เครียดเมื่อเจอผู้คน! 7 อาการโรคกลัวการเข้าสังคม รุนแรงกว่าแค่ขี้อาย

อาการขี้อายหรืออาการประหม่าเมื่อต้องอยู่ต่อหน้าผู้คนนั้น ถือเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับคนทั่วไปที่อาจเกิดขึ้นได้ในบ้างครั้ง ไม่ว่าจะเป็นในสถานการณ์ที่ต้องพูดต่อหน้าสาธารณะชน หรือการที่ต้องไปในสถานที่ใหม่ๆ ที่ยังไม่คุ้นเคย อย่างไรก็ตาม หากความกังวลต่อการเข้าสังคมของคุณนั้นเกิดขึ้นบ่อยหรือมีอาการมากเกินกว่าจะควบคุมตัวเองได้ นั่นอาจไม่ได้มีสาเหตุมาจากความขี้อายธรรมดาก็เป็นได้ค่ะ

โดยสาเหตุของอาการอายมากเกินกว่าระดับปกตินั้น มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โรคกลัวการเข้าสังคม หรือ Social Anxiety Disorder) ซึ่งผู้ป่วยจะมีความกังวลต่อการต้องมีปฏิสัมพันธ์กับสังคมมากจนอาจถึงขั้นตื่นกลัวหรือ Panic แต่ด้วยความที่โรคดังกล่าวนั้นจะมีอาการคล้ายกับคนขี้อายอย่างมาก บางครั้งจึงอาจถูกปล่อยปละละเลยจนไม่ได้รับการรักษาและนำไปสู่อาการของโรคที่มากขึ้น ส่วนจะแตกต่างกันอย่างไรบ้างนั้น UndubZapp นำลักษณะหลักๆ ของโรคนี้มาฝากกันค่ะ

 

1. ไม่กล้าสบตาคน

สำหรับอาการหลักๆ ที่สามารถเห็นได้ชัดนั้น ก็คือการไม่กล้าสบตากับคู่สนทนา โดยการไม่กล้าสบตานั้นอาจมีลักษณะคล้ายกับคนที่ขี้อายเช่นกัน แต่จะแตกต่างกันตรงที่หลังจากทำความคุ้นเคยกันสักระยะหนึ่งแล้ว คนขี้อายจะสามารถปรับตัวเข้ากับผู้อื่นและสามารถสบตาขณะพูดได้ดีขึ้น ขณะที่ผู้ป่วยโรคกลัวการเข้าสังคมจะแทบไม่สามารถพัฒนาความสัมพันธ์กับใครได้เลย

 

2. ไม่กล้าพูดกับคนที่ไม่คุ้นเคย

ผู้ป่วยโรคกลัวการเข้าสังคมนั้น จะมีความกังวลอย่างมากเมื่อต้องพูดคุยกับคนแปลกหน้า รวมทั้งยังพยายามหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่จะต้องพูดคุยกับผู้อื่นด้วย ซึ่งนั่นเป็นอีกสาเหตุที่ผู้ป่วยโรคนี้มักจะมีเพื่อนน้อยหรือแทบไม่มีเพื่อนสนิทเลย โดยอาจส่งผลต่อการเรียนหรือการทำงานที่ต้องทำในลักษณะเป็นกลุ่มอีกด้วย

 

3. รู้สึกอายสุดๆ เมื่ออยู่ต่อหน้าคนหมู่มาก

ไม่เพียงแค่ความประหม่าที่เกิดจากการพูดต่อหน้าคนหมู่มาก อย่างการพูดหน้าชั้นเรียนหรือการสัมภาษณ์งานเท่านั้น แต่รวมไปถึงการใช้ชีวิตปกติประจำวัน เช่น การทานข้าวในโรงอาหาร หรือ การไปงานปาร์ตี้ ผู้ป่วยก็มักจะมีความกังวลต่อสายตาของคนรอบข้างมากกว่าปกติ โดยมักมีความรู้สึกว่าตัวเองถูกจับจ้องอยู่เสมอและกังวลว่าจะทำอะไรที่น่าอายออกไป

 

4. มีอาการทางร่างกาย

ความกังวลของผู้ป่วยโรคกลัวการเข้าสังคมนั้น จะแตกต่างจากความขี้อายตรงที่บางครั้งจะส่งผลต่อร่างกายอีกด้วย ซึ่งระดับของอาการก็มีตั้งแต่อาการเล็กน้อยอย่าง เช่น หัวใจเต้นแรง หายใจแรง หน้าแดง ไปจนถึงอาการที่เห็นได้ชัดอย่าง กล้ามเนื้อเกร็ง หน้าแดง เหงื่อออกมาก ตัวสั่น หรือปวดท้อง เป็นต้น ซึ่งอาการเหล่านี้ ผู้ป่วยจะไม่สามารถควบคุมตัวเองได้เลย ซึ่งถือเป็นลักษณะที่แตกต่างจากคนขี้อายทั่วไปค่ะ

Advertisements

 

5. มักแยกตัว

ผู้ที่เป็นโรคกลัวการเข้าสังคมนั้นจะไม่พยายามเข้าหาผู้คน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเพื่อนเรียนหรือเพื่อนร่วมงาน ซึ่งทำให้ผู้ป่วยโรคนี้มักแยกตัวอยู่เงียบๆ คนเดียวเสมอ และถือเป็นพฤติกรรมที่ทำให้อาการของโรคแย่ลง

 

6. นอนไม่หลับ

ตรงกันข้ามกับท่าทางภายนอกที่ค่อนข้างเงียบ แต่ภายในหัวของคนที่เป็นโรคนี้นั้น จะมีเรื่องให้กังวลอยู่มากมายตลอดเวลา จนบางครั้งอาจถึงขั้นทำให้เป็นโรคนอนไม่หลับ โดยเฉพาะวันที่ต้องเจอกับเรื่องสำคัญๆ อย่าง คืนก่อนวันที่ต้องออกไปพูดต่อหน้าผู้คน โดยที่ผู้ป่วยจะไม่สามารถหาวิธีทำให้ตัวเองรู้สึกสงบลงได้เลย

 

7. กลัวการถูกประเมินจากผู้อื่น

การกลัวการถูกประเมินของผู้ป่วยโรคนี้นั้นมีได้หลายลักษณะ โดยบางครั้งอาจเกิดขึ้นจากความกลัวที่มากเกินไป โดยคนที่เป็นโรคนี้จะมีอาการแ Panic ต่อสถานการณ์ที่ตัวเองต้องเผชิญหน้าและมีการคาดการณ์เสมอว่าจะต้องมีเรื่องเลวร้ายเกิดขึ้นจนไม่สามารถควบคุมตัวเอง

นอกจากลักษณะภายนอกของอาการขี้อายกับโรค Social Anxiety Disorder จะแตกต่างกันแล้ว การเยียวยาจากอาการดังกล่าวก็ยังแตกต่างกันไปด้วย เพราะคนที่ขี้อายจะสามารถปรับตัวเข้าสู่สังคมได้ในที่สุด แต่ขณะที่ผู้ป่วยโรคกลัวการเข้าสังคมนั้นจะไม่สามารถดีขึ้นได้เลยหากไม่ได้รับการรักษาหรือการปฏิบัติที่ถูกต้อง ดังนั้น หากสงสัยว่าตัวเองหรือคนใกล้ตัวกำลังป่วยเป็นโรคนี้ ก็ยังไม่สายเกินไปที่จะเข้าปรึกษาจิตแพทย์เพื่อรักษาค่ะ

กดติดตาม ADD Line @UndubZapp

 

Advertisements

Advertisements

Advertisements