียหายไปกว่า 30 ลูกบาศก์กิโลเมตร ระดับความรุนแรงน่ากลัวจริงๆ

ภูเขาไฟโนวารัปตา อลาสกา เพนนินซูล่า

 

6. การระเบิดของภูเขาไฟปินาตูโบ เกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์

ความรุนแรงระดับ 6

แรงระเบิดพ่นเอาเถ้าถ่านพวยพุงขึ้นไปถึงชั้นบรรยากาศสูงถึง 35 กม. รับรู้ได้ถึงแรงระเบิดในรัศมี 20 กม. และถูกปกคลุมด้วยเถ้าจากภูเขาไฟจนมืดมิดทันที บ้านเรือน อาคารหลายหลังต้องถล่มลงมาเพราะรับน้ำหนักของเถ้าและเศษหินที่พ่นออกมาจากปากปล่องภูเขาไฟ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์และก๊าซอื่นๆ กว่า 20 ล้านตัน พื้นที่ป่าและพื้นที่เกษตร เสียหายเกือบ 1,000 ตร.กม.กระจายฟุ้งออกไปทั่วโลก คาดกันว่าปกคลุมและหมุนรอบโลกไปได้ถึง 5 ปี และทำให้อุณหภูมิโลกลดลงไปประมาณ 0.5 องศาเซลเซียสในปีถัดมา

ภูเขาไฟปินาตูโบ เกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์

 

Advertisements

5. การระเบิดของภูเขาไฟบนเกาะแอมบริด ประเทศวานัวตู

ความรุนแรงระดับ 6+

เกาะเล็กๆ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิกมีภูเขาไฟที่ยังไม่ดับอยู่หลายลูก นับรวมๆ ปะทุแล้วกว่า 50 ครั้ง ที่ต้องบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ เมื่อการปะทุครั้งหนึ่งเกิดเถ้าและลาวาไหลลงจากภูเขา เป็นวงกว้างกว่า 7.5 ไมล์ ยังไม่นับการปะทุอีกหลายครั้งที่ตามมาอีก ที่มีผู้เสียชีวิต 6 คน เสียชีวิตในลาวาอีก 4 และ เกิดฝนกรดทีมีฤทธิ์กัดกร่อนอย่างรุนแรง

ภูเขาไฟบนเกาะแอมบริด ประเทศวานัวตู

 

4. การระเบิดของภูเขาไฟคาปาร์ราวติเก ประเทศเอลซัลวาดอร์

ความรุนแรงระดับ 6+

ภูเขาไฟบนดินแดนที่เรียกว่า “ดินแดนแห่งภูเขาไฟ” ที่ผ่านมาในรอบ 500 ปี ภูเขาไฟลูกนี้ระเบิดมาแล้ว 26 ครั้ง แสดงพลังอำนาจออกมาล่าสุดเมื่อปลายปี 2556 ยังโชคดีที่อพยพได้ทัน แต่เมืองทั้งเมืองก็ต้องได้รับความเสียหายจากเถ้าถ่านที่พ่นออกมา

ภูเขาไฟคาปาร์ราวติเก ประเทศเอลซัลวาดอร์

 

3. การระเบิดภูเขาไฟธีรา เกาะซานโตรินี กรีซ (1610 ก่อนคริสกาล)

ความรุนแรงระดับ 7

เกาะซานโตรินี เป็น 1 ใน 3 เกาะที่เกิดจากระเบิดของภูเขาไฟที่รุนแรงในช่วง 1610 ปีก่อนคริสตกาล ว่ากันว่าเสียงระเบิดนี้ได้ยินไปไกลถึง 3,000 กม. ฝุ่น เขม่าและเถ้าควันไฟพวยพุ่งขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ฟุ้งกระจาย ส่งผลต่อสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป อุณหภูมิลดต่ำลง เกิดคลื่นยักษ์สึนามิความสูง 100 เมตรซัดเข้าฝั่ง สร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง

ภูเขาไฟธีรา เกาะซานโตรินี กรีซ

 

2. การระเบิดของภูเขาฉางไป๋ซาน พรมแดนจีน-เกาหลีเหนือ

ความรุนแรงระดับ 7

ภูเขาฉางไป๋ซานเป็นพรมแดนทางธรรมชาติที่กั้นเขตแดนระหว่างจีนกับเกาหลีเหนือ ในปี ค.ศ. 1,000 ภูเขาไฟลูกนี้ได้เกิดปะทุขึ้น ว่ากันว่าความรุนแรงในครั้งนั้น หินภูเขาไฟกระเด็นไปตกถึงทางตอนเหนือของญี่ปุ่นเลยทีเดียว ซึ่งเป็นระยะทางไม่ใกล้เลย 1,200 กม. หลุมที่เกิดจากการปะทุใหญ่เกือบ 3 ไมล์ และเมื่อลาวลาไหลออกมาจากปากปล่องภูเขาไฟจนหมด ปากปล่องก็กลายเป็นแอ่งกระทะ และกลายเป็นทะเลสาบเทียนฉือ ส่วนหินลาวาที่กระเด็นกระดอนกระจัดกระจายโดยรอบก็กลายเป็นภูเขาเรียงราย สวยงามจนกลายสภาพเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในปัจจุบัน

ภูเขาฉางไป๋ซาน พรมแดนจีน-เกาหลีเหนือ

 

1. การระเบิดของภูเขาไฟแทมโบรา เกาะซัมบาวา ประเทศอินโดนิเซีย

ความรุนแรงระดับ 7

เข้าวินมาเป็นที่หนึ่งด้วยสภาพความเสียหายชนิดที่เรียกว่าอภิมหาพินาศก็ว่าได้ เสียงดังสนั่นหวั่นไหวไปทั่วสารทิศ ว่ากันว่าดังไกลไปถึงเกาะสุมาตรา ที่อยู่ไกลออกไป 1,930 กม. เถ้าถ่านหมอกปกคลุมทั่วท้องฟ้าจนมืดมิดอยู่นานสองวัน แน่นอนว่า มีการประเมินกันว่า การระเบิดของแทมโบราเทียบเท่ากับระเบิดปรมาณู 6,000 ลูก ระเบิดพร้อมกัน

สภาวอากาศทั่วโลกแปรปรวนอย่างหนักยิ่งกว่าครั้งใด ยุโรป อเมริกาเหนือต้องตกอยู่ในสภาพไร้แสงแดดนานเป็นสัปดาห์ อังกฤษฝนตกทุกวัน กว่าที่ฝุ่นละอองจากแรงระเบิดนี้กว่าจะจางหายไปหมด ต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะตกลงสู่พื้น นอกจากสภาพแวดล้อมที่เสียหายแล้ว การสูญเสียชีวิตของมนุษย์ถึง 70,000 คนก็เป็นเครื่องการันตีได้แล้วว่า การระเบิดของแทมโบรานี้สมควรได้รับตำแหน่งสุดยอดการระเบิดของภูเขาไฟที่ต้องจดบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์แล้วล่ะ

ภูเขาไฟแทมโบรา เกาะซัมบาวา ประเทศอินโดนิเซีย

ที่มา dek-d

Advertisements

Advertisements

Advertisements