กินต้านตะคริว! ผัก-ผลไม้ 10 ชนิด ช่วยลดเสี่ยงเป็นตะคริว ลดอาการเหน็บชา

ตะคริว เกิดจากอาการหดเกร็งที่ทำให้กล้ามเนื้อเป็นก้อนแข็งฉับพลัน และทำให้รู้สึกปวดกล้ามเนื้อช่วงหนึ่งส่วนใหญ่จะเกิดตะคริวที่น่อง ที่ขา และมักเกิดเวลาที่ร่างกายอยู่ในท่าเดิมนานๆ เช่น ระหว่างหลับ หรือนั่ง เมื่อเวลาผ่านไปสักพัก อาการเจ็บปวดจะทุเลาลง ถึงแม้ว่าสาเหตุการเกิดตะคริวจะไม่สามารถระบุได้แน่ชัด แต่ก็อาจบอกได้ว่าปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับการเกิดตะคริว ได้แก่ กล้ามเนื้ออ่อนแรง กล้ามเนื้อขาดเลือด กล้ามเนื้อขาดความยืดหยุ่น ดื่มน้ำน้อย เสียเหงื่อมาก เกลือแร่ในร่างกายไม่สมดุล แคลเซียมในเลือดต่ำ เป็นต้น

 

ส่วนใครที่มักจะประสบปัญหาเจ้าตะคริวมาเยือนตอนนอน แนะนำให้ลองปรับเปลี่ยนท่านอนให้อยู่ในท่าที่ร่างกายผ่อนคลาย ไม่เกร็งกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะคนที่นอนเล่นมือถือบนเตียง ควรนอนในท่าที่ผ่อนคลาย อย่าให้กล้ามเนื้อตึง สร้างความอบอุ่นให้ร่างกายด้วยการห่มผ้าสำหรับคนที่ชอบเปิดแอร์เย็นฉ่ำตลอดคืน และหากใครโดนเจ้าตะคริวเล่นงานเข้าให้แล้ว ให้คุณค่อยยืดกล้ามเนื้อส่วนที่เป็นตะคริว เช่น ตะคริวที่ขา ให้เหยียดขาตรง ค่อยๆ กระดกปลายเท้าขึ้น ค้างไว้ นับ 1-5 หลังจากนั้นให้ใช้สันมือนวดคลึงวนเป็นวงกลมตรงที่เป็นตะคริวจนกว่าตะคริวจะหายไป

และเพื่อเป็นการลดโอกาสที่จะโดนเจ้าตะคริวเล่นงานได้ UndubZapp ขออาสาพาเพื่อนๆ หาทางออกของตะคริวอีกแขนงหนึ่ง โดยการเติมแร่ธาตุสำคัญ 3 ชนิดให้กับร่างกาย นั่นก็คือ โพแทสเซียม แมกนีเซียม และแคลเซียม ซึ่งแร่ธาตุเหล่านี้สามารถหาได้จากผักผลไม้ การรับประทานแร่ธาตุให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายเป็นประจำ จะช่วยลดความเสี่ยงการเป็นตะคริวได้

 

ต้องบอกไว้ก่อนว่า ผักผลไม้ที่เรานำมาบอกกล่าวนี้ ไม่ได้หมายความว่า กินแล้วจะหายจากอาการตะคริวได้เลย แต่เราควรแก้ที่ต้นทางด้วยการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ เพราะตะคริวมักเกิดในผู้ที่ขาดการออกกำลังกายและมีร่างกายที่อ่อนแอ

 

สำหรับวัยทำงาน ปริมาณโพแทสเซียมที่ร่างกายต้องการ คือ 2-6 กรัมต่อวัน ปริมาณแมกนีเซียมที่ร่างกายต้องการ คือ 250-500 มิลลิกรัมต่อวัน และปริมาณแคลเซียมที่ร่างกายต้องการ คือ 800 มิลลิกรัมต่อวัน ส่วนผักผลไม้ที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุดังกล่าวจะมีอะไรบ้างนั้น เลื่อนลงไปหาคำตอบได้เลยค่ะ

 

1.กล้วยหอม

ปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 88 กิโลแคลอรี่

มีโพแทสเซียม 358 มิลลิกรัม / แมกนีเซียม 27 มิลลิกรัม / แคลเซียม 5 มิลลิกรัม

©pixabay.com

 

 

2.มะเขือเทศ

ปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 17 กิโลแคลอรี่

มีโพแทสเซียม 237 มิลลิกรัม / แมกนีเซียม 11 มิลลิกรัม / แคลเซียม 10 มิลลิกรัม

©pixabay.com

 

 

3.ทุเรียน

ปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 147 กิโลแคลอรี่

มีโพแทสเซียม 436 มิลลิกรัม / แมกนีเซียม 30 มิลลิกรัม / แคลเซียม 6 มิลลิกรัม

©unsplash.com

 

 

4.ลำไย

ปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 60 กิโลแคลอรี่

มีโพแทสเซียม 266 มิลลิกรัม / แมกนีเซียม 10 มิลลิกรัม / แคลเซียม 1 มิลลิกรัม

©pixabay.com

 

 

Advertisements

5.แครอท

ปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 41 กิโลแคลอรี่

มีโพแทสเซียม 320 มิลลิกรัม / แมกนีเซียม 12 มิลลิกรัม / แคลเซียม 33 มิลลิกรัม

©pixabay.com

 

 

6.ข้าวโพดหวาน

ปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 85 กิโลแคลอรี่

มีโพแทสเซียม 270 มิลลิกรัม / แมกนีเซียม 37 มิลลิกรัม / แคลเซียม 2 มิลลิกรัม

©pixabay.com

 

7.บร็อคโคลี่

ปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 34 กิโลแคลอรี่

มีโพแทสเซียม 316 มิลลิกรัม / แมกนีเซียม 21 มิลลิกรัม / แคลเซียม 47 มิลลิกรัม

©pixabay.com

 

 

8.ผักโขม

ปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 23 กิโลแคลอรี่

มีโพแทสเซียม 558 มิลลิกรัม / แมกนีเซียม 79 มิลลิกรัม / แคลเซียม 99 มิลลิกรัม

©pixabay.com

 

9.ราสเบอรี่

ปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 52 กิโลแคลอรี่

มีโพแทสเซียม 151 มิลลิกรัม / แมกนีเซียม 22 มิลลิกรัม / แคลเซียม 25 มิลลิกรัม

©pixabay.com

 

 

10.อโวคาโด

ปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 120 กิโลแคลอรี่

มีโพแทสเซียม 351 มิลลิกรัม / แมกนีเซียม 24 มิลลิกรัม / แคลเซียม 10 มิลลิกรัม

©pixabay.com

 

Featured image © unsplash.com

Advertisements

Advertisements

Advertisements