ทำความเข้าใจ ‘โรคสาวก่อนวัย’ คือ โรคอะไรกันแน่

ยุคสมัยนี้ โรคภัยไข้เจ็บแปลกประหลาดเกิดขึ้นมากมาย คนทันสมัยอย่างเราๆ ก็ต้องเร่งทำความเข้าใจให้ทันโรคด้วยเหมือนกัน และพอพูดคำว่า โรคสาวก่อนวัย หลายคนอาจสับสนไม่เข้าใจว่าคือ โรคอะไรกันแน่ เราลองมาทำความรู้จักกับโรคนี้กันเลยค่ะ

เด็กสาว

โรคสาวก่อนวัย หรือ Precocious Puberty คือ การที่เด็กน้อยบางคนเติบโตอย่างรวดเร็วเกินปกติจากการที่ร่างกายผลิตฮอร์โมนเพศเร็วกว่าปกติ ซึ่งโดยปกติแล้วร่างกายของเด็กสาวจะเริ่มมีเต้านมคือ ประมาณ 9 ปีครึ่ง หรือ ป.4 ใน ขณะที่มีประจำเดือนในช่วงอายุเฉลี่ยประมาณ 12 ปี โดยสาเหตุของโรคสาวก่อนวัยมีหลายอย่างด้วยกัน ซึ่งปัจจุบันมีการประ เมินสาเหตุเอาไว้พอสังเขป ดังนี้ค่ะ

1. สาเหตุจากความสมบูรณ์ของร่างกายมากเกินไป หรือ พูดง่ายๆ คือ อ้วน จากสถิติเราพบว่า เด็กหญิงที่มีน้ำหนักเกินและค่อนข้างจะสมบูรณ์มีแนวโน้มเป็นสาวเร็วกว่าเด็กที่มีน้ำหนักปกติ เพราะไขมันนั้นส่ง ผลให้การทำงานของต่อมไร้ท่อในร่างกายเกิดการคำนวณผิดพลาด ร่างกายจึงเริ่มผลิตฮอร์โมนเพศเพราะคิดว่าเจ้าของร่างนี้โตเต็มวัย จนอยู่ในวัยเจริญพันธุ์แล้ว ส่งผลให้มีประจำเดือนเร็วกว่าที่ควร ความสูงก็จะค่อยๆ ช้าลงและจะหยุดสูงเมื่อมีประจำเดือนสม่ำเสมออย่างน้อย 3 ปี เพราะฉะนั้นคุณแม่ควรจะหันมาป้องกันโรคอ้วนในเด็กอย่างจริงจัง อย่าปล่อยให้ลูกหลานของท่านสมบูรณ์จนเกินพอดีนะคะ

2. สาเหตุจากพันธุกรรม ระยะเวลาการมีประจำเดือนครั้งแรกในวัยเด็กของคุณแม่ก็มีแนวโน้มที่จะส่งผลกับระยะการมีประจำเดือนของบุตรสาวโดยตรง

3. สาเหตุจากเนื้องอกในช่วงแกนกลางสมอง ทำให้ไปกระตุ้นให้ต่อมใต้สมองผลิตฮอร์โมนเพศเร็วขึ้น

ผู้หญิง
 

อาการของโรค ที่คุณแม่ควรจะสังเกตลูกสาวให้ดี เพื่อไปปรึกษาแพทย์ได้ทันท่วงที

1. สังเกตที่เต้านม ถ้าเป็นสาวเร็วก็จะทำให้เริ่มมีเต้านม และมีอาการเจ็บบริเวณหัวนม สังเกตได้จากการที่มีไตแข็งๆ ก่อนอายุ 8 ขวบ

Advertisements

2. กลิ่นตัว เด็กบางคนจะเริ่มมีกลิ่นตัวที่รักแร้ ซึ่งเป็นผลมาจากการทำงานของฮอร์โมนและต่อมไร่ท่อที่ผิดปกติทั้งสิ้น

3. การตกขาว หรือ การมีระดูเป็นเมือกขาวออกมาเปื้อนชุดชั้นใน ซึ่งอาการพวกนี้คุณแม่สามารถสังเกตได้ไม่ยากค่ะ

เด็กผู้หญิง
 

เมื่อไปพบแพทย์แล้วจะมีการทำการประเมินตรวจสอบตามขั้นตอน ดังนี้

1. เอกซเรย์กระดูกข้อมือ เพื่อพิจารณาอัตราการเจริญเติบโตของกระดูกว่าผิดปกติหรือไม่ ซึ่งเด็กที่มีอาการการเจริญเติบโตผิดปกติ จะตรวจพบว่ามีอายุของกระดูกแก่กว่าอายุกระดูกจริง เช่น เด็กมีอายุจริงแค่ 7 ขวบ แต่ตรวจแล้วพบว่ามีอายุกระดูกเท่ากับเด็ก 11 ขวบ ซึ่งมีผลต่อความสูงของเด็กอย่างแน่นอน เพราะปกติกระดูกในร่างกายเราระยะแรกจะเจริญในรูปของกระดูกอ่อน และมีการเจริญเติบโตที่สัมพันธ์กับอายุ เช่น อายุ 11 ปี ก็จะมีอายุกระดูก 11 ปี เมื่ออายุมากขึ้น อายุกระดูกก็จะมากขึ้นตามไปด้วย พวกกระดูกอ่อนก็จะเปลี่ยนเป็นกระดูกแข็งและจะหยุดการเจริญเติบโตทันที ดังนั้น ถ้าเด็กมีอัตราการเจริญเติบโตของกระดูกแบบก้าวกระโดดแล้ว อาจทำให้ใน 1 ปี กระดูกจะเจริญรวดเร็วไปได้ถึง 2-3 ปี ทำให้กระดูกปิด หรือ หยุดสูงเร็วกว่าอายุที่ควรจะเป็น

2. ตรวจเลือดดูฮอร์โมน ซึ่งการตรวจนี้ โดยแพทย์จะทำการตรวจสอบด้วยการฉีดยากระตุ้นร่างกาย และทำการเจาะเลือดดูผล

3. ตรวจร่างกาย เช็กประวัติน้ำหนักและส่วนสูงจากสมุดพกหรือสมุดวัคซีน ซึ่งมีความสำคัญมาก พอๆกับการเจาะเลือดและเอกซเรย์

ถ้าตรวจร่างกายเรียบร้อยแล้ว พบว่าลูกสาวของท่านมีอาการของโรคสาวก่อนวัย ก็ไม่ต้องกังวลใจไป เพราะปัจจุบันมีการรักษาด้วยการฉีดยาชะลอการมีประจำเดือนออกไป รวมทั้งรับประทานยาช่วยเพิ่มความสูง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องอยู่ในดุลยพินิจของกุมารแพทย์แผนกต่อมไร้ท่อเท่านั้นนะคะ

ภาพใช้ประกอบเนื้อหา-ไม่เกี่ยวข้องกับบทความ
© รูปต้นฉบับ : Kera Valkyrie, vimeo

Advertisements

Advertisements

Advertisements