ภูมิแพ้ดีขึ้นได้! ทำความรู้จักวัคซีนชนิดอม รักษาโรคโดยไม้ง้อเข็มฉีดยา

UndubZapp ขอชวนเพื่อนๆ ทุกคนมาเอาชนะโรคภูมิแพ้ ด้วยการทำความรู้จักวัคซีนภูมิแพ้ชนิดอมใต้ลิ้น ACARIZAX  ทางเลือกใหม่ในการรักษาโรคภูมิแพ้ ซึ่งยาดังกล่าวถูกจัดอยู่ในกลุ่มยาควบคุมพิเศษ มีใช้เฉพาะในโรงพยาบาล และต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์ผู้ชำนาญการเท่านั้นนะคะ ถ้าเพื่อนๆ ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมก่อนเข้าปรึกษากับแพทย์ เลื่อนลงไปด้านล่างเพื่ออ่านรายละเอียดเกี่ยวกับวัคซีนภูมิแพ้ชนิดอมใต้ลิ้นได้เลยค่ะ

 

 

ยานี้คือยาอะไร

  • ยานี้มีชื่อสามัญว่า สารสกัดไรฝุ่นบ้าน มีสองชนิดรวมกัน คือ สายพันธุ์ Dermatophagoides pteronyssinus และ Dermatophagoides farina เป็นยาในกลุ่มรักษาภูมิแพ้
  • ยานี้ใช้รักษาโรคเยื่อบุโพรงจมูกอักเสบที่แพทย์วินิจฉัยแล้วว่าเกิดจากการแพ้ไรฝุ่นบ้านบางชนิด ในผู้ป่วยอายุ 12-65 ปี
  • ยานี้ใช้รักษาโรคหอบหืดที่แพทย์วินิจฉัยแล้วว่าเกิดจากการแพ้ไรฝุ่นบ้านบางชนิดในผู้ป่วยอายุ 18-65 ปี

*การใช้ยานี้จะต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์ที่มีประสบการณ์ทางด้านการรักษาโรคภูมิแพ้เท่านั้น

 

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยา

  • ใช้ยาครั้งแรกต้องใช้ต่อหน้าแพทย์หรือพยาบาล และดูอาการต่ออย่างน้อย 30 นาทีหลังจากใช้ยา

 

ห้ามใช้ยานี้เมื่อไร

  • เมื่อเคยแพ้ยานี้ หรือส่วนประกอบในยานี้ เช่น เจลาตินจากปลา แมนนิทอล และ โซเดียมไฮดรอกไซด์
  • เคยเป็นโรคหอบหืดรุนแรง ใน 3 เดือนก่อน
  • กำลังกินยากดภูมิคุ้มกันหรือยารักษามะเร็ง
  • เพิ่งถอนฟัน ผ่าตัดในช่องปาก มีแผลในช่องปาก หรือมีการติดเชื้อในช่องปาก

 

ข้อควรระวังเมื่อใช้ยานี้

ควรแจ้งแพทย์ในกรณีต่อไปนี้

Advertisements

  • กำลังใช้ยารักษาอาการภูมิแพ้ เช่น ยาต้านฮิสตามีน ยารักษาอาการหอบหืด หรือ สเตียรอยด์
  • มีอาการซึมเศร้าและต้องใช้ยาต้านซึมเศร้า
  • เคยมีอาการแพ้รุนแรงหลังได้รับการฉีดสารก่อภูมิแพ้ของไรฝุ่นบ้าน
  • เคยแพ้อาหารจำพวกปลา
  • เคยมีอาการแสบร้อนกลางอกที่นานกว่าปกติ หรืออาการกลืนลำบาก
  • กำลังตั้งครรภ์ ไม่ควรเริ่มใช้ยานี้ในช่วงตั้งครรภ์ หากพบว่าตั้งครรภ์ภายหลัง ควรปรึกษาแพทย์
  • กำลังให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์หากใช้ยาในช่วงให้นมบุตร

 

วิธีการกินยา

  • อมใต้ลิ้น ครั้งละ 1 เม็ดต่อวัน
  • ห้ามกลืนน้ำลาย อย่างน้อย 1 นาที
  • ห้ามรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม หลังจากรับประทานยาอย่างน้อย 5 นาที

 

หากลืมใช้ยาควรทำอย่างไร

  • ให้ใช้ยาทันทีที่นึกได้ในวันนั้น ไม่ควรใช้ยา 2 เม็ดในวันเดียวกัน
  • หากลืมใช้ยานานเกินกว่า 7 วัน โปรดติดต่อแพทย์ก่อนกลับมาเริ่มใช้ยาอีกครั้ง

 

ถ้าใช้ยานี้เกินขนาดที่แนะนำควรทำอย่างไร

  • หากใช้ยาเกินขนาดอาจได้รับผลข้างเคียงมากขึ้น เช่น อาการแพ้ที่ปากและลำคอ หากเกิดอาการแพ้รุนแรง ให้รีบพบแพทย์หรือนำส่งโรงพยาบาลทันที

 

ข้อควรปฏิบัติระหว่างใช้ยา

  • ใช้ยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด หากอาการแย่ลง หรือมีผลข้างเคียงจากยาที่ทนไม่ได้ให้แจ้งแพทย์
  • การรักษาต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 8 ถึง 14 สัปดาห์ จึงจะเริ่มเห็นผล
  • พบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อติดตามผลการรักษาหรืออันตรายจากยา
  • แจ้งแพทย์หรือทันตแพทย์ ว่ากำลังใช้ยานี้หากต้องผ่าตัดในช่องปากหรือถอนฟัน
  • แจ้งแพทย์หากเกิดอาการแพ้บริเวณปากหรือช่องปากรุนแรง หรือทนต่ออาการแพ้ไม่ได้ แพทย์อาจให้ยาต้านอาการแพ้ เช่น ยาต้านฮิสตามีน เพื่อลดอาการที่เกิดขึ้น
  • อาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นมักหายภายในไม่กี่นาทีหรือไม่กี่ชั่วโมงหลังจากใช้ยา และผลข้างเคียงจะลดลงหลังจากใช้ยาไปประมาณ 1-3 เดือน
  • ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรหากพบอาการข้างเคียงอื่นๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้ในเอกสารนี้

 

อันตรายที่อาจเกิดจากยา

หากใช้แล้วเกิดอาการ เช่น

  • อาการหอบหืดที่เป็นอยู่แย่ลงจากปกติ
  • มีอาการแพ้ขั้นรุนแรง เช่น กลืนลำบาก หายใจลำบาก เสียงเปลี่ยน ความดันโลหิตต่ำ รู้สึกจุกแน่นที่คอ อาการบวมบริเวณหน้า ช่องปาก ช่องคอ หรือ ผิวหนัง
  • มีอาการลมพิษและอาการคันที่ผิวหนัง “ต้องหยุดยารีบไปพบแพทย์ทันที”

 

หากใช้ยาแล้วเกิดอาการเช่น

  • รู้สึกคันภายในช่องคอ ปาก ลิ้น หรือ หู
  • มีอาการบวม อักเสบ แสบร้อน บวมแดงบริเวณริมฝีปาก ลิ้น ช่องคอ แผลในปาก เจ็บภายในช่องปาก
  • รู้สึกเหมือนมีเข็มทิ่ม หรือ รู้สึกชา ภายในช่องปากหรือลิ้น
  • เสียงแหบ ปากแห้ง กลืนลำบาก การรับรสเปลี่ยนไป
  • ต่อมทอนซิล ต่อมน้ำลาย ขยายใหญ่ขึ้น หรือหลั่งน้ำลายมากขึ้น
  • ตาอักเสบ คันตา
  • รู้สึกไม่สบายช่องหู จมูก คัดจมูก น้ำมูกไหล จาม หอบหืด ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ
  • รู้สึกปวดหรือรู้สึกไมสบายกระเพาะอาหาร ระคายเคืองหลอดอาหาร รู้สึกอาหารไม่ย่อย แสบร้อนกลางอก
  • เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย
  • รู้สึกเหนื่อย แน่นหน้าอก การเต้นของหัวใจผิดปกติไป
  • รู้สึกไม่สบายเนื้อไม่สบายตัว
  • ผิวหนังแดง รู้สึกเหมือนมีอะไรทิ่มที่ผิวหนัง “ให้รอดูอาการ แต่ถ้ามีอาการรุนแรงควรไปพบแพทย์”

 

Advertisements

Advertisements

Advertisements