ร้อนแบบนี้เสี่ยงความดันพุ่งสูง!! 5 วิธีคุมความดัน ช่วงหน้าร้อนแบบธรรมชาติ

หน้าร้อนที่ร้อนสุด ๆ มีอะไรให้ต้องระวังบ้าง? แน่นอนว่าสุขภาพต้องมาเป็นอันดับแรก โดยเฉพาะเรื่องความดันโลหิตสูงในหน้าร้อน ฤดูร้อนส่งผลต่อความดันโลหิตสูงเนื่องจากร่างกายจะพยายามระบายความร้อนออกทางผิวหนัง ยิ่งเมื่อมาเจอกับอุณหภูมิสูงจับคู่กับความชื้นสูงก็จะยิ่งทำให้การไหลเวียนของเลือดไปยังผิวหนังมีการทำงานหนักมากขึ้น ส่งผลให้หัวใจเต้นเร็วและแรงเพื่อให้เลือดสูบฉีด

จากการสำรวจพบว่าร่างกายจะเพิ่มการทำงานในระบบหมุนเวียนเลือดมากขึ้นถึงสองเท่าต่อนาทีในหน้าร้อน เมื่อเทียบกับวันที่อากาศเย็น ความร้อนและการระบายเหงื่อที่มากขึ้นจากความดันโลหิตสูงจจะไปลดปริมาณของเหลวในร่างกายลง ซึ่งจะนำไปสู่การลดลงของปริมาณของเลือดและนำไปสู่อาการขาดน้ำในที่สุด และสิ่งนี้ส่งผลโดยตรงต่อการทำงานของหัวใจ ดังนั้นหน้าร้อนนี้มาเรียนรู้วิธีคุมความดันไม่ให้พุ่งสูงกันเถอะ!

 

5. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

การออกกำลังกายเป็นประจำประมาณ 150 นาทีต่อสัปดาห์ หรืออย่างน้อย 30 นาที/วัน จะสามารถช่วยลดความดันโลหิตลงได้ประมาณ 5 ถึง 8 มิลลิเมตรปรอท ถ้าคุณมีความดันโลหิตสูงเป็นประจำตัว มันเป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ ที่ต้องออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพราะเมื่อไหร่ที่คุณหยุดออกกำลังกายความดันโลหิตของคุณก็จะกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้ง แต่สิ่งที่ควรระวังคือควรเลี่ยงออกกำลังกายช่วงแดดแรงจัด หรือในโรงยิมที่ร้อนอบอ้าว เพราะเดี๋ยวความดันจะยิ่งสูงหนักกลายเป็นผลเสียมากกว่าผลดี แนะนำให้ออกกำลังช่วงเย็นแดดร่มลมตก หรือในโรงยิมที่อากาศถ่ายเทสะดวก มีแอร์เย็นๆ ดีกว่า

 

4. ควบคุมและกินอาหารที่มีประโยชน์

การรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยธัญพืช ผัก ผลไม้ และผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ และงดอาหารที่มีไขมันทรานส์รวมไปถึงคอเลสเตอรอลแบบอิ่มตัว จะสามารถช่วยลดความดันโลหิตลงได้ถึง 11 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งวิธีการกินแบบนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า วิธีการบริโภคอาหารเพื่อหยุดความดันโลหิตสูง (Dietary Approaches to Stop Hypertension – DASH)

 

3. ลดกินอาหารโซเดียมสูง

แม้แต่การลดโซเดียมเล็กน้อยในอาหารที่คุณกินก็สามารถทำให้สุขภาพการทำงานของหัวใจดีขึ้นได้ และยังช่วยลดความดันโลหิตได้ถึงประมาณ 5 ถึง 6 มิลลิเมตรปรอท ยิ่งถ้าคุณเป็นความดันโลหิตสูง ผลกระทบของการบริโภคโซเดียมที่มีต่อความดันโลหิตก็จะยิ่งส่งผลต่อสุขภาพโดยรวม โดยทั่วไปปริมาณโซเดียมต่อการบริโภคถูกจำกัดไว้ที่ 2,300 มิลลิกรัมต่อวันหรือน้อยกว่านั้น อย่างไรก็ตามการลดปริมาณโซเดียมลงสัก 1,500 มก. ต่อวันหรือน้อยกว่าก็จะยิ่งดีต่อการควบคุมความดันโลหิตไม่ให้พุ่งสูง

Advertisements

 

2. ควบคุมปริมาณแอลกอฮอล์

แอลกอฮอล์มีทั้งด้านดีและไม่ดีต่อสุขภาพ โดยการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่พอเหมาะนั้น จะช่วยให้คุณสามารถลดความดันโลหิตลงได้ประมาณ 4 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งปริมาณที่แนะนำคือ เบียร์หนึ่งแก้วประมาณ 354.88 mL. ไวน์ 147.87 mL. หรือเหล้าหนึ่งแก้ว แต่สิ่งดีจากการดื่มแอลกอฮอล์จะหายไปหากคุณดื่มมากเกินไป

นอกจากนี้การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากยังส่งผลเสียเพิ่มคือการไปเพิ่มความดันโลหิตให้สูงขึ้นในหลาย ๆ จุด และยังไปลดทอนประสิทธิภาพของยาลดความดันให้น้อยลงอีกด้วย

 

1. งดบุหรี่

บุหรี่ที่คุณสูบในแต่ละครั้งจะไปเพิ่มความดันโลหิตของคุณให้สูงขึ้นเป็นเวลาหลายนาทีหลังจากสูบเสร็จ การหยุดสูบบุหรี่จึงเป็นการช่วยควบคุมความดันโลหิตของคุณให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ทั้งนี้การเลิกสูบบุหรี่ยังสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจและทำให้สุขภาพโดยรวมของคุณฟื้นตัวได้เร็วขึ้นอีกด้วย

SOURCE : heritageseniorcommunities

กดติดตาม ADD Line @UndubZapp

 

Advertisements

Advertisements

Advertisements