ป้องกัน “โรคซึมเศร้า” ปัญหาสุขภาพจิต ที่พนักงานออฟฟิศควรระวัง!!

หลังๆ นี้เราได้ข่าวว่าดาราศิลปินดังๆ เป็นโรคซึมเศร้าจนฆ่าตัวตายกันเยอะ เช่น Chester Bennington นักร้องนำ Linkin Park และ คิม จงฮยอน สมาชิกวงชายนี่ (SHINee) และล่าสุด ซอลลี่ อดีตเกิร์ลกรุ๊ป f(x) ของเกาหลี  เรื่องนี้ทำให้แฟนคลับทั่วโลกต่างเศร้าเสียใจกันมาก จากข่าวสาเหตุการฆ่าตัวตายที่เกิดจากความเครียดเรื่องงานสะสม จนทำให้เป็นโรคซึมเศร้า จนลงท้ายด้วยการฆ่าตัวตาย เพราะสาเหตุของโรคนี้ส่วนใหญ่เกิดจากความเครียดเรื่องงานที่ไม่เป็นไปตามคาดนั่นเอง ไม่เว้นแม้แต่ศิลปินระดับโลกหรือพนักงานอย่างเราๆ ต้องยอมรับจริงๆ ว่า การทำงานทุกอย่างมันมีความเครียด เริ่มตั้งแต่ตื่นนอนตอนเช้าและรีบฝ่าฟันรถติดมาที่ทำงานให้ทัน และนั่งทำงานตลอดเวลาจนถึงเย็น ความเครียดจากการทำงานมีมากมายหลายสาเหตุ พอตกเย็นยังต้องเผชิญกับรถติดชนิดหลับแล้วหลับอีกกว่าจะถึงบ้าน วันนี้ Undubzapp นำ “โรคซึมเศร้า” ปัญหาสุขภาพจิตที่พนักงานออฟฟิศควรระวัง มาฝากกัน


โรคซึมเศร้าและเกิดภาวะเครียด ทางองค์การอนามัยโลกเองก็ให้ข้อมูลว่า โรคซึมเศร้าและเกิดภาวะเครียด ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและสูญเสียเงินถึงล้านล้านเหรียญสหรัฐต่อปี การถูกเลิกจ้างเป็นความเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตมากที่สุด คนทำงานถึง 65% อายและกลัวไม่กล้าบอกหัวหน้าว่ากำลังเผชิญกับปัญหานี้ โดยอายุ 35-39 ปี เป็นช่วงอายุที่มีอัตราการฆ่าตัวตายมากที่สุด

โรคซึมเศร้าคือ โรคทางจิตเวชประเภทหนึ่ง ผู้ป่วยจะมีอาการป่วยทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจและความคิด มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตในประจำวันอย่างมาก เช่น รู้สึกว่าตัวเองไม่มีความสุขกับชีวิต ท้อแท้ เบื่อหน่าย เหงา ไม่มีชีวิตชีวา ในหัวสมองมักมีแต่ความวิตกกังวล และไม่สามารถจัดการกับปัญหาได้ จนทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น กรรมพันธุ์ ด้านพัฒนาการของจิตใจ รวมทั้งด้านสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยประสบกับความเครียดที่แสนหนัก เจอมรสุมชีวิตที่ไม่ทันได้ตั้งตัว เกิดอาการเจ็บป่วยเรื้อรังจนทำให้หมดกำลังใจ ตกงาน มีปัญหาเรื่องการเงินที่หาทางออกไม่ได้ มีปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด รวมทั้งพบเจอกับความสูญเสียในชีวิตที่ทำให้เสียใจเป็นอย่างมาก ทั้งหมดส่งผลทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้


วันนี้ Undubzapp นำ 6 วิธีป้องกันการเกิดโรคนี้มาฝากกันด้วย

1. มองโลกในแง่ดี ทำจิตใจให้สบาย ไม่มองปัญหาเป็นปัญหา เมื่อเกิดปัญหาให้ใช้สติในการแก้ไข ไม่มีอะไรที่แก้ไขไม่ได้

2. ปรับเปลี่ยนความคิด เพิ่มพลังบวกในใจ อย่าทำจิตใจขุ่นมัว อะไรที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นสิ่งดีทั้งนั้น เราควรเรียนรู้จากมันแล้วเราจะรับมือกับปัญหาได้

Advertisements

3. สร้างความเข้มแข็งทางใจ ไม่มีใครปลอบใจตัวเอง จงหัดปลอบใจตัวเองให้เป็น บอกกับตัวเองทุกวันว่า ดีแค่ไหนที่ยังมีงานให้ทำ และยังมีลมหายใจอยู่

4. สร้างวัฒนธรรมการมีส่วนร่วม เมื่อเกิดปัญหาอย่าอยู่กับตัวเองและอย่าจมกับปัญหานาน ออกไปพบปะเพื่อนฝูงหรือหากิจกรรมเพื่อสังคมทำ ให้ทำให้ชีวิตมีค่า มีชีวิตอยู่เพื่อช่วยเหลือคนรอบข้าง

5. มีหลักพักใจในการดำเนินชีวิต แต่ถ้ารับมือกับปัญหาที่ถาโถมมาไม่ไหว จงหาสิ่งยึดเหนี่ยว เข้าวัดฟังเทศน์ฟังธรรม หรือไม่ต้องไปหาที่ไหน พ่อแม่ของเรานั่นเอง ขอกำลังใจและขอข้อคิดดีๆ จากพ่อและแม่

6. พึงพอใจในสิ่งที่มี ไม่คาดหวังก็จะไม่ผิดหวัง จงตั้งสติและมองเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นและเป็นอยู่ และยอมรับมัน และอยู่กับมันให้ได้ อย่าพยายามอยากมีอยากได้อยากเป็นแบบคนอื่น เพราะถ้าเราไม่ได้จะผิดหวังเสียและเกิดความทุกข์

เราห้ามปัญหาและความเครียดไม่ได้ เมื่อเกิดขึ้นก็ขอให้ตั้งสติเพื่อให้เกิดปัญญา รู้เท่าทันกับปัญหาและความเครียดที่เกิดขึ้น

Advertisements

Advertisements

Advertisements