การทำรากฟันเทียม ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ทดแทนรากฟันธรรมชาติที่เสียไปไม่ว่าจะเป็นจำนวนซี่เดียว หรือมากกว่านั้น ด้วยการใช้โลหะไทเทเนียมในการทำรากฟันเทียม เพื่อยึดติดกับขากรรไกรของคนไข้ในตำแหน่งที่เสียฟันธรรมชาติไป สำหรับคนที่กำลังพบเจอปัญหาเกี่ยวกับการใส่ฟันปลอม หรือกำลังมองหาวิธีอื่น ๆ ที่ไม่ใช่การใส่ฟันปลอมทดแทนฟันที่สูญเสียไปแล้วล่ะก็ ลองดูข้อมูลกันก่อน แล้วค่อยตัดสินใจอีกครั้งว่าจะทำดีหรือไม่
รากฟันเทียมคืออะไร?
คือรากฟันที่ผลิตจากไทเทเนียม ซึ่งถูกวิจัยมาอย่างยาวนาน และสรุปผลได้ว่าไทเทเนียมสามารถเข้ากับร่างกายของมนุษย์ได้ดี จะทำให้กระดูกในร่างกายยึดจับโลหะได้แน่นหนา ไม่มีการต่อต้านจากร่างกาย ทำให้ปัจจุบันนี้ การทำรากฟันเทียมกลายมาเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกยอดฮิตสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการใส่ฟันปลอมนั่นเอง
การทำรากฟันเทียมเหมาะกับใคร และมีข้อจำกัดอะไรบ้าง?
เหมาะกับผู้ที่สูญเสียฟันแท้ หรือฟันที่ไม่แข็งแรง และผู้ที่ต้องการเพิ่มความมั่นใจให้ตัวเองด้วยฟันที่มีความสวยงาม แข็งแรงคงทน แต่ก็มีข้อจำกัดต่าง ๆ เช่นกัน ได้แก่
Advertisements
- ผู้ตั้งครรภ์ ควรทำหลังจากคลอดแล้ว
- ผู้มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น ผู้ช่วยที่ต้องรับการฉายรังสีบริเวณใบหน้าและขากรรไกร, ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ที่สูบบุหรี่ และผู้ป่วยที่มีอาการไขข้ออักเสบอย่างรุนแรง เป็นต้น
- ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี เนื่องจากกระดูกส่วนขากรรไกรยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่
- ผู้ป่วยจิตเภต ผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อได้ และผู้ช่วยที่ไม่สามารถดูแลรักษาสุขภาพช่องปากได้เอง
- หากสูญเสียฟันซี่ดังกล่าวไปเป็นเวลานานแล้ว อาจจะทำไม่ได้ ต้องเข้ารับการตรวจอย่างละเอียดเพื่อประเมินอาการจากทันตแพทย์ก่อน
ข้อดีในการทำรากฟันเทียม
- มีลักษณะคล้ายฟันธรรมชาติมาก
- ไม่ต้องอาศัยฟันซี่ข้าง ๆ เพื่อทำการยึดเกาะ
- มีความคงทน
- สามารถบดเคี้ยวได้ดี
- ไม่มีปัญหาเรื่องการออกเสียง
ข้อเสียในการทำรากฟันเทียม
- ค่าใช้จ่ายต่อซี่ค่อนข้างแพง
- หากเปรียบเทียบกับฟันปลอมแบบติดแน่นแล้ว อาจจะทำให้มีความสวยงามได้ยากกว่า
- เป็นการผ่าตัด จึงอาจจะทำให้หลาย ๆ คนรู้สึกกังวล
- ใช้เวลาอย่างน้อย 4-6 เดือนในการทำรากเทียม รวมถึงการติดตามอาการหลังการผ่าตัด
ประเภทของรากฟันเทียม
- การฝังรากเทียมแบบทันที (One Day Implants)
ทำการฝังรากเทียมหลังจากถอนฟันออกได้ทันที เหมาะกับคนไข้ที่มีกระดูกขากรรไกรที่ดี - การฝังรากเทียมแบบพร้อมครอบฟันทันที
วิธีนี้จะใส่ครอบฟันหรือสะพานฟันลงบนรากฟันเทียม สามารถทำได้กับทั้งผู้ป่วยที่ฝังรากเทียมทันที และผู้ป่วยที่ฝังรากเทียมทั่วไปได้ เหมาะกับคนไข้ที่มีกระดูกขากรรไกรที่ดี
ค่าใช้จ่ายในการฝังรากฟันเทียม
ค่าใช้จ่ายขึ้นอยู่กับวัสดุ และวิธีที่เลือกใช้ ซึ่งต้องปรึกษากับทันตแพทย์อีกครั้งเกี่ยวกับอาการและเพื่อประเมินความพร้อมของคนไข้ โดยราคามีตั้งแต่หลักหมื่นบาทต่อซี่ ไปจนถึงหลักแสน แต่ราคาทั่ว ๆ ไปที่พบเห็นได้คือประมาณ 35,000 – 45,000 บาทต่อซี่
Advertisements