งานนี้มีสะดุ้งถ้วนหน้า 5 บทเรียนการทำงานของสื่อไทย ในเหตุการณ์ถ้ำหลวง

เป็นที่ทราบกันดีว่าในช่วงเดือนนี้ ข่าวที่คนไทยและทั่วโลกให้ความสนใจมากที่สุด นั่นคือ “ปฏิบัติการช่วยเหลือทีมหมูป่าออกจากถ้ำขุนหลวงนางนอน” ทำให้สื่อแข่งกันนำเสนอข่าว เพราะหากช่องใดหาข้อมูลได้ลึกกว่า มากกว่า เรตติ้งก็จะยิ่งสูง จนบางช่องยอมใช้วิธีผิดๆ ซึ่งเรื่องนี้ค่อนข้างเป็นที่พูดถึงในโซเชียล ในครั้งนี้ผู้เขียนจึงรวบรวมประเด็นต่างๆ เพื่อสรุปเป็นบทเรียนการทำงานของสื่อในครั้งนี้กันค่ะ

 

ประเด็นที่ 1 : เผลอถามผู้ปกครองว่า “ลูกมาเข้าฝันไหม”

เป็นนับเป็นประเด็นแรกๆ ที่ฮอตฮิตจนเดือดไปทั่วทามไลน์ เมื่อพิธีกรรายการข่าวช่องหนึ่งดันไปถามหนึ่งในผู้ปกครองของทีมหมูป่าว่า “ลูกมาเข้าฝันไหม” ทั้งๆ ที่ขณะนั้นยังไม่มีการรายงานว่าเสียชีวิต ทำให้ชาวโซเชียลไม่พอใจเป็นจำนวนมาก หาว่า ‘แช่ง’ จนเจ้าตัวต้องออกมาโพสต์ขอโทษผ่านพื้นที่ส่วนตัวของตัวเอง หลังจากนั้นช่องอื่นๆ จึงเริ่มระวังการรายงานข่าวกันมากขึ้น

 

ประเด็นที่ 2 : เข้าไปรายงานยันภายในถ้ำ

เป็นไม่รู้ว่ากลัวคนดูไม่เชื่อว่าอยู่สถานที่จริงหรืออย่างไร ผู้สื่อข่าวจากช่องหนึ่งถึงขั้นต้องไปรายงานข่าวกันถึงปากถ้ำ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เจ้าหน้าที่กำลังทำงานอยู่เป็นจำนวนมาก โดยทุกๆ คนต้องแข่งกับเวลากันทั้งนั้น เพราะขณะนั้นยังไม่พบน้องๆ จึงไม่รู้ชะตากรรมว่าจะเป็นตายร้ายดีอย่างไร แต่กลับต้องมาถูกรบกวนจากผู้สื่อข่าวที่อาจจะไม่ทันคิดถึงประโยชน์ส่วนรวมจนผู้บัญชาการศอร. ต้องออกมาขอความร่วมมือไม่ให้เข้าไปทำข่าวในบริเวณดังกล่าว

 

ประเด็นที่ 3 : สื่อถูกไล่ออกจากปากถ้ำไปไกล 3 กิโลฯ

เป็นต้องบอกก่อนว่าไม่ได้ถูกเชิญให้ไปอยู่ไกลเสียขนาดนั้นตั้งแต่แรกค่ะ แต่เพราะวันนั้นจะมีการนำตัวหมูป่าออกจากถ้ำ และเพื่อความสะดวกในการทำงานของเจ้าหน้าที่, ความปลอดภัยของหมูป่า และความรู้สึกของญาติน้องๆ จึงขอความร่วมมือให้ย้ายจุดทำข่าวออกไปไกลจากปากถ้ำกว่า 3 กิโลฯ โดยที่สื่อทุกคนยอมทำตาม ไม่มีช่องไหนคัดค้าน เพราะทุกคนต่างรู้ดีว่าสถานที่ที่หมูป่าทั้ง 13 ควรไปเป็นที่แรกหลังออกจากถ้ำคือโรงพยาบาล ไม่ใช่โต๊ะแถลงข่าว

Advertisements

 

ประเด็นที่ 4 : เผยแพร่คลิปเสียงจากวิทยุสื่อสารระหว่างที่เจ้าหน้าที่ทำงาน

เป็นรายการข่าวของช่องหนึ่งนำคลิปเสียงที่อ้างว่ามาจากวิทยุสื่อสารระหว่างที่เจ้าหน้าที่กำลังปฏิบัติภารกิจนำทีมหมูป่าออกมาจากถ้ำมาเผยแพร่ ชาวโซเชียลถึงกับตั้งคำถามว่า “เหมาะสมหรอ!?” รวมไปถึงต่อว่าว่า “ไม่มีจริยธรรมสื่อมวลชนเลย” แล้วทามไลน์ก็ยิ่งเดือดมากขึ้นไปอีก เมื่อผู้บัญชาการศอร. พูดถึงเรื่องนี้ว่า “ส่วนเรื่องการจูนความถี่ มีการใช้เทคนิควิธีพิเศษ ขณะนี้เจ้าหน้าที่กำลังตรวจสอบอยู่” จนช่องนั้นต้องออกมาขอโทษ พร้อมอธิบายว่าไม่ได้ดักฟังคลื่นราชการ คลิปเสียงนี้ได้มาจากคลื่นที่ประชาชนเข้าถึงได้ อย่างไรก็ตาม จากนี้ก่อนจะรายงานอะไร คงต้องคิดให้มากขึ้น

 

ประเด็นที่ 5 : บินโดรนขัดขวางการทำงานของเจ้าหน้าที่

เป็นก่อนอื่นเลยช่องนั้นเขามีใบอนุญาตบินโดรนได้ค่ะ แต่ที่เป็นปัญหาเนี่ย เพราะไปใช้เพื่อเก็บภาพเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพขณะบินไปส่งหมูป่าที่โรงพยาบาลโดยไม่ได้รับอนุญาตก่อน! ซึ่งผู้บัญชาการศอร. ขยายความต่อว่า “มีการตรวจพบว่าบินอยู่ในเส้นทางแนวการบิน ถือเป็นการแทรกแซงการทำงานของเจ้าหน้าที่ อาจทำให้เกิดความเสียหาย ถือเป็นการทำผิดกฎหมาย” ผลสุดท้ายจึงถูกดำเนินคดีไปตามระเบียบ แม้ว่าช่องนั้นจะออกมาขอโทษแล้วก็ตาม

กดติดตาม ADD Line @UndubZapp

Advertisements

Advertisements

Advertisements