ปวดท้องเมนส์ หรือท้องเสีย? คลายสงสัย ท้องเสียช่วงมีประจำเดือน

ปวดประจำเดือน (Menstrual Cramps) เป็นกลุ่มอาการปวดเกร็งบริเวณท้องน้อย มักเกิดขึ้นก่อนเป็นประจำเดือนและระหว่างเป็นประจำเดือน ความรุนแรงของการปวดแล้วแต่บุคคล มีตั้งแต่ระดับอ่อนๆ สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ไปจนถึงระดับรุนแรงชนิดที่ไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้

UndubZapp ขอชวนสาวๆ มาคลายสงสัย ทำไมปวดท้องเมนส์แล้วจึงท้องเสีย สาวๆ คนไหนกำลังสงสัยว่าตัวเองผิดปกติที่มีดังกล่าวหรือไม่ ตามเราไปทำความเข้าใจกลุ่มอาการปวดท้องประจำเดือนกันเลยค่ะ

 

ทําไมปวดท้องประจําเดือน?

อาการปวดประจำเดือนเกิดจากสาร โพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin) สารชนิดหนึ่งซึ่งก่อตัวขึ้นบริเวณเยื่อบุโพรงมดลูกระหว่างมีประจำเดือน สารชนิดนี้ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมน ทำให้กล้ามเนื้อหดเกร็งหรือบีบตัวคล้ายกับอาการปวดเกร็งขณะคลอดบุตร

อาจกล่าวได้ว่า ยิ่งร่างกายหลั่งสารโพรสตาแกลนดินออกมามากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งส่งผลให้มีโอกาสปวดประจำเดือนมากขึ้นเท่านั้น อาการอื่นๆ เช่น ปวดหัว ปวดหลังช่วงล่าง ท้องเสีย ท้องผูก ท้องอืด คลื่นไส้ ก็ขึ้นอยู่กับการหลั่งสารโพรสตาแกลนดินเช่นกัน

 

 

ทําไมมีประจําเดือนแล้วท้องเสีย?

Advertisements

ดังที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่า อาการปวดประจำเดือนเกิดจากการที่ร่างกายผลิตสารโพรสตาแกลนดินมากเกินไป ส่งผลให้มดลูกและลำไส้หดตัว ทั้งยังมีส่วนทำให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนและเซโรโทนินเพิ่มขึ้น และยังส่งผลให้การทำงานของระบบทางเดินอาหารแปรปรวน จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมผู้หญิงบางคนถึงมีอาการท้องผูกหรือท้องเสียช่วงก่อนและระหว่างมีประจำเดือน

 

 

สำหรับผู้หญิงบางคนอาจจะมีอาการปวดหน่วง แยกไม่ออกระหว่างปวดประจำเดือนกับท้องเสีย จึงต้องเข้าห้องน้ำไปสำรวจตัวเองบ่อยๆ นั่นก็เป็นสาเหตุมาจากสารโพรสตาแกลนดินเช่นกัน เพราะสารโพรสตาแกลนดินเข้าไปกระตุ้นให้มดลูกบีบตัว เพื่อให้เยื่อบุโพรงมดลูกหลุดออกเป็นประจำเดือน

 

ซึ่งกระบวนการกระตุ้นของสารโพรสตาแกลนดินนี้ มักจะเข้าไปรบกวนการทำงานของลำไส้ ทำให้ผู้หญิงบางคนปวดท้องเหมือนจะท้องเสียร่วมกับปวดประจำเดือน แต่ความจริงแล้วก็อาจจะไม่ได้ท้องเสียแต่อย่างใด

 

วิธีแก้ปวดท้องประจําเดือนโดยไม่พึ่งยา

 

  • ใช้กระเป๋าน้ำร้อนประคบบริเวณท้องน้อยและหลังช่วงล่าง เพื่อผ่อนคลายความตึงของกล้ามเนื้อ
  • ทำจิตใจให้ผ่อนคลายด้วยการนั่งสมาธิ เล่นโยคะ วิ่งเหยาะๆ หรือออกกำลังกายแบบแอโรคบิค
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ละเว้นการทานอาหารขยะและงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • เน้นทานอาหารแคลเซียมสูงช่วงมีประจำเดือน เป็นการเติมแคลเซียมที่สูญเสียไป
  • พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการนอนดึก พยายามเข้านอนก่อนเวลาห้าทุ่มถ้าเป็นไปได้
  • ฝังเข็มบรรเทาอาการปวดประจำเดือน กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ปรับฮอร์โมนเพศให้สมดุล

 

Advertisements

Advertisements

Advertisements