ฟังเพลงดัง ระวังสมองเสื่อมก่อนวัย! 5 อันดับพฤติกรรมทำลายสมอง

หากจะพูดว่า “สมอง” คือหนึ่งในอวัยวะที่สำคัญที่สุดของร่างกายก็คงไม่ผิดนัก เพราะนอกจากสมองจะเป็นอวัยวะที่มีหน้าที่ควบคุมพฤติกรรม การเคลื่อนไหว อารมณ์และความสามารถในการเรียนรู้แล้ว สมองยังเป็นศูนย์กลางในการควบคุมระบบประสาทอัตโนมัติซึ่งส่งผลต่อการทำงานของร่างกาย จึงถือเป็นเรื่องน่ากลัวสำหรับผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมที่จะมีความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองลดลง ความจำเสื่อมขี้หลงขี้ลืม และอาจมีพฤติกรรมบางอย่างที่เปลี่ยนไป ซึ่งโดยปกติแล้วอาการเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุวัย 75 ปีขึ้นไป อย่างไรก็ตาม คนหนุ่มคนสาวก็อย่าเพิ่งชะล่าใจไปค่ะ เพราะพฤติกรรมการใช้ชีวิตแบบผิดๆ ก็อาจกลายเป็นปัจจัยเร่งที่ทำให้เราเป็นโรคสมองฝ่อก่อนวัยได้เช่นกัน โดยเฉพาะ 5 อันดับพฤติกรรมร้ายทำลายเซลล์สมอง ที่ถือเป็นสาหตุสำคัญของโรคสมองเสื่อมได้ก่อนวัยอันควรนั้น จะมีพฤติกรรมใดเป็นอันตรายต่อสมองได้บ้าง ตาม UndubZapp ไปดูกันค่ะ

 

5. เหตุเกิดจากความเหงา

ความเหงาถือเป็นภัยเงียบที่มีพลังร้ายกาจ เพราะหลายคนอาจไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าตนเองกำลังเผชิญกับความเหงาที่สามารถนำพาไปสู่ภาวะเครียดและส่งผลต่อสมองได้ โดยการเป็นคนมีเพื่อนมากหรือน้อยนั้น ก็ไม่ได้ถือเป็นข้อพิสูจน์ว่าคุณจะไม่เหงาค่ะ แต่ขึ้นอยู่กับคุณภาพของความสัมพันธ์เสียมากกว่า เพราะการมีเพื่อนที่รู้จักกันเพียงผิวเผินนั้น จะไม่สามารถช่วยเหลือหรือให้คำปรึกษาคุณในยามที่ต้องการได้ อย่างไรก็ตาม ข้อพิสูจน์นี้ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะกลายเป็นโรคสมองเสื่อมได้หากไม่มีเพื่อนค่ะ เพราะมนุษย์เรายังมีอีกหลายหนทางที่สามารถช่วยคลายความเหงาได้ อย่างกิจกรรมงานอดิเรกต่างๆ ที่ส่งผลดีต่อสมองและอารมณ์ รวมทั้งการปรึกษาจิตแพทย์ก็ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สามารถให้คำปรึกษาที่ดีได้เช่นกัน

 

4. ฟังเสียงดังเกินไป

สภาวะเสียงที่ส่งผลดีต่อคลื่นสมองนั้น คือคลื่นเสียงที่มีความสงบและให้ความผ่อนคลาย อย่างเสียงของธรรมชาติหรือเสียงนกร้อง เป็นต้น แต่ในทางตรงกันข้าม เสียงดังอึกทึกหรือระดับเสียงที่สูงจนเป็นอันตรายนั้น ก็อาจส่งผลเสียต่อคลื่นสมองและการรับรู้ได้เช่นกัน โดยมีงานวิจัยพบว่า การฟังเสียงในระดับที่เป็นอันตรายต่อหูอยู่เป็นประจำนั้น มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคสมองเสื่อมเพิ่มขึ้น 30 – 40% ซึ่งนั่นรวมถึงผู้ที่ชอบฟังเพลงดังๆ หรือชอบใส่หูฟังเป็นประจำ ก็ต้องระมัดระวังไม่ลืมที่จะควบคุมความดังให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมด้วยค่ะ

 

3. อดหลับอดนอน

สำหรับใครที่เคยอดหลับอดนอนเพื่อโหมงานหนักหรือเพื่ออ่านหนังสือสอบนั้น จะรู้ดีว่า ภาวะการนอนไม่พอจะยิ่งทำให้ความสามารถในการเรียนรู้แย่ลง สมาธิลดลง แถมยังมีความจำที่แย่ลงด้วย แม้จะเป็นอาการที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเวลาที่ร่างกายอ่อนเพลีย แต่หากใครที่มีพฤติกรรมอดนอนอยู่เป็นประจำนั้น ขอเตือนก่อนเลยว่า นี่เป็นพฤติกรรมร้ายอันดับ 3 ที่อาจส่งผลต่อสมองของคุณแบบถาวรได้ค่ะ เพราะสมองของเราก็คล้ายกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องหยุดพักหลังจากการทำงานติดต่อกันทั้งวัน หากคอมพิวเตอร์เครื่องไหนที่เปิดใช้งานทั้งวันทั้งคืนก็มักจะเครื่องรวมและมีโอกาสเสียเร็วขึ้น แต่เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นหากเสียก็ยังหาทางซ่อมได้ไม่ยาก ขณะที่สมองเรานั้นซ่อมไม่ง่าย และอาจซ่อมไม่ได้ด้วยค่ะ

Advertisements

 

2. กินเค็มเกินไป

เรียกได้ว่าเป็นภัยร้ายต่อสมองอันดับ 2 ที่หลายคนมองข้าม แต่การบริโภคเกลือจนเกินพอดีอยู่เป็นประจำนั้น ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่อาจส่งผลให้เป็นโรคความดันโลหิตสูงได้ โดยเฉพาะพฤติกรรมบริโภคของคนรุ่นใหม่ที่มักทานอาหารรสจัด และติดเค็มกันโดยไม่รู้ตัว ซึ่งภาวะความดันสูงนี้ก็ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่เสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง และโรคนี้ถือเป็นโรคที่อันตรายต่อสมองอย่างมาก ชนิดที่อาจทำให้เป็นอัมพาตหรือถึงขั้นเสียชีวิตได้ค่ะ

 

1. กินมากเกินไป

ไม่เพียงแค่การทานเค็มเกินไป แต่ปัจจัยอันดับ 1 ที่ส่งผลให้คนรุ่นใหม่มีภาวะสมองเสื่อมเพิ่มขึ้นนั้น มาจากพฤติกรรมการบริโภคมากเกินไปด้วย แม้ว่ากระแสความเฮลตี้จะค่อนข้างมาแรงในปัจจุบัน แต่ความครีเอทของเมนูใหม่ๆ ที่อุดมไปด้วยความหวาน มัน เค็มนั้น ก็สามารถดึงดูดใจได้อย่างรุนแรงไม่แพ้กัน ซึ่งการเกินมากเกินไปนี้ไม่ได้ส่งผลเสียงเพียงแค่โรคอ้วนที่ทุกคนตระหนักกันเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อสมองอีกด้วย โดยมีงานวิจัยพบว่า ผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานจะมีความเสี่ยงเป็นโรคสมองเสื่อมสูงกว่าคนทั่วไปถึง 22% เลยทีเดียว

กดติดตาม ADD Line @UndubZapp

 

Advertisements

Advertisements

Advertisements