5 เทคนิคพูดให้มีพลัง “หัวหน้ารับฟัง เพื่อนร่วมงานเข้าใจ” ว่านี่ไม่ใช่การบ่นงุ้งงิ้ง

เคยหรือไม่เวลานำเสนออะไรไปแล้วไม่ค่อยมีคนตั้งใจฟัง นั่นก็แสดงให้เห็นว่าคำพูดของคุณยังไม่สามารถดึงดูดความสนใจจากคนฟังได้เท่าที่ควร  ทั้งที่การสื่อสารถือเป็นทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่งในโลกของการทำงาน  ไม่ว่าจะพูดคุยกับเพื่อนร่วมงาน หรือเสนอการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับหัวหน้า งั้นลองนำ 5 วิธีส่งเสียง เพื่อให้คนรอบข้างรับฟังคุณมากขึ้นไปใช้ดู  UndubZapp ได้รวบรวมไว้แล้ว

 

1. ทำความเข้าใจในไลฟ์สไตล์ที่ต่าง

ไม่ว่าคุณจะมีเทคนิคร้อยพันแปดก็พับเก็บไว้ก่อน เพราะนี่ถือเป็นเรื่องสำคัญลำดับต้นๆ ก่อนอื่นอยากให้พยายามเข้าใจคนอื่นให้มาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของไลฟ์สไตล์การทำงานในแต่ละบุคคล หรือนิสัยใจคอหัวหน้าและเพื่อนร่วมงานย่อมสำคัญอย่างมากที่คุณจำเป็นต้องเข้าถึง ยิ่งมองเห็นพวกเขาชัดมากขึ้นเท่าไหร่ เวลานำเสนออะไรย่อมมีส่วนให้คนๆ นั้นคล้อยตามง่ายกว่า ไม่ต่างจากรู้จุดว่าควรนำเสนองานในลักษณะใด ต้องใช้ถ้อยคำประมาณไหนหลีกเลี่ยงอะไรกับใครบ้าง

 

2. หากคิดต่างและอยากให้แก้

หากคุณมีความคิดเห็นที่ต่าง โดยมองว่าบางอย่างที่เพื่อนร่วมทีมเสนอมา จะนำมาซึ่งผลเสียบางส่วน แน่นอนว่าถ้าแนะนำตรงเกินไปอาจทำให้เพื่อนไม่พอใจเอาได้  แต่ในเมื่อเป็นสิ่งที่ต้องแก้จริงๆ ก็อย่าวิตกที่จะบอกกล่าวไปหน่อยเลย…  ให้คุณพูดเกริ่นด้วยความคิดเห็นในเชิงบวกก่อน แล้วค่อยตามด้วยความเห็นในเชิงลบ ที่สำคัญให้คุณปิดท้ายการสนทนาด้วยความคิดเห็นในเชิงบวกอีกครั้งหนึ่ง  ซึ่งการสนทนาด้วยวิธีการนี้จะทำให้คู่สนทนาได้ลองบวกลบกับคำแนะนำของคุณ  อาทิ งานนั้นยังไม่เวิร์คเท่าที่ควร อยากให้อีกฝ่ายแก้ไขคุณสามารถพูด ได้ดังนี้  “เป็นความคิดที่ดีและสร้างสรรค์มากเลย แต่หากมีตรงนี้เพิ่มเข้ามาน่าจะกลายเป็นลูกเล่นได้ดีไม่น้อย  แต่รวมๆ แล้วเธอออกแบบไว้ดีมากเลยละ” ประมาณนี้ค่ะ

 

3. ไอเดียเจ๋งๆ ควรเสนอที่ประชุม ไม่ใช่บอกว่าดี แต่ลับหลังแอบบ่น!!

ไม่ว่าอยากเสนอไอเดียหรือปัญหาอะไรก็ตามแต่ ก็ควรพูดในช่วงเวลาที่เหมาะสมอย่างวาระการประชุม ไม่ใช่คิดอยากพูดเมื่อไหร่ก็พูด! นั่งทำงานอยู่ก็บ่นว่าควรจะเป็นแบบนั้นแบบนี้  แม้จะเป็นความคิดที่เจ๋งก็เถอะ  แต่หากพูดไปเรื่อยเปื่อยมันก็ฟังดูไร้น้ำหนัก  คนได้ยินบ่อยเข้าอาจเอือมระอาคุณไปเลยก็ได้ค่ะ  เพราะคุณเล่นบ่นตลอด จนบ่อยครั้งเข้าอาจไม่มีใครอยากสานต่อความคิดดีๆ ของคุณเอาได้นะ  แล้วยิ่งคุณยังเป็นพนักงานใหม่ก็ไม่ควรออกตัวแรง!!  ไม่ใช่มีไอเดียเฉียบๆ ตอนนี้ ความคิดพุ่งปรี๊ดก็โพล่งออกมา  วางตัวอย่างเหมาะสมตามสถานการณ์ดีกว่า

 

Advertisements

4. อย่าลำไย! กับความคลุมเครือ

เข้าใจอยู่ว่าการสื่อสารมันไม่ได้ต้องสมบูรณ์แบบเสมอไป แต่ก็ควรชัดเจนให้มากเพื่อให้คำพูดที่เปล่งออกมามีน้ำหนักผู้คนอยากรับฟัง  ซึ่งหัวใจหลักของการสื่อสารปัญหาต่างๆ ในการทำงาน คือความ “ชัดเจน” ที่คุณเตรียมมาบอกกล่าวนั่นแหละ  หากต้องการให้หัวหน้าเข้าใจ คุณต้องบอกให้รู้จุดประสงค์ว่าคืออะไรกันแน่   ไม่อย่างนั้นหัวหน้าอาจไม่สามารถจับประเด็นได้ว่าคนพูดต้องการจะสื่ออะไร? ดังนั้นเปลี่ยนมาพูดให้กระชับและครอบคลุม จะช่วยทำให้เข้าใจง่ายขึ้นค่ะ

 

5. เชื่อมั่นในสิ่งที่ตัวเองมีเข้าไว้…

เต็มร้อยคุณให้คะแนนความเชื่อมั่นในตัวเองกี่เปอร์เซ็น  ตัวคุณย่อมรู้ตัวเองดีที่สุดฉะนั้นสำรวจตัวเองก่อนต้องการโน้มน้าวหรือพูดอะไรให้คนรับฟัง  ถ้ายังขาดซึ่งสิ่งนี้แล้วล่ะก็หยุดสงสัยได้เลย ว่าทำไมหัวหน้าไม่ค่อยตอบรับกับสิ่งที่คุณพูด  แต่หากเชื่อมั่นในตัวเองเมื่อไหร่เวลาต้องการให้คนเชื่อว่าสิ่งที่คุณพูดมันดีจริง   ความน่าเชื่อถือจะฉายแววออกมาทั้งทางสีหน้าแววตา รวมถึงท่าทางที่เป็นธรรมชาติของคุณเองค่ะ แล้วยิ่งมั่นใจมากเท่าไหร่คนฟังยิ่งตอบสนอง กับสิ่งที่เขาเห็นตรงหน้ามากขึ้นเท่านั้นแหละ

กดติดตาม ADD Line @UndubZapp

 

แซ่บกันต่อ…

>> 7 คำพูดเจ็บๆ ไม่ควรพูดกับเพื่อนร่วมงาน ไม่เช่นนั้นความบาดหมางอาจมาเยือน

>> เรื่องนี้ต้องถึงหัวหน้า!! 7 ประโยชน์ “การงีบหลับ” เพิ่ม Productive ทำงานดีกว่าการดื่มกาแฟ

Advertisements

Advertisements

Advertisements