เตือนภัยพื้นที่น้ำท่วม!! 6 โรคที่มากับน้ำท่วม พร้อมวิธีป้องกัน-ดูแลสุขภาพ

ฝนตกหนักทีไร ปัญหาน้ำท่วมเป็นเงาตามตัวทุกที 😰🌧️ พ่อแม่พี่น้องท่านใดที่ต้องเผชิญกับภาวะน้ำท่วมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โปรดระลึกไว้เสมอว่า น้ำท่วมขังเป็นแหล่งรวมของเชื้อโรคและเป็นที่มาของพาหะนำโรคต่างๆ อีกทั้งการเดินเหยียบย่ำน้ำท่วมขังยังส่งผลเสียต่อสุขภาพนานัปการ มีโอกาสจะป่วยด้วยโรคที่มากับน้ำท่วม เนื่องด้วยการดูแลสุขภาพเป็นวาระแห่งชาติ UndubZapp ขอเชิญชวนคุณมาร่วมเฝ้าระวังโรคร้ายซึ่งมากับภัยน้ำท่วม เพื่อให้ทุกท่านรับมือและป้องกันโรคต่างๆ อย่างถูกวิธี

 

1.โรคไข้เลือดออก

สาเหตุ

เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี่ โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค เมื่อยุงลายกัดและดูดเลือดผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสแดงกี่แล้ว เชื้อจะเข้าไปฟักตัวเพิ่มจำนวนในตัวยุง ภายหลังจากที่ยุงที่มีเชื้อไวรัสไปกัดผู้อื่นต่อ เชื้อจะถูกถ่ายทอดสู่กระแสเลือดของผู้ที่โดนกัดต่อไป

 

อาการ

 

  • ระยะไข้ (2 – 7 วัน) ผู้ป่วยจะมีไข้สูงตลอดเวลา หน้าแดง ไม่ค่อยมีน้ำมูกไหลหรือไอ อาจมีอาการปวดเมื่อยตามตัว มีผื่นหรือจุดเลือดออกตามผิวหนังกระจายตามแขน ขา ลำตัว มีอาการปวดท้อง เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
  • ระยะวิกฤต (1 – 2 วัน) ผู้ป่วยจะตัวเย็น ไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว ชีพจรเต้นเบาแต่เร็ว ปวดท้องน้อย อาเจียน แล้วจะเริ่มเข้าสู่ระยะฟื้นตัว ในรายที่รุนแรง อาจมีอาการช็อก เลือดกำเดาไหลหรืออาเจียนเป็นเลือด กระสับกระส่าย ปัสสาวะน้อย
  • ระยะฟื้นตัว (2 – 3 วัน) ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น เริ่มรับประทานอาหารได้ ชีพจรเต้นแรงขึ้นและช้าลง ปัสสาวะออกมากขึ้น

 

การรักษา

 

  • ปัจจุบันนี้ยังไม่มียาต้านเชื้อไวรัสโรคไข้เลือดออก การรักษาจะเป็นไปตามอาการของผู้ป่วย เพื่อประคองให้ร่างกายของผู้ป่วยกลับเข้าสู่สภาวะปกติโดยพลัน ในรายที่อาการไม่รุนแรง ผู้ป่วยจะหายได้เองภายใน 2 – 7 วัน
  • รับประทานยาพาราเซตามอลลดไข้ในปริมาณที่แพทย์สั่ง ห้ามรับประทานแอสไพรินและยากลุ่ม NSAID โดยเด็ดขาด เพราะอาจทำให้เลือดออกมากขึ้น
  • เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นเป็นระยะๆ เพื่อลดไข้
  • ดื่มน้ำเกลือแร่ที่ใช้ในโรคท้องร่วง น้ำผลไม้ หรือน้ำหวานบ่อยๆ ป้องกันภาวะขาดน้ำ
  • รับประทานอ่อนๆ งดอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีสีคล้ายเลือด ป้องกันไม่ให้การวินิจฉัยคลาดเคลื่อน
  • หากผู้ป่วยไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว อาเจียนมาก ปวดท้องมาก ตัวเย็นผิดปกติ ไม่ปัสสาวะเกิน 6 ชั่วโมง รีบพบแพทย์โดยด่วน

 

วิธีป้องกัน

 

  • ระมัดระวังไม่ให้ถูกยุงลายกัด โดยการสวมใส่เสื้อผ้าแขนยาว ปกปิดมิดชิด
  • กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ซึ่งก็คือบริเวณที่มีน้ำขัง เช่น โอ่งน้ำ ถ้วยรองขาตู้ กระถาง ยางรถ
  • ใช้สารเคมีกำจัดลูกน้ำ หรือสารไล่ยุงชนิดต่างๆ ป้องกันยุงลายวางไข่
  • ผู้ป่วยที่เคยเป็นโรคไข้เลือดออกมาก่อน มีอายุมากกว่า 9 ปี และน้อยกว่า 45 ปี อาจพิจารณาฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกจากสายพันธุ์อื่นร่วมด้วย

 

2.โรคไข้มาลาเรีย

สาเหตุ

เกิดจากเชื้อโปรโตซัวพลาสโมเดียม โดยมียุงก้นปล่องเป็นพาหะนำโรค เมื่อยุงก้นปล่องกัดผู้ป่วยที่มีเชื้อไข้มาลาเรียแล้ว เชื้อจะเข้าไปฟักตัวอยู่ในตัวยุงประมาณ 10 – 12 วัน เมื่อยุงที่มีเชื้อไปกัดผู้อื่นต่อ เชื้อจะถูกถ่ายทอดสู่กระแสเลือดของผู้ที่โดนกัดต่อไป สาเหตุอื่นๆ ของโรคไข้มาลาเรียที่อาจพบ ได้แก่ จากการถ่ายโลหิต จากแม่ที่ป่วยเป็นโรคไข้มาลาเรียสู่ลูกในครรภ์

 

อาการ

 

  • ระยะหนาว (15 – 60 นาที) ผู้ป่วยจะมีอาการหนาวสั่น ปากสั่น ตัวสั่น ชีพจรเต้นเร็ว ผิวหนังแห้งหยาบ ตัวซีด ปัสสาวะบ่อย เนื่องจากเป็นช่วงการแตกของเม็ดเลือดแดงที่มีเชื้อมาลาเรีย
  • ระยะร้อน (1 – 3 ชั่วโมง) ผู้ป่วยจะเริ่มมีไข้สูง ตัวร้อน ชีพจรเต้นเร็วแรง ลมหายใจร้อน หน้าแดง กระหายน้ำ อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือปวดลึกเข้าไปในกระบอกตา
  • ระยะเหงื่อออก (2 – 4 ชั่วโมง) ผู้ป่วยจะมีเหงื่อออกชุ่ม ร่างกายอ่อนเพลีย หายไข้ แล้วจับไข้ใหม่

 

การรักษา

 

  • ปัจจุบันนี้สามารถรักษาโรคมาลาเรียให้หายขาดได้ หากผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยอย่างรวดเร็ว และได้รับการรักษาตรงตามชนิดของเชื้อ
  • ควรพบแพทย์โดยเร็วที่สุด ไม่ควรซื้อยารักษาด้วยตัวเอง เพราะอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต เนื่องจากเชื้อมาลาเรียเป็นเชื้อที่มีขนาดเล็กมาก ต้องตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือชุดตรวจหาเชื้อมาลาเรีย
  • ทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ป้องกันไม่ให้เกิดการดื้อยา และเพื่อให้หายขาดจากโรค
  • ผู้ป่วยบางรายอาจต้องรักษาด้วยการฉีดยาเข้ากระแสเลือด ซึ่งเป็นไปตามดุลพินิจของแพทย์

 

วิธีป้องกัน

 

  • ป้องกันไม่ให้ถูกยุงก้นปล่องกัด โดยการสวมเสื้อผ้าสีอ่อน ปกปิดร่างกายอย่างมิดชิด
  • กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงทุกชนิด ด้วยสารเคมีกำจัดลูกน้ำหรือสารไล่ยุง ป้องกันยุงวางไข่
  • ใช้ยาที่มีสารไล่แมลงทาผิวหนัง โดยอาจทาซ้ำบ่อยๆ เพื่อการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ
  • หากต้องค้างคืนกลางแจ้ง ในไร่นา หรือป่าเขา แนะนำให้ชุบมุ้งด้วยน้ำยาไล่ยุง

 

 

3.โรคฉี่หนู

สาเหตุ

เกิดจากเชื้อเลปโตสไปร่า ซึ่งพบในสัตว์หลายชนิด แต่จะพบมากในหนู มักพบการระบาดช่วงฤดูฝน เนื่องจากมีพื้นที่น้ำขังมาก และมักปนเปื้อนอยู่ตามแหล่งน้ำ เชื้อเหล่านี้จะสามารถเข้าสู่ตัวผู้ป่วยผ่านทางบาดแผล หรือรอยถลอกบนผิวหนัง

 

อาการ

 

  • ระยะแรก (ช่วง 3 วันแรกของโรค) ผู้ป่วยจะมีไข้สูงในทันทีทันใด ร่วมกับอาการหนาวสั่น ปวดบริเวณหน้าผาก ปวดหลังตา ปวดขมับทั้งสองข้าง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะบริเวณช่วงขา น่อง ต้นคอ และหลัง เวลากดหรือจับ ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดมาก อาจมีอาการปวดท้อง ถ่ายเหลว เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน หรือตาแดงร่วมด้วย
  • ระยะที่สอง (หลังผู้ป่วยมีไข้ประมาณ 7 วัน) ไข้จะเริ่มลดลงประมาณ 1 – 2 วัน จากนั้นจะเริ่มมีไข้ขึ้นอีก ผู้ป่วยมักมีอาการปวดศีรษะ มีไข้ต่ำๆ คลื่นไส้ อาเจียน อาจพบอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ แต่อาการนี้ไม่ได้เกิดในผู้ป่วยทุกราย

 

การรักษา

 

  • เมื่อใดก็ตามที่ผู้ป่วยพบว่าตนเองมีอาการชี้นำของโรค ควรพบแพทย์เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยโดยเร็ว
  • ไม่ควรซื้อยารับประทานเองโดยเด็ดขาด เพราะอาจเกิดอันตรายถึงชีวิต

 

วิธีป้องกัน

Advertisements

 

  • ระวังไม่ให้น้ำสกปรกกระเด็นเข้าปาก ตา จมูก หรือบาดแผล เพราะเชื้ออาจเข้าสู่เยื่อบุเหล่านี้ได้
  • หลีกเลี่ยงการลุยน้ำบริเวณที่มีน้ำขัง งดการย่ำโคลน ถ้ามีความจำเป็น ควรสวมรองเท้าบูททุกครั้ง
  • ล้างเท้าหรือบริเวณที่สัมผัสกับน้ำท่วมขังให้สะอาด ทำความสะอาดร่างกายให้ทั่วถ้วน เช็ดร่างกายให้แห้ง
  • เก็บอาหารให้มิดชิด กำจัดขยะอย่างสม่ำเสมอ ป้องกันไม่ให้หนูมากินแล้วฉี่ทิ้งไว้

 

4.โรคตาแดง

สาเหตุ

เกิดจากเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย ผู้ป่วยมักเป็นโรคตาแดงจากการใช้มือที่มีเชื้อขยี้ตา ใช้สิ่งของเครื่องใช้ร่วมกับผู้ป่วยที่เป็นโรคตาแดง ฝุ่นละอองเข้าตามากจนตาอักเสบ แมลงวันหรือแมลงหวี่ตอมตา โรคตาแดงพบมากช่วงฤดูฝน เนื่องจากเป็นช่วงที่เชื้อกระจายตัวได้ง่าย แม้จะไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ถ้าไม่รีบรักษาอาจเกิดโรคแทรกซ้อนได้เช่นกัน

 

อาการ

 

  • ตาแดง
  • คันตา
  • เคืองตา
  • มีขี้ตามาก
  • น้ำตาไหล
  • เปลือกตาบวมแดง
  • อาจปวดเบ้าตาเล็กน้อย

 

การรักษา

 

  • หยอดยาปฏิชีวนะหยอดตา เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อ
  • ใช้น้ำตาเทียม เพื่อลดอาการระคายเคือง
  • ใส่แว่นกันแดด กันลม
  • พักสายตาบ่อยๆ ใช้สายตาให้น้อยลง
  • งดแต่งหน้า งดใส่คอนแทคเลนส์

 

วิธีป้องกัน

 

  • ไม่ใช้มือขยี้ตา
  • ป้องกันตัวเองจากเชื้อโรคอย่างเคร่งครัด
  • รักษาความสะอาดของใบหน้าและมืออยู่เสมอ
  • หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วยโรคตาแดง

 

5.โรคติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร

สาเหตุ

เกิดขึ้นได้จากเชื้อไวรัสหลายชนิด ส่วนใหญ่แล้ว เชื้อไวรัสที่พบบ่อยที่สุดคือเชื้อไวรัสโรต้า ซึ่งเป็นไวรัสที่ทำให้เกิดอาการติดเชื้อทางเดินอาหารอย่างรุนแรง อีกทั้งยังมีสายพันธุ์แยกย่อยหลายสาย ทำให้พบการติดเชื้อซ้ำหลายครั้ง กระจายเชื้อเร็ว สามารถคงตัวอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานเป็นสัปดาห์ถึงเดือน มักติดเชื้อจากการสัมผัสอาหารหรือสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อโรคจากสิ่งปฏิกูลที่มาพร้อมกับน้ำท่วม หรือจากการใช้น้ำที่ไม่สะอาด แม้ว่าผู้ป่วยจะได้รับเชื้อไวรัสแค่ 10 ตัว ก็สามารถติดเชื้อได้แล้ว

 

อาการ

 

  • ระยะฟักตัว (3 – 8 วัน) ผู้ป่วยมักมีไข้สูง อาเจียน ถ่ายเหลวเป็นน้ำ 3 ครั้งต่อวันหรือมากกว่า ปวดท้อง เบื่ออาหาร ในเด็กเล็กอาจมีอาการขักจากไข้สูงด้วย
  • อาการแทรกซ้อนที่พบบ่อยคือ ภาวะขาดน้ำ ขาดเกลือแร่ ริมฝีปากแห้ง ลิ้นแห้ง ใต้ตาลึกโบ๋ ปัสสาวะน้อย อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ ไม่มีแรง ความดันโลหิตต่ำ

 

การรักษา

 

  • การรักษาจะเป็นการรักษาตามอาการ ไม่มีการรักษาที่เฉพาะเจาะจง
  • เช็ดตัวเวลามีไข้ จนกว่าไข้จะลด
  • รับประทานยาลดไข้และยาแก้อาเจียน
  • ดื่มน้ำเกลือแร่ ชดเชยการสูญเสียน้ำ
  • งดดื่มนม ยกเว้นนมแม่
  • งดรับประทานผักผลไม้ ยกเว้นกล้วยและฝรั่ง
  • สามารถทานข้าวต้ม หรืออาหารย่อยง่ายได้

 

วิธีป้องกัน

 

  • ล้างมือด้วยสบู่ทุกครั้งก่อนรับประทานอาหารและหลังการขับถ่าย
  • ล้างภาชนะใส่อาหารด้วยน้ำสะอาดก่อนการใช้งาน
  • ดื่มน้ำสะอาด หรือน้ำบรรจุขวด
  • รับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ ไม่มีแมลงวันตอม
  • รักษาความสะอาดเรื่องการกำจัดปัสสาวะ อุจจาระ และขยะมูลฝอย

 

6.โรคน้ำกัดเท้า

สาเหตุ

เกิดจากการติดเชื้อรากลุ่มเดอร์มาโตฟัยท์ พบบ่อยช่วงฤดูฝน เพราะมีพื้นที่น้ำท่วมขังมาก หากไม่ใช่ช่วงฤดูฝน มักเกิดบริเวณที่เหงื่อออกหมักหมม แล้วไม่ได้ดูแลรักษาความสะอาดให้ดี เนื่องจากเชื้อราชนิดนี้สามารถเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่เปียกชื้น

 

อาการ

 

  • คันตามซอกนิ้วเท้า
  • ผิวหนังลอกเป็นขุยๆ
  • เป็นผื่นที่เท้า
  • ผิวหนังที่เท้าพุพอง
  • นิ้วเท้าหนาและแตก

 

การรักษา

 

  • ใช้ครีมกันเชื้อราทาบริเวณที่เกิดอาการ
  • โรยแป้งฝุ่นที่เท้า เพื่อไม่ให้เท้าเปียกชื้น
  • ล้างเท้าให้สะอาดด้วยสบู่ เช็ดเท้าให้แห้ง
  • สวมใส่ถุงเท้าหรือรองเท้าที่แห้ง สะอาด ไม่เปียกชื้น
  • หากแผลติดเชื้อ ควรรับประทานยาปฏิชีวนะร่วมด้วย

 

วิธีป้องกัน

 

Advertisements

Advertisements

Advertisements