บ้านหมุนเกิดจาก? 4 ข้อควรรู้อาการวิงเวียน สัญญาณที่ไม่ควรมองข้าม

 

 อยู่ๆ ก็เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ รู้สึกเหมือนกับว่าบ้านหมุน ทำไงดี? 😵 UndubZapp ขอชวนเพื่อนๆ มาเช็กข้อควรรู้เกี่ยวกับอาการบ้านหมุน อาการเตือนสู่โรคภัยต่างๆ ที่ไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงที่โรคภัยไข้เจ็บยังคงระบาดอย่างต่อเนื่อง เพื่อนๆ ยิ่งต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษนะคะ ข้อควรรู้เกี่ยวกับอาการบ้านหมุนจะมีอะไรบ้าง ไปดูกันค่ะ!

 

อาการบ้านหมุนเกิดจากอะไร?

อาการบ้านหมุน เป็นภาวะที่ผู้ป่วยรู้สึกราวกับว่าวัตถุในบ้านเคลื่อนที่เอง มีการเคลื่อนไหวอย่างผิดปกติ เช่น ห้องหมุน เตียงเอียง หรือทรงตัวไม่ได้ อาการเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่ถ้าเกิดขึ้นเป็นประจำ ควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที

 

โดยมากแล้ว อาการบ้านหมุนมักเกิดจากการเสียสมดุลของระบบการทรงตัวในหูชั้นใน ลักษณะอาการจะแตกต่างกันออกไปใน ผู้ป่วยบางรายอาจเกิดอาการบ้านหมุนแบบเฉียบพลัน ผู้ป่วยบางรายอาจเกิดอาการบ้านหมุนแบบค่อยๆ เป็นทีละนิด

 

นอกจากนั้น อาการบ้านหมุนยังอาจเป็นอาการเตือนสู่โรคภัยที่ไม่ควรมองข้ามได้ด้วยเช่นกัน อาการบ้านหมุนซึ่งเป็นสาเหตุของโรคต่างๆ มีดังนี้

 

1.โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน

อาการ: มักมีอาการเวียนหัว หูอื้อ มีเสียงดังรบกวนภายในหู ความสามารถในการได้ยินลดลง บางรายอาจเป็นๆ หายๆ ครั้นเมื่ออาการเวียนหัวทุเลา เสียงดังรบกวนภายในหูจะลดลงตามไปด้วย ความสามารถในการได้ยินก็จะกลับมาเป็นปกติ หากมีอาการดังกล่าว ควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษาทันที ไม่ควรปล่อยไว้ เพราะมีความเสี่ยงต่อการหูดับ หรือเกิดเสียงดังในหูถาวร

 

การรักษา: ส่วนใหญ่แล้ว แพทย์จะให้ยาช่วยขจัดการคั่งค้างของตะกอนและน้ำภายในหูชั้นใน ผู้ป่วยจำต้องกินยาติดต่อกันจนกว่าหูจะกลับมาได้ยินตามปกติ มิใช่กินบ้างไม่กินบ้าง หรือพอหายเวียนหัวแล้วก็หยุดกินยาไปเอง เพราะจะทำให้หายยาก

Advertisements

 

2.โรคหินปูนชั้นในหลุด

อาการ: มักมีอาการเวียนหัวเฉียบพลันขณะนอนคะแคงข้างใดข้างหนึ่ง และอาจรู้สึกว่าบ้านหมุนไม่กี่วินาที แล้วก็ปรับตัวได้ สาเหตุเกิดจากตะกอนหินปูนชั้นใน ซึ่งทำหน้าที่รับรู้แรงโน้มถ่วงของโลก หลุดแล้วไปแตะประสาทการทรงตัวในส่วนของการหมุน จึงทำให้เกิดความรู้สึกดังกล่าว แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการบ้านหมุนถี่และไม่มีลักษณะเฉพาะท่า น่าจะเกิดจากประสาทมากกว่า

 

การรักษา: ส่วนใหญ่แล้ว แพทย์จะรักษาตามอาการ เนื่องด้วยอาการดังกล่าวมักจะหายเองภายใน 1 เดือนขึ้นไป และยังไม่มียาจำเพาะสำหรับการรักษา ข้อควรทำคือ หลีกเลี่ยงท่าทางที่กระตุ้นให้เกิดอาการเวียนหัว รับประทานยาบรรเทาอาการเวียนศีรษะ

 

 

3.โรคกระดูกคอเสื่อม

อาการ: อาการเหล่านี้พบมากในผู้สูงอายุ อาการทั่วไป คือ ปวดคอร้าวไปยังแขน หรือร้าวไปถึงท้ายทอย หรือปวดหลังคอบริเวณ 2 ข้างของกระดูกสันหลัง หรือมีอาการเวียนหัวขณะหันหน้า แหงนหน้า บิด เอี้ยว หรือเงยหน้าไปทางด้านใดด้านหนึ่ง หรือขณะเปลี่ยนอิริยาบถเร็วๆ เช่น ลุกจากที่นั่งแบบปุบปับ ล้มตัวลงนอนเร็วๆ ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก

 

การรักษา: ส่วนใหญ่แล้ว แพทย์จะซักประวัติและตรวจร่างกายโดยละเอียด แนวทางเริ่มต้นคือหลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวของกระดูกคอ ทำกายภาพบำบัด และกินยาลดการอักเสบและแก้ปวด บางรายอาจต้องผ่าตัดเชื่อมกระดูกคอปล้องที่เสื่อม

 

4.โรคทางสมองส่วนกลาง

อาการ: มักเวียนหัวเกือบตลอดเวลาโดยไม่สัมพันธ์กับการเคลื่อนไหวของศีรษะ มักพบอาการทางสมองส่วนกลางอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ปวดหัว แขนขาอ่อนแรงซีกหนึ่ง เดินเซ และบางครั้งอาจเกี่ยวกับเนื้องอกที่เกี่ยวกับประสาทการทรงตัวลุกลาม

 

การรักษา: ส่วนใหญ่แล้ว แพทย์จะทำการตรวจ MRI เมื่อผู้ป่วยมีอาการดังกล่าว เพื่อวินิจัยโรคทางสมองและทำการรักษาต่อไป

Advertisements

Advertisements

Advertisements