เครื่องดื่มวิตามินซี หรือวิตามินซีในรูปของของเหลว ที่มีทั้งเป็นแบบน้ำดื่มผสมวิตามินซีพร้อมดื่ม แบบเจลลี่ หรือวิตามินซีแบบผงชงดื่ม กลายเป็นทางเลือกในการดูแลสุขภาพในยุคที่ใครๆ ทั้งหวงและห่วงสุขภาพตัวเอง ด้วยภาพลักษณ์ที่สื่อสารไปยังผู้บริโภคเห็นถึงความสำคัญ และประโยชน์ของวิตามินซี ในฐานะวิตามินสามัญประจำบ้านที่ทานได้ทุกวัน ให้ประโยชน์ทั้งเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย ป้องกันหวัด ภูมิแพ้ ต้านอนุมูลอิสระ นอกจากนี้ยังมีส่วนสำคัญในการสร้างคอลลาเจน และซ่อมแซมเนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกาย ราคาจับต้องได้ รสชาติอร่อย หาซื้อง่าย ดื่ม สะดวก โดยเฉพาะวิตามินซีแบบผงชงดื่ม และเครื่องดื่มวิตามินซี ที่ต่างก็ชูจุดเด่นเน้นจุดขายว่าให้ปริมาณวิตามินซีสูง จนทำให้ อันดับแซ่บ สนใจขอหยิบมารีวิวให้ดูกัน
แต่ก่อนที่จะไปรีวิวเครื่องดื่มวิตามินซี หรือวิตามินซีแบบผงชงดื่ม แบบจัดเต็ม 8 แบรนด์ดัง เราอยากให้ลองทำความรู้จัก เครื่องดื่มวิตามิน กับ วิตามินซีแบบผงชงดื่มกันก่อน ว่าทั้งสองแบบแตกต่างกันอย่างไร
พร้อมดื่ม VS ชงดื่ม
เริ่มกันที่รูปลักษณ์ภายนอกก่อน สำหรับเครื่องดื่มวิตามินซีจะมาในรูปของน้ำผสมวิตามินซีพร้อมดื่ม แค่เปิดขวดดื่มก็ได้รับความสดชื่นแล้ว เรียกว่าอยากจะสดชื่นที่ไหนก็สะดวก ส่วนวิตามินซีแบบผงชงดื่ม จะมาในรูปแบบผงละเอียด สามารถชงดื่มกับน้ำเย็น น้ำผลไม้ ได้เลย ซองบรรจุภัณฑ์พกพาสะดวก ชงดื่มที่ไหนก็ได้ และเก็บรักษาได้นาน
วิตามินซีสูง
“วิตามินซี 200%” คืออะไร เครื่องดื่มวิตามินซีทุกแบรนด์ในท้องตลาดตอนนี้ มักจะใช้คำว่า ปริมาณวิตามินซี 200% มาเป็นจุดขาย เมื่อหาข้อมูลเพิ่มก็พบว่า “Thai RDI” หรือปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวันสำหรับคนไทย (อายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป) คือ 60 มก/วัน (ที่มา: Thai RDI – กระทรวงสาธารณสุข https://bit.ly/3kfuVGC) แต่หากต้องการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงขึ้นเพื่อรับมือกับโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ได้ ปริมาณวิตามินซีที่แนะนำจะอยู่ที่ 1,000 มก. ขึ้นไป
กลับมาที่ฉลากข้างขวดเครื่องดื่มวิตามินกันบ้างพบว่า ปริมาณวิตามินซีที่ใส่มา คือ 120 มก.เท่ากับว่า ปริมาณที่ใส่ในเครื่องดื่มวิตามินซี สูงกว่าปริมาณที่แนะนำต่อวัน ถึง 200%
ในขณะที่วิตามินซีแบบผงชงดื่ม ซึ่งให้ปริมาณวิตามินซี ที่ 1,000 มก. มาพร้อมกับเพิ่มสารไบโอฟลาโวนอยด์ ที่นอกจากจะช่วยเพิ่มการดูดซึมวิตามินซีได้ และยังช่วยให้วิตามินซีอยู่ในร่างกายได้นานขึ้น นอกจากนี้ที่สำคัญข้อดีของวิตามินซีแบบผงชงดื่ม คือ ไม่ใส่น้ำตาลทราย และไม่ให้แคลอรี่ ไม่ต้องกังวลว่าจะส่งผลต่อสุขภาพ หรือน้ำหนักเพิ่มจากการรับประทานเป็นประจำ
มีอะไรอยู่ในเครื่องดื่มวิตามินซี
เครื่องดื่มวิตามิน ใน 1 ขวด จะประกอบด้วย
- วิตามินซี 100-120 มิลลิกรัม
- น้ำตาลทราย 10-15 กรัม
- น้ำเลมอนหรือน้ำส้มเข้มข้น เพื่อปรับรสชาติให้เปรี้ยวน้อยลง
- สารทดแทนให้ความหวานเพื่อปรับรสชาติให้เปรี้ยวน้อยลง (บางยี่ห้อ)
- สารควบคุมความเป็นกรด-ด่าง (บางยี่ห้อ)
- แต่งสี แต่งกลิ่นธรรมชาติ และวัตถุจือปนอาหาร (บางยี่ห้อ)
- วัตถุกันเสีย ซึ่งไม่ต้องห่วง เพราะปริมาณวัตถุกันเสียที่แต่ละแบรนด์ใส่มานั้นถือว่าน้อยมากและปลอดภัย ผ่านการรับรองจาก อย. มาแล้ว ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย และร่างกายสามารถขับออกได้ (ที่มา https://bit.ly/2FMAnSk ) (บางยี่ห้อ)
ส่วนวิตามินซีแบบผงชงดื่ม ใน 1 ซอง จะประกอบไปด้วย วิตามินซีชนิดแคลเซียมแอสคอเบท 1,000 มก. ซึ่งข้อดีของวิตามินซีรูปแบบนี้คือไม่มีความเป็นกรด จึงไม่ระคายเคืองกระเพาะ และเพิ่มเติมด้วยสารไบโอฟลาโวนอยด์ที่ช่วยเพิ่มความสามารถในการดูดซึมวิตามินซีได้ดีขึ้นด้วย
ไบโอฟลาโวนอยด์
สารไบโอฟลาโวนอยด์ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่สามารถช่วยเพิ่มการดูดซึมของวิตามินซีได้ โดยทำหน้าที่เพิ่มความแข็งแรงให้กับเส้นเลือดฝอย ช่วยให้เส้นเลือดฝอยทำหน้าที่ดูดซึมสารอาหารต่างๆ ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นถึง 35% ตามงานวิจัย ซึ่งสามารถช่วยลดข้อจำกัดของวิตามินซีที่จำกัดปริมาณในการดูดซึมได้อย่างดี
สำหรับเครื่องดื่มวิตามินซี ยังไม่พบว่ามีแบรนด์ไหนใส่สารไบโอฟลาโวนอยด์ลงไปใน ส่วนวิตามินซีแบบผงชงดื่ม ใส่สารไบโอฟลาโวนอยด์เป็นส่วนประกอบสำคัญรวมกับวิตามินซี
บรรจุภัณฑ์
วิตามินซีนั้นอ่อนแอกว่าที่เราคิด สลายตัวได้ง่ายเมื่อโดนแสงแดด ความร้อน ความชื้น บรรจุภัณฑ์ที่ใช้จำเป็นต้องสามารถปกป้องแสงแดด ความร้อน ความชื้น เพื่อให้วิตามินซียังคงสภาพอยู่ได้ในระหว่างที่ยังไม่ถึงมือผู้บริโภค ซึ่งการใช้บรรจุภัณฑ์ทึบแสงที่สามารถช่วยกันแสงแดด ได้ 100 % ก็เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ดูสมเหตุสมผลกับเรื่องนี้
ในกลุ่มของเครื่องดื่มวิตามินซี ส่วนใหญ่ใช้ขวดแก้วแบบใส (บางแบรนด์ที่มาพร้อมเทคโนโลยี่ที่ชูเรื่องการรักษาคุณภาพวิตามินซี) จะมีบางแบรนด์เท่านั้นที่ใช้ขวดแก้วสี แต่หากขวดแก้วอยู่ในพื้นที่ที่มีการควบคุมอุณหภูมิอย่างดี การสลายตัวของวิตามินซีในเครื่องดื่มเหล่านี้ก็อาจลดลง
ส่วนวิตามินซีแบบผงชงดื่ม บรรจุภัณฑ์เป็นซองทึบแสง ดังนั้นแสงแดดจึงไม่สามารถส่องผ่านบรรจุภัณฑ์ได้ แต่หากเก็บรักษาไม่ดี เช่น วางไว้ในที่ที่มีความร้อน หรือแดดจัด วิตามินซีในซองก็อาจจะสลายตัวได้เช่นกัน
มาตรฐานการผลิต ความปลอดภัย
เรื่องของมาตรฐานการผลิตเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งมาตรฐานการผลิตนี้จะต้องมีการควบคุมและผ่านมาตรฐานของ อย. อยู่แล้ว ดังนั้น เรื่องมาตรฐานการผลิต ความปลอดภัย ทั้งเครื่องดื่มวิตามินหรือวิตามินแบบผงชงดื่ม ก็สบายใจได้ หากจะมีแบรนด์ใดเลือกใช้การผลิตมาตรฐานการผลิตที่สูงกว่า เช่น มาตรฐานการผลิตเดียวกับยา ก็เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคได้ว่า มาตรฐานการผลิตนั้นปลอดภัยเทียบเท่าการผลิตยานั่นเอง
ความคุ้มค่า
เครื่องดื่มวิตามินซี 1 ขวด ราคาเฉลี่ยแล้ว อยู่ที่ 15-18 บาท กับปริมาณวิตามินซีที่ได้รับ 120 มก./ขวด ในขณะที่วิตามินซีแบบผงชงดื่ม จำหน่ายเป็นกล่องๆ ละ 30 ซอง เฉลี่ยแล้วราคาต่อซอง จะอยู่ที่ 22 บาท (อ้างอิงจากราคาข้างกล่อง) กับปริมาณวิตามินซี ที่ 1,000 มก. ต่อซอง หรือคำนวณง่ายๆ ก็เทียบเท่าเครื่องดื่มวิตามินซี 8 ขวด (15×8 =120 บาท) นั่นเอง
อ่านมาถึงตรงนี้แล้วก็พอจะเห็นความแตกต่างระหว่างเครื่องดื่มวิตามินซี และวิตามินซีแบบผงชงดื่มกันแล้วว่า ถึงแม้ว่าจะเป็นของเหลวเข้าสู่ร่างกายแต่ก็มีหลายจุดที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความตั้งใจของเราว่าต้องการวิตามินซีไปเพื่อแค่เติมให้เต็มตามความจำเป็นของร่างกาย หรือหวังผลไปถึงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ
รีวิว 8 วิตามินซีแบรนด์ดัง แบบพร้อมดื่ม แบบผงชงดื่มและแบบเจลลี่
ทีนี้…..ก็มาถึงไฮไลต์ การรีวิววิตามินซีที่ไม่ได้อยู่ในรูปของเม็ดกันบ้าง ข้อดีของวิตามินซีแบบเครื่องดื่มก็คือ พกพาสะดวก หาซื้อง่าย ราคาจับต้องได้ ที่สำคัญสามารถนำไปผสมกับเครื่องดื่มที่ต้องการได้อีกด้วย มาดูกันว่า 8 เครื่องดื่มวิตามินซีมีแบรนด์ไหนบ้าง ใช่แบรนด์ที่คุณชื่นชอบหรือเปล่า แล้วแต่ละแบรนด์มีความน่าสนใจตรงไหน มารีวิวกันเลย
1.NAT-C ESTER
สำหรับ NAT-C ESTER มาในรูปแบบผงชงดื่มที่ให้ปริมาณวิตามินซีสูงกว่าแบรนด์อื่นๆ เพราะให้ปริมาณวิตามินซี 1,000 มก. และที่ภาษีดีกว่าแบรนด์อื่นๆ คือมีไบโอฟลาโวนอยด์สูงถึง 71 มก. ซึ่งเป็นสารจากธรรมชาติที่ช่วยเรื่องการดูดซึมวิตามินซีเข้าสู่ร่างกายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ที่ดูจะแตกต่างจากวิตามินซีแบบเครื่องดื่มเจ้าอื่นๆ ก็ตรงที่ NAT-C ESTER เขาผลิตภายใต้มาตรฐานยา เรื่องคุณภาพ ความปลอดภัย เรียกว่าสบายใจได้เลย
มาถึงเรื่องรสชาติ ได้รสส้ม กลมกล่อม ดื่มง่าย หรือจะนำไปผสมเครื่องดื่มที่ชอบก็ได้ตามอัธยาศัย เหมาะมากกับคนที่ต้องการดูแลสุขภาพ ไม่อยากป่วย ซึ่งวิตามินแบบชงนี้ตอบโจทย์คนที่ไม่ชอบกินวิตามินซีในรูปของเม็ด เด็ก ผู้สูงอายุที่เริ่มมีปัญหาเรื่องการกลืน จุดเด่นวิตามินซียี่ห้อนี้จะไม่มีความเป็นกรดเลย ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคกระเพาะ กรดไหลย้อน แนะนำรับประทานในรูปแบบนี้ แถมยังมีประโยชน์มากมาย เช่น เสริมภูมิคุ้มกัน ช่วยให้ร่างกายแข็งแรงมากขึ้น และไฮไลต์คือ ทำให้ผิวใส ไม่โทรมอีกด้วย
ส่วนประกอบสำคัญ: แคลเซียม แอสคอเบท 1,000 มก. , เลมอน ไบโอฟลาโวนอยด์ 71.45 มก.
ปริมาณวิตามินซี: 1,000 มก.
รสชาติ-กลิ่น: กลิ่นส้มอ่อน ๆ ดื่มง่าย กลมกล่อม (น้ำจะมีตะกอนเล็กๆ ไม่ต้องตกใจ สามารถดื่มได้ เพราะนั่นคือ ไบโอฟลาโวนอยด์ พอพลิกซองอ่านส่วนประกอบสำคัญจะเห็นว่า NAT-C ESTER ใส่ ไบโอฟลาโวนอยด์มากถึง 71.45 มก. เลยทีเดียว)
บรรจุภัณฑ์: แบบซองทึบ กันแสง และความชื้น บรรจุในกล่อง 30 ซอง
ราคา: ราคาข้างกล่อง 660 บาท มี 30 ซอง
จุดเด่น ให้วิตามินซีสูงถึง 1,000 มก. ต่อซอง มีไบโอฟลาโวนอยด์ที่ช่วยเรื่องการดูดซึมวิตามินซีได้ดีขึ้น
จุดด้อย ราคาสูงกว่าแบรนด์อื่นๆ แต่ถ้าเทียบความคุ้มค่าต่อหน่วยแล้ว ราคาไม่ต่างจากแบรนด์อื่นๆ เลย แถมได้ปริมาณวิตามินซีสูง 1,000 มก.
2.C-vitt
จับจองพื้นที่บนเชลฟ์ในร้านสะดวกซื้อไปอีกแบรนด์หนึ่ง สำหรับแบรนด์ชื่อคุ้นหูกันอย่าง C-vitt เครื่องดื่มวิตามินซีที่มีให้เลือกหลากรสชาติ ใครชอบรสไหนก็แล้วแต่ความชอบ กินไปได้ทั้งประโยชน์แถมอร่อยด้วย แถมยังเพิ่มทางเลือกสำหรับคนที่ควบคุมน้ำตาลด้วยสูตรน้ำตาลน้อย ก็ไม่น่าแปลกใจที่ใครหลาย ๆ คนจะติดใจวิตามินตัวนี้
ส่วนผสมบนฉลาก: น้ำเลมอน 6%, น้ำตาล 4.7%, วิตามินซี 0.08% วัตถุกันเสีย, วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล
ปริมาณวิตามินซี: วิตามินซี 120 มก. (0.08%)
รสชาติ-กลิ่น: ได้รสเลมอนเข้มข้น เปรี้ยมอมหวาน
บรรจุภัณฑ์: ขวดใส ผลิตด้วยเทคโนโลยีจากประเทศญี่ปุ่น ที่ช่วยรักษาคุณภาพวิตามินซี ภายใต้อายุุสินค้า 1 ปี
ราคา: 15 บาท
จุดเด่น: รสชาติอร่อยถูกใจคนชอบความเปรี้ยวแบบเลมอน
จุดด้อย: ปริมาณน้ำตาลสูงกว่าแบรนด์อื่น
3.C-vit jelly
ต้องบอกเลยว่า เป็นเจลลี่วิตามินซีเพื่อสุขภาพที่ได้รับความนิยมในกลุ่มสาวๆ ไม่น้อย ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกใหม่ของการกินวิตามินซีก็ว่าได้ สามารถกินได้ทุกที่ ทุกเวลา ให้ความสดชื่น ที่สำคัญคลายหิวระหว่างวันได้อีกด้วย
ส่วนผสมบนฉลาก: น้ำส้มจากน้ำส้มเข้มข้น 10%, น้ำตาล 2.7%, วิตามินซี 0.08%, สีธรรมชาติ, วัตถุเจือปนอาหาร,วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล ,วัตถุกันเสีย, แต่งกลิ่นเลียนธรรมชาติ
ปริมาณวิตามินซี: วิตามินซี 120 มก.
รสชาติ-กลิ่น: มีทั้งกลิ่นเลมอน และส้ม
บรรจุภัณฑ์: แบบซองพลาสติกทึบแสง
ราคา: 18 บาท
Advertisements
จุดเด่น ให้ความสดชื่นและใช้คลายหิว รองท้องระหว่างวันได้
จุดด้อย ต้องแช่เย็นถึงจะอร่อย
4.VitADay
เป็นเครื่องดื่มวิตามินซีแถวหน้าอีกแบรนด์หนึ่ง สำหรับ VitADay นั้น มาจาก Vitamin + Everyday เป็นเครื่องดื่มในรูปแบบของวิตามินอัดแน่นที่ไม่ต้องซื้อแบบเม็ดมาตุนไว้ ก็สามารถทำให้คุณได้สัมผัสความสดชื่นและวิตามินซีได้ทุกวัน ด้วยความที่รสชาติอร่อยถูกปากคนไทย กลมกล่อม ดื่มง่าย เลยกลายเป็นเครื่องดื่มวิตามินซีที่คนนิยมกัน
ส่วนผสมบนฉลาก: น้ำส้มจากน้ำส้มเข้มข้น 20%, น้ำตาล 3.4%, วิตามินซี 0.08%, สารทำให้คงตัว วัตถุกันเสีย, สีธรรมชาติ
ปริมาณวิตามินซี: 120 มก.
รสชาติ-กลิ่น: จิบแรกคือสดชื่น ได้รสเปรี้ยว หอมแบบเลม่อน
บรรจุภัณฑ์: ขวดแก้ว โดยมีความพิเศษตรงที่เป็นขวดที่บรรจุด้วยเทคโนโลยีการผลิตแบบ Cold Aseptic เป็นการบรรจุเย็นแบบปลอดเชื้อ ทำให้ไม่ต้องใส่สารกันบูดในเครื่องดื่ม และคงคุณค่าของวิตามินได้
ราคา: 15 บาท
จุดเด่น: สูตรน้ำตาลน้อย ชูจุดขายด้วย “วิตามินซีอังกฤษ” ที่เคลมว่า คุณภาพดีกว่าวิตามินซีทั่วไป 200% แถมมีใบรับรองการันตีคุณภาพวิตามินภายใต้ตรา Quali-C by DSM ผู้ผลิตยาและอาหารเสริม มาตรฐานระดับโลกด้วย
จุดด้อย: ขวดใส ทำให้แอบสงสัยว่าวิตามินซีจะสลายตัวไปมากน้อยแค่ไหน
5.C+lock
ถือเป็นน้องใหม่ของวงการเครื่องดื่มวิตามินซีก็ว่าได้สำหรับเครื่องดื่มวิตามินซีขวดสีเขียว อย่าง Woody C+ Lock ที่มาพร้อมกับคอนเซ็ปต์เก๋ ๆ C+ Lock ล็อคคุณค่าวิตามินซี 200% ที่มาพร้อมเทคโนโลยีการบรรจุจากญี่ปุ่นที่ว่ากันว่า ช่วงรักษาคุณภาพวิตามินซีไว้จนถึงมือผู้บริโภค
ส่วนผสมบนฉลาก: วิตามินซี 0.086%, น้ำตาล 5.4%, ซิงค์กลูโคเนท 0.03% สารสกัดจากโรสฮิป (ผลกุหลาบป่า), วัตถุเจือปนอาหาร, วัตถุกันเสีย, วัตถุกันเสีย, วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล, แต่งกลิ่นธรรมชาติ
ปริมาณวิตามินซี: วิตามินซี 120 มก. (0.086%)
รสชาติ-กลิ่น: อร่อย กลมกล่อม ออกแบบรสชาติได้ถูกปากคนไทย เปรี้ยวนิด หวานหน่อย
บรรจุภัณฑ์: ขวดแก้วสีเขียว
ราคา: 15 บาท
จุดเด่น ขวดแก้วสีเขียวที่ช่วยป้องกันการสลายตัวของวิตามินได้ดีกว่าขวดแก้วใส ฝาล็อค 2 ชั้น ป้องกันอากาศหรือเชื้อแบคทีเรียต่างๆ เข้าสู่ภายในขวดได้
จุดด้อย ปริมาณน้ำตาลสูง (5.4%)
6.QminC
เรียกว่าเป็นเครื่องดื่มวิตามินซีตัวล่าสุด ที่เปิดตัวได้ไม่นานมานี้ ชูคอนเซป เครื่องดื่มช่วยบำรุง ฟื้นฟูตับ ขับสารพิษ ช่วยให้ไขมันไม่ไปพอกในตับอีกด้วย มีสารสกัดขมิ้นชันที่มีส่วนช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันในร่างกาย ถึงแม้จะไม่ได้ชูจุดเด่นเรื่องปริมาณวิตามินซีสูง เหมือนแบรนด์อื่นๆ แต่ด้วยส่วนประกอบสำคัญอย่างขมิ้นชันก็ช่วยทำให้ใครหลายคนได้รู้ว่า ขมิ้นชัน สมุนไพรไทยๆ บ้านเราก็มีสรรพคุณด้านการควบคุมเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายแล้วไม่ให้แพร่กระจายได้ เรียกว่ามาแปลกและแตกต่างมากๆ
ส่วนผสมบนฉลาก: น้ำเลมอนจากเลมอนเข้มข้น 20%, เคอร์คิวมิน แอล-กลูต้าไธโอน, วิตามินบี 6 และบี 12
ปริมาณวิตามินซี: ระบุว่ามีวิตามินซี 200% แต่ไม่ได้ระบุปริมาณที่ชัดเจน
รสชาติ-กลิ่น: หวานอมเปรี้ยวแบบเลมอน รสเข้มข้น ให้ความรู้สึกสดชื่น
บรรจุภัณฑ์:ขวดแก้ว
ราคา: 25 บาท
จุดเด่น ชูเรื่องการเสริมภูมิคุ้มกันด้วยขมิ้นชัน สมุนไพรพื้นบ้านที่สามารถช่วยควบคุมจำนวนเชื้อโรคไม่ให้แพร่กระจายได้ และ แอล-กลูต้าไธโอนที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และระบุหน้าขวดว่าไม่ใส่สารกันเสีย เรียกว่าแตกต่างจากแบรนด์อื่นๆ
จุดด้อย ราคาสูงกว่าแบรนด์อื่นๆ พอสมควร
7.Hi!
สำหรับคนที่ชอบเครื่องดื่มวิตามินซีที่เน้นกินง่าย รสชาติอร่อย ไม่เปรี้ยวจนเกินไป น่าจะถูกใจแบรนด์นี้กัน Hi! Vitamin C รสชาติออกหวานนำ จิบแล้วสดชื่นแน่นอน ด้วยส่วนประกอบหลักเป็นน้ำองุ่นขาวเข้มข้นและน้ำเลมอน เรียกว่ารสชาติน่าจะถูกปากกัน หวาน เปรี้ยว กลมกล่อม
ส่วนประกอบสำคัญ: น้ำองุ่นขาวเข้มข้น 20%, น้ำเลมอนเข้มข้น 2%, วิตามินซี 0.077%, วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล (ไม่ระบุปริมาณน้ำตาลในฉลาก)
ปริมาณวิตามินซี: 120 มก.
รสชาติ-กลิ่น: หวานนำ มีอมเปรี้ยวบางๆ
บรรจุภัณฑ์:ขวดแก้วใส
ราคา: 15 บาท
จุดเด่น รสชาติอร่อย ดื่มง่าย
จุดด้อย บรรจุภัณฑ์เป็นขวดแก้วใสอาจมีผลกับคุณภาพของวิตามินซี เนื่องจากขวดแก้วใส ไม่สามารถป้องกันแสงแดดได้
8.Double C
สำหรับเครื่องดื่มวิตามินตัวนี้ บอกเลยว่าเก๋กู๊ดตรงที่ ดื่มง่าย นอกจากให้วิตามินซีแล้วยังช่วยเรื่องระบบขับถ่าย และช่วยดีท็อกซ์
ส่วนผสมบนฉลาก: น้ำเลมอนจากน้ำเลมอนเข้มข้น 5%, วิตามินซี 0.0857%, น้ำตาล 4%
ปริมาณวิตามินซี: ปริมาณวิตามินซี 120 มก.
รสชาติ-กลิ่น: รสชาติออกเปรี้ยวอมหวาน มีให้เลือกทั้งแบบรสส้มและเลมอน
บรรจุภัณฑ์:ขวดแก้วใส
ราคา: 15 บาท
จุดเด่น นอกจากชูจุดขายเรื่องวิตามินซีแล้ว ยังช่วยเรื่องระบบขับถ่ายด้วย สาวๆ ที่มีปัญหาเรื่องระบบขับถ่ายน่าจะถูกใจ
จุดด้อย ขวดแก้วใส ที่อาจทำให้วิตามินซีในขวดสลายตัวก่อนถึงมือผู้บริโภค ปริมาณน้ำตาลสูง
สุดท้ายนี้ จากที่เราได้รีวิววิตามินซีในรูปของเหลว ทั้งแบบเครื่องดื่มพร้อมดื่ม วิตามินซีแบบผงชงดื่ม หรือแบบเจลลี่ ทั้ง 8 แบรนด์แล้ว ต้องบอกว่าแต่ละแบรนด์มีจุดเด่น จุดแตกต่างกัน สิ่งที่เราได้เรียนรู้ก็คือ แม้ว่าการทานวิตามินซีไม่ว่าจะรูปแบบใดๆ ทั้งเพื่อการเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง หรือเพิ่มความสดชื่นให้กับร่างกาย แต่การดูแลตัวเองก็ยังคงเป็นสิ่งสำคัญ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม กินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างต่อเนื่อง พักผ่อนให้เพียงพอ เป็นพื้นฐานสำคัญที่จะช่วยให้ภูมิคุ้มกันของเราไม่อ่อนแอลง แล้วเลือกวิตามินซีปริมาณสูงมาเป็นตัวเสริมความแข็งแรงให้ภูมิคุ้มกันอีกทางน่าจะเป็นการดูแลสุขภาพที่ยั่งยืนกว่า เอาเป็นว่าใครถูกใจวิตามินซีแบรนด์ไหน ก็เลือกกันตามที่ชอบ ความคุ้มค่า ตรงกับความต้องการของตัวเองได้เลย
Reference :
1. Carr AC, Maggini S. Vitamin C and Immune Function. 2017; Nov:39(11).
2. Journal of Evidence-Based Complementary & Alternative Medicine, 16(1) 49-57
3. Maggini S et al.Nutrients 2017, 9, 339*British Journal of Nutrition (2007), 98, Suppl. 1, S29–S35
4. Vinson JA, Bose P. Comparative Bioavailability to Humans of Ascorbic Acid Alone or in Citrus Extract. American Journal of Clinical Nutrition · October 1988.
5. Straten MV. Prevent common cold with vitamin C supplement. Adv Ther. 2002 May-Jun;19(3):151-9.
6. Hemila H. Vitamin C and Infections. Department of Public Health, University of Helsinki. 2017; March,1-27.
7. Tongtako W et al. Effects of aerobic exercise and vitamin C supplementation on rhinitis symptoms in allergic rhinitis patients. Asian Pacific Journal of Allergy and Immunology.
8. Hemila H, Chalker E. Vitamin C for preventing and treating the common cold, The Cochrane Collaboration. Published by John Wiley & Sons. Department of Public Health, University of Helsinki.
9. Johnston, C.S. & Luo, B. Comparison of the absorption and excretion of three commercially available sources of vitamin C. Journal of the American Dietetic Association. 1994; volume 94: pages 779-781.
10. Douglas RM, Hemila H, Chalker E, Treacy B. Vitamin C for preventing and treating the common cold. Cochrane Database Syst Rev 2007; (3):CD000980.
11. Bioflavonoids. Available at : https://www.drugs.com/
Advertisements