ขยะอาหาร อย่ามองข้าม! 5 วิธีลดขยะอาหารในบ้าน กินอย่างไรลดโลกร้อน

ลองคิดดูเล่นๆ กันหน่อยดีกว่าว่า ถ้า 1% ของประชากรทั้งโลกทิ้งอาหารเหลือพร้อมๆ กันจะเกิดอะไรขึ้น? 🤔 ใช่แล้ว! ขยะกองโตมหาศาลจากอาหารเหลือยังไงล่ะ เชื่อหรือไม่ว่าขยะอาหาร (Food Waste) ที่เราทิ้งกันอยู่ทุกวันนี้มีส่วนทำให้โลกร้อนขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ เนื่องจากขยะอาหารที่ถูกฝังกลบหรือกองทับถมรวมกันนั้น จะคายก๊าซมีเทนออกมาระหว่างกระบวนการย่อยสลาย ซึ่งก๊าซมีเทนนี่แหละที่เป็นตัวการก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจก แล้วถ้าขยะอาหารเหล่านั้นถูกทิ้งไว้ในถุงหรือบรรจุภัณฑ์พลาสติกด้วย ก็ยิ่งเป็นตัวเร่งให้เกิดสภาวะโลกร้อนมากขึ้น

เมื่อต้นตอของปัญหามาจากอาหารที่เราบริโภคกันทุกวันนี้ Undubzapp ขอชวนคุณมารู้จักวิธีการลดปริมาณขยะอาหารที่สามารถทำได้ง๊ายง่าย เสียยิ่งกว่าปอกกล้วย จะมีวิธีใดบ้างนั้น เลื่อนลงไปเรียนรู้วิธีด้านล่างได้เลยค่ะ

 

1.วางแผนก่อนซื้อ

เริ่มต้นแก้ไขปัญหาขยะอาหารให้ตรงจุดด้วยการวางแผนก่อนซื้ออาหารทุกครั้ง ซื้อแต่พอกินพอใช้ ป้องกันอาหารเหลือเกินความต้องการที่จะบริโภค ลิสต์รายการวัตถุดิบที่จำเป็นต้องใช้และปริมาณที่ต้องการในการประกอบอาหาร รวมถึงเช็กรายการอาหารดังกล่าวในตู้เย็นหรือตู้เก็บของก่อน ลดปัญหาการซื้อซ้ำหรือซื้อแล้วไม่จำเป็นต้องใช้ หรือซื้ออาหารลดราคามาเก็บไว้ในปริมาณมาก เนื่องจากอาจกินไม่ทันก่อนหมดอายุ หรืออาจจะกินจนเบื่อจนไม่อยากกินอีกแล้ว จึงจำเป็นต้องทิ้งส่วนที่เหลือไปก็ได้ ทางที่ดีเลือกซื้ออาหารที่มีขนาดบรรจุพอดีกับที่ต้องการบริโภคจะดีกว่า

หากไม่มีความจำเป็นต้องกักตุนอาหาร ควรซื้ออาหารเท่าที่จำเป็น ไม่ต้องถึงขั้นตุนเสบียงไว้ให้กินได้ตลอดทั้งปี ถ้าเป็นไปได้ ไม่ควรจับจ่ายขณะที่กำลังรู้สึกหิว เพราะความอยากอาหารในขณะนั้น อาจเป็นตัวการทำให้เผลอจับจ่ายซื้ออาหารเกินความจำเป็นได้

©รูปต้นฉบับ: unsplash.com

 

 

2.จัดเก็บให้เหมาะสม

หลังจากการจับจ่ายเลือกซื้ออาหารเสร็จสิ้นแล้ว สิ่งที่ควรทำเป็นลำดับถัดมาคือจัดเก็บอาหารให้เหมาะสมกับประเภทของอาหาร โดยพิจารณาจากอายุการเก็บรักษา

https://unsplash.com/photos/_Bhh-RCciio

 

ประเภทของอาหาร

  • อาหารที่เน่าเสียง่าย ควรเก็บไว้ในช่องแช่แข็งทันที
  • อาหารจำพวกผัก ควรเก็บไว้ในช่องแช่ผัก จัดลำดับผักที่มีน้ำหนักเบาไว้ด้านบนสุด ป้องกันผักเสียหาย ยกเว้นพืชผักจำพวกหัว สามารถเก็บไว้ในอุณหภูมิห้องได้
  • อาหารกระป๋อง ควรเก็บไว้ในที่แห้งและเย็น ไม่ถูกแสงแดด ไม่อับชื้น ป้องกันการเสียและการเป็นสนิมเร็วกว่าปกติ พื้นที่ที่ใช้เก็บอาหารกระป๋องควรเป็นบริเวณที่สูงจากพื้นประมาณ 60 เซนติเมตร ป้องกันสัตว์นำโรคและความสกปรกจากพื้น

อายุการเก็บรักษา

  • ฉลากอาหารที่ระบุว่า best-before date จะแสดงวันที่ไว้ ไม่ได้แสดงความเสื่อมของผลิตภัณฑ์ด้วย ถ้าเก็บรักษาอย่างเหมาะสม ผลิตภัณฑ์จะยังคงรักษาคุณลักษณะเดิมไว้ หากเกินวันที่ระบุไว้ในฉลาก ผู้บริโภคสามารถตัดสินใจที่จะบริโภคหรือไม่บริโภค โดยพิจารณาจากสี กลิ่น และรส
  • ฉลากอาหารที่ระบุว่า used-by date หรือ expiry date จะแสดงวันที่ไว้ คุณค่าทางโภชนาการ ปริมาณจุลินทรีย์ จะด้อยลงกว่าข้อกำหนดของมาตรฐานลงเรื่อยๆ หากเกินวันที่ระบุไว้ในฉลาก ผู้บริโภคไม่ควรนำมาบริโภคโดยเด็ดขาด เนื่องจากอาจมีการก่อตัวของเชื้อจุลินทรีย์ในผลิตภัณฑ์

3.ตักพอดีคำ

แนวทางลดขยะอาหารในลำดับถัดมา คือ การตักอาหารให้พอดีกับที่จะรับประทาน ไม่ว่าจะเป็นการบริโภคอาหารในครัวเรือนหรือในร้านอาหารก็ตามที การตักอาหารให้พอดีจะช่วยให้ไม่ต้องทิ้งอาหารที่ทานไม่หมดไปโดยไม่จำเป็น ถือเป็นการลดการเกิดขยะอาหารอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะขยะอาหารส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการบริโภคไม่หมดเป็นหลัก

Advertisements

©รูปต้นฉบับ: unsplash.com 

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาหารภายในร้านประเภทบุฟเฟ่ต์ ปิ้งย่าง ชาบูต่างๆ ซึ่งคนส่วนใหญ่มักเน้นตักเยอะๆ ให้คุ้มกับค่าหัวที่เสียไป แม้บางร้านจะมีมาตรการปรับเงินในกรณีที่อาหารเหลือ แต่ก็ยังมีผู้คนบางส่วนยังคงตักอาหารในปริมาณเยอะๆ แม้จะรู้ว่าตนเองกินไม่หมดอยู่ดี อาจเพราะเห็นเป็นเรื่องขบขัน หรือเป็นการพิสูจน์ความกล้าในกลุ่มเพื่อน หากรู้ว่าขยะอาหารส่งผลต่อโลกมากมายมหาศาลเช่นนี้ ควรหยุดพฤติกรรมดังกล่าวเสีย

 

4.แปรรูปอาหาร

การแปรรูปอาหารอาจฟังดูเป็นเรื่องที่ยุ่งยากและวุ่นวายสักหน่อยสำหรับการบริโภคภายในครัวเรือน แต่ถ้าลองเปลี่ยนคำพูดมาเป็นประโยคที่ว่า “วัตถุดิบเหลือจะเอาไปทำอะไรได้บ้าง?” อาจทำให้เห็นภาพได้ง่ายยิ่งขึ้น ไม่ได้รู้สึกว่าเป็นเรื่องไกลตัวแต่อย่างใด เพราะการแปรรูปอาหารมีมากมายหลายชนิด ไม่ได้จำกัดแค่การนำไปตากแห้ง หมักดอง หรือการถนอมอาหารโดยใช้สารเคมีเท่านั้น อาจพิจารณาแปรรูปอาหารเหลือ ดังนี้

  • ถนอมอาหารแบบชั่วคราว โดยการเก็บอาหารไว้ในช่องแช่แข็ง หรือดองเค็ม
  • ถนอมอาหารแบบถาวร โดยการกำจัดน้ำออกจากอาหาร หรือการตากแห้ง

©รูปต้นฉบับ: unsplash.com

 

 

5.รีไซเคิล

ท้ายที่สุดแล้ว หากไม่สามารถนำขยะอาหารไปดัดแปลงทำอะไรได้อีกจริงๆ สามารถนำขยะอาหารไปรีไซเคิลด้วยการนำไปทำเป็นปุ๋ยหมัก น้ำหมัก EM หรือน้ำสกัดชีวภาพ ใช้รดน้ำต้นไม้ในบริเวณที่อยู่อาศัยได้ ปุ๋ยหมักและน้ำสกัดชีวภาพจะช่วยปรับสมดุลในดิน เพิ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ ย่อยสลายใบไม้แห้ง ลดจำนวนแมลงศัตรูพืชได้เป็นอย่างดี

©รูปต้นฉบับ: unsplash.com

เห็นไหมคะว่าการลดปริมาณขยะอาหารนั้นเป็นเรื่องที่แสนจะง่ายดายยิ่งนัก แค่ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบางอย่างนิดหน่อย หากทุกคนร่วมมือร่วมใจกันปฏิบัติสม่ำเสมอ ปัญหาจากขยะอาหารก็จะค่อยๆ ลดน้อยลงในที่สุดค่ะ มาเซฟโลกด้วยกันนะคะ 🌎

©แหล่งที่มา

รูปต้นฉบับ ©pixabay.com

Advertisements

Advertisements

Advertisements