ผู้หญิงไม่รู้ไม่ได้!! 4 สัญญาณ “โรคช่องคลอดอักเสบ” และวิธีดูแลรักษา

UndubZapp ชวนสาวๆ ทุกคนมารู้จักภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย ภัยไม่ไกลตัวที่สาวๆ ควรรู้ หากเกิดอาการดังกล่าว สาวๆ ควรปฏิบัติตัวอย่างไร มีข้อแนะนำอย่างไรบ้าง ตามไปดูพร้อมๆ กันเลย

 

ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย เกิดจากการอักเสบของช่องคลอด ด้วยสาเหตุอันเนื่องมาจากการที่แบคทีเรียซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในช่องคลอดเสียสมดุล ส่งผลให้ช่องคลอดมีเชื้อแบคทีเรียมากผิดปกติ ทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงต่อจากเป็นโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ด้วย

ส่วนสาเหตุที่ทำให้แบคทีเรียในช่องคลอดเสียสมดุลยังไม่ทราบแน่ชัด บางหลักฐานว่าอาจเกิดจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ดังนั้นผู้หญิงที่มีคู่นอนหลายคนจะมีความเสี่ยงสูง แต่ผู้หญิงที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ก็สามารถเกิดภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียได้เช่นกัน การสวนล้างช่องคลอดบ่อยๆ ก็ทำให้แบคทีเรียในช่องคลอดเสียสมดุลได้ อีกทั้งการรับประทานยาแก้อักเสบบางประเภทบ่อยๆ ก็เสี่ยงต่อการเพิ่มจำนวนแบคทีเรียบางชนิด อาจส่งผลให้เกิดภาวะช่องคลอดอักเสบตามมา

 

อาการของโรคช่องคลอด

1.ตกขาวในปริมาณมาก เนื้อสีเทาๆ ขุ่นๆ

2.ตกขาวมีกลิ่นแรง เหม็น คล้ายกลิ่นคาวปลา โดยเฉพาะหลังมีเพศสัมพันธ์

3.มีอาการระคายเคืองในช่องคลอด มีอาการแสบขณะปัสสาวะ

4.มีอาการคันช่องคลอด กรณีนี้พบไม่บ่อยนัก บางครั้งอาจไม่มีเลย

 

การรักษาและการป้องกัน

ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย ไม่ถือว่าเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยทั่วไปจึงมุ่งรักษาที่ฝ่ายหญิงเป็นหลัก ไม่มีประวัติการแนะนำให้รักษาคู่นอนฝ่ายชายด้วย ส่วนการรักษาที่นิยมคือ

Advertisements

1. การใช้ยาปฏิชีวนะ Clindamycin และ Metronidazole มีทั้งรูปแบบยาเม็ด ยาสอดช่องคลอด และครีมขี้ผึ้ง ควรทานยาปฏิชีวินะที่จ่ายโดยแพทย์ให้ครบ และปฏิบัติตนตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

2. ใส่กางเกงชั้นในที่ทำจากผ้าฝ้าย มีขนาดพอดี ไม่รัดแน่นจนเกินไป เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ป้องกันการเปียกชื้น ซึ่งสามารถทำให้เกิดภาวะดังกล่าวได้

3. หลังเสร็จจากการปัสสาวะ เช็ดจากข้างหน้าไปข้างหลัง

4. หลีกเลี่ยงการสวนล้างช่องคลอด เพื่อรักษาสมดุลของแบคทีเรียในช่องคลอด

5. ให้ฝ่ายชายใช้อุปกรณ์ป้องกันตัวเองเมื่อมีเพศสัมพันธ์ และมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนเพียงคนเดียว

ทั้งนี้ ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้บ่อยมาก ถือเป็นเรื่องปกติ ผู้ป่วยจึงควรหมั่นดูแลตัวเอง และหลีกเลี่ยงความเสี่ยงด้วยประการทั้งปวง

SOURCE : seventeen

กดติดตาม ADD Line @UndubZapp

 

แซ่บกันต่อ…

>> ได้เวลาเปลี่ยน!! 6 เรื่องน่ารู้ “ถ้วยอนามัย” เบาสบายเหมือนไม่ได้ใส่ ยิ่งกว่าผ้าอนามัย

>> เสี่ยงโรคร้ายถึงตาย! นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้น “ถ้าคุณไม่กินผักเลยทั้งชีวิต”

Advertisements

Advertisements

Advertisements