น้ำหนักดีดขึ้น? อ่านด่วน….5 สาเหตุทำไม “ยิ่งลดน้ำหนัก กลับยิ่งอ้วน”

เคยไหม ยิ่งพยายามลดอาหาร ยิ่งกลับกลายเป็นอ้วนขึ้น เหตุใดการกินน้อยลงถึงทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นกว่าเดิม? ตาม UndubZapp มาสืบเสาะสาเหตุทำไมยิ่งลดยิ่งอ้วน ยิ่งกินน้อยยิ่งน้ำหนักเพิ่มขึ้นกันค่ะ อ่านจบแล้วอย่าลืมกลับมาทบทวนซ้ำเป็นประจำ และเช็กลิสต์สาเหตุที่ทำให้โยโย่บ่อยๆ นะคะ เพราะคีย์เวิร์ดสำคัญของการลดน้ำหนักอย่างเกิดผล ไม่ใช่การทำความเข้าใจอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการปฏิบัติตามข้อควรทำอย่างมีวินัยด้วย ว่าแล้วก็ตามไปดูตัวการทำน้ำหนักดีดกันเลยค่ะ

 

1.นอนดึกทุกวัน

การเข้านอนเร็วเพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ นับเป็นวิธีดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานที่ทุกๆ คนจำเป็นต้องทำ เนื่องจากการนอนเปรียบได้กับการชาร์จพลังงาน ชาร์จแบตเตอรี่ให้ร่างกายทางหนึ่ง ใครอยากสุขภาพดีหุ่นสวย ต้องเริ่มต้นที่นอนเร็วนี่ล่ะ

 

หากว่าเรานอนดึกทุกวัน ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนที่ทำให้รู้สึกหิวออกมามากขึ้น ในขณะเดียวกันกับที่ลดฮอร์โมนที่ทำให้รู้สึกอิ่มลง อาจกล่าวได้ว่า ยิ่งนอนดึก เราก็จะยิ่งรู้สึกหิวไส้กิ่วง่ายขึ้น แถมการนอนดึกยังทำให้ร่างกายแทบไม่ได้พัก เซลล์ต่างๆ ในร่างกายไม่ได้รับการฟื้นฟู ฮอร์โมนจึงขาดความสมดุล ทั้งหมดนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้ผิวเหี่ยว อ้วนง่าย ความฟิตเปรี๊ยะถดถอย

 

 

2.กินน้อยเกินเหตุ

คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าการลดน้ำหนักให้เวิร์คคือกินน้อยๆ เข้าไว้ ซึ่งก็นับว่าถูกส่วนหนึ่ง แต่พอยท์ที่สำคัญกว่านั้นคือกินให้น้อยกว่าใช้ อย่างไรก็ตาม งานวิจัยพบว่า การกินน้อยเกินเหตุ หรือ กินน้อยกว่า 800 Kcal/วัน เป็นสาเหตุที่ทำให้ ฮอร์โมนเลปติน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้รู้สึกอิ่ม ลดลง และยังทำให้ ฮอร์โมนเกรลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้รู้สึกหิว เพิ่มขึ้นด้วย

 

เมื่อฮอร์โมนที่เปรียบเสมือนตาชั่งถ่วงสมดุล ทำงานได้ไม่สมดุล เราจึงเกิดภาวะโหยอาหาร ต้องหาอะไรกินอย่างควบคุมไม่ได้ แน่นอนว่าพอกลับมากินเยอะ ปัญหาโยโย่ก็ตามมาเป็นเงาตามตัว และนั่นก็เป็นเหตุผลว่าทำไมน้ำหนักดีดกลับง่ายเหลือเกิน

 

 

 

3.สนใจแต่ตัวเลขบนตาชั่ง

การลดน้ำหนักที่เก๋กู๊ดที่สุด ได้ผลยั่งยืนที่สุด คือ การลดไขมันโดยไม่ทำให้กล้ามเนื้อสูญสลาย หากแต่คนส่วนใหญ่มักใส่ใจกับตัวเลขบนตาชั่ง มากกว่าที่จะสนใจว่าปริมาณไขมันในร่างกายลดลงไปด้วยหรือไม่ กลายเป็นสาเหตุของการโฟกัสผิดจุด

Advertisements

 

แทนที่จะใส่ใจว่าน้ำหนักเหลือเท่าไหร่แล้ว ด้วยการชั่งน้ำหนักในทุกๆ วัน ลองเปลี่ยนมาวัดปริมาณไขมันในร่างกายดีกว่า ยิ่งไปกว่านั้น ผลจากงานวิจัยยังพบว่า การลดน้ำที่ดีควรเป็นการลดน้ำหนักไม่เกิน 2 กิโลกรัม/เดือน ถ้าลดมากเกินกว่านี้ มีแนวโน้มว่าจะได้รับผลเสียมากกว่าผลดี เนื่องจากร่างกายของคนเรามีกลไกป้องกันตัวเอง ยิ่งน้ำหนักลดฮวบฮาบ สุขภาพก็ยิ่งน่าห่วง

 

 

 

4.นับแคลอรี่จนเครียด

หลายๆ คนชอบคุมอาหารด้วยการนับแคลอรี่ คำนวณพลังงานที่ร่างกายจะได้รับจากการกินอาหารต่างๆ อย่างเคร่งครัด แต่บางครั้งการนับแคลอรี่จนตัวเองก็ยังปวดหัว อาจเป็นสาเหตุที่ก่อให้ความเครียดได้เช่นกัน ยิ่งทำนาน ความเครียดยิ่งสะสม

 

จริงๆ การนับแคลอรี่ไม่ใช่เรื่องผิด ถ้าถนัดวิธีนี้ก็สามารถทำได้ แต่ไม่อยากให้ตึงเปรี๊ยะจนเกินไป ควรยืดหยุ่นตามสมควร เพราะความเครียดทำให้ร่างกายต้องหลั่งสารออกมาสู้กับความเครียด ซึ่งสารนี้จะลดลงต่อเมื่อเรากินอาหารเข้าไป หรือเมื่อเรารู้สึกผ่อนคลายนั่นแหละ สรุปง่ายๆ ก็คือ ถ้าเรายิ่งเคร่ง เราจะยิ่งเครียด ถ้าเรายิ่งเครียด เราก็จะยิ่งกินเยอะ วนลูปไปอ้วนเหมือนเดิม

 

 

 

5.ไม่ค่อยออกกำลังกาย

วิธีลดน้ำหนักให้เวิร์คที่สุดควรใช้หลากวิธีประกอบกัน ทั้งจำกัดปริมาณการกินให้เหมาะสม ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ แม้กระนั้น คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าแค่กินน้อยๆ อย่างเดียวก็ได้ผลแล้ว จึงไม่ค่อยออกกำลังกายกันเท่าไหร่ แถมภาระความรับผิดชอบแต่ละวัน ก็ทำให้หลายคนเหนื่อยจนไม่อยากออกกำลังกายอีก และนี่ก็คือสาเหตุที่ทำให้น้ำหนักดีดไวสุดๆ

 

อย่าลืมว่าการออกกำลังกายเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าการคุมอาหาร เพราะสามารถลดความอ้วน ขจัดไขมันสะสมได้ในขณะเดียวกัน การออกกำลังกายจะช่วยให้ร่างกายทำงานอย่างสมดุล ส่งผลให้ระบบเผาผลาญทำงานได้ดี เราจึงควรออกกำลังกายเป็นประจำ อาจลองเวท เทรนนิ่งที่ใช้เวลาไม่นานมาก แต่ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อได้ดี ทำให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานได้ดีขึ้น

 

Advertisements

Advertisements

Advertisements