“อะไรที่มากไปก็ไม่ดี น้อยไปก็ไม่ดี” ถือเป็นคำกล่าวที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับทุกเรื่องในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการรับประทานอาหาร การทำงาน หรือกระทั่งกิจกรรมต่างๆ ที่เราทำในชีวิตประจำวันก็ตามที
ทุกวันนี้ไม่ว่าจะมองไปทางไหน เราก็มักเห็นคนก้มหน้าก้มตาปัดๆ ไถๆ สไลด์หน้าจอโทรศัพท์มือถือไปทุกที่ หรือที่หลายๆ คนเรียกกันว่า “สังคมก้มหน้า” นั่นแหละ จริงอยู่ว่าการใช้โทรศัพท์มือถือเป็นสิทธิส่วนบุคคล แต่การใช้โทรศัพท์มือถือมากเกินไปก็อาจเสี่ยงให้เกิดปัญหาตามมาได้เช่นนี้ วันนี้ UndubZapp ขอแนะนำให้เพื่อนๆ ทุกคนรู้จักกับ Text Neck Syndrome โรคที่มาพร้อมกับอาการเสพติดโซเชียล ร่วมกับการใช้โทรศัพท์มือถือนานๆ โรคนี้มีอาการอย่างไร และมีวิธีป้องกันอย่างไรบ้าง ตามไปทำความรู้จักกันเลยค่ะ
- ปวดคอ ไหล่ตึง!! 5 อันดับอาการปวดร่างกายยอดฮิต มนุษย์ออฟฟิศ และวิธีแก้ปวด
-
จดจ่อจอเกินไปไหม? 5 วิธีง่ายๆ ป้องกัน “ออฟฟิศซินโดรม” หรือ “คอมพิวเตอร์ซินโดรม”
Text Neck Syndrome คืออะไร?
Text Neck Syndrome คือ ชื่อเรียกของอาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า ไหล่ และหลังส่วนบน รวมไปถึงกระดูกบริเวณช่วงคอ บางรายอาจมีอาการปวดศีรษะร่วมด้วย ซึ่งอาการเหล่านี้เกิดจากการใช้งานโทรศัพท์มือถือเป็นระยะเวลานานเกินไป
© รูปต้นฉบับ: , unsplash.com
เนื่องจากขณะที่ใช้งานโทรศัพท์มือถือ คนส่วนใหญ่จะก้มศีรษะมาทางด้านหน้าเพื่อดูหน้าจอโทรศัพท์ อวัยวะต่างๆ จึงอยู่ในอิริยาบถที่ไม่เหมาะสม คอเกร็ง ไหล่ห่อ หลังงอ เป็นสาเหตุให้กล้ามเนื้ออักเสบ ผลจากการศึกษายังพบว่า ยิ่งเราก้มศีรษะเพื่อดูหน้าจอโทรศัพท์มือถือมากเท่าใด ร่างกายก็จะยิ่งได้รับแรงกดดันบริเวณช่วงคอเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น
© รูปต้นฉบับ: , physio-pedia.com
จากภาพด้านบน ชี้ให้เห็นว่า ถ้าเราก้มศีรษะเป็นมุม 30 องศา จะเกิดแรงกดบริเวณช่วงคอกว่า 40 ปอนด์ (≈ 18 กิโลกรัม) และถ้าเรายิ่งก้มหน้าไปอีกเป็น 60 องศา จนท่าทางเหมือนเต่า แรงกดบริเวณคอจะยิ่งทวีคูณขึ้นไปอีกอยู่ที่ 60 ปอนด์ (≈ 27 กิโลกรัม) เลยทีเดียว เมื่อมีแรงกดมากก็ยิ่งส่งผลให้กล้ามเนื้อบาดเจ็บมากขึ้นไปอีก หากไม่รักษาหรือปรับเปลี่ยนอิริยาบถขณะใช้งานโทรศัพท์มือถือ อาจทำให้กล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง และส่งผลให้อวัยวะบริเวณดังกล่าวเสื่อม กระดูกเสื่อม หลังค่อมในเวลาถัดมา
วิธีป้อง Text Neck Syndrome มีอะไรบ้าง?
1.ใช้ยาคลายกล้ามเนื้อ
รักษาอาการบาดเจ็บเบื้องต้นด้วยการใช้ยาคลายกล้ามเนื้อ ผ่อนคลายความตึงของกล้ามเนื้อ ทั้งนี้ ยาคลายกล้ามเนื้ออาจส่งผลข้างเคียงต่อชีวิตประจำวันด้านอื่นๆ เช่น ทำให้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า หมดแรง ง่วงเหงาหาวนอน วิงเวียนศีรษะ ปัสสาวะไม่ออก จึงควรใช้ภายใต้คำสั่งจากแพทย์เท่านั้น ไม่ควรใช้ยาคลายกล้ามเนื้อในสตรีมีครรภ์ ผู้สูงอายุ และผู้ที่อยู่ในภาวะซึมเศร้า รวมถึงผู้ที่มีประวัติเสพติดแอลกอฮอล์
© รูปต้นฉบับ: , pexels.com
2.นวดคลายกล้ามเนื้อ
Advertisements
ผู้ที่มีอาการบาดเจ็บไม่มาก ให้ลองคลำหาจุดกดเจ็บ แล้วนวดคลึงพร้อมกับใช้ยานวดร่วมด้วย ส่วนผู้ที่มีอาการบาดเจ็บรุนแรงถึงขั้นหมอนรองกระดูกเสื่อม ควรพบแพทย์เพื่อพิจารณาวิธีผ่าตัด ซึ่งการผ่าตัดบริเวณกระดูกคอ สามารถทำได้โดยการผ่าตัดแผลเล็ก ความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของเส้นประสาทต่ำมาก
© รูปต้นฉบับ: , pexels.com
3.ยืดเหยียดกล้ามเนื้อเป็นประจำ
การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ สามารถช่วยบรรเทาและป้องกันการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อได้ดี ทั้งยังช่วยลดอาการตึงเกร็งของกล้ามเนื้อ เพิ่มความยืดหยุ่น เพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวของข้อต่อ ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย
© รูปต้นฉบับ: , pexels.com
4.ปรับท่าทางขณะใช้งานโทรศัพท์มือถือ
ป้องกันไม่ให้เกิดอาการบาดเจ็บซ้ำที่ต้นเหตุ ด้วยการปรับอิริยาบถของร่างกายขณะใช้งานโทรศัพท์มือถือ รวมถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ให้อยู่ในท่าทางที่เหมาะสม สร้างความเคยชินท่าทางที่ถูกต้องให้กับร่างกาย พยายามนั่งหลังตรงให้มากที่สุด ไม่ก้มหน้า ไม่ห่อไหล่ เปลี่ยนท่าทางและพักสายตาเป็นระยะๆ
© รูปต้นฉบับ: , pexels.com
5.ลดระยะเวลาใช้งานโทรศัพท์มือถือ
แก้ปัญหาบาดเจ็บกล้ามเนื้อซ้ำซากให้ตรงจุดด้วยวิธีลดเวลาใช้งานโทรศัพท์มือถือ อยู่กับโลกโซเชียลให้น้อยลง นอกจากจะช่วยบั่นทอนอาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อจากการใช้งานโทรศัพท์มือถือนานๆ ได้แล้ว ยังช่วยให้คุณได้พักสายตา ลดความเครียดจากการเสพดราม่าในโลกโซเชียลได้ด้วย ที่สำคัญ คุณจะมีเวลาพักผ่อนมากยิ่งขึ้น ได้ใช้เวลาไปกับกิจกรรมผ่อนคลายอื่นๆ ส่งผลให้คุณรู้สึกมีความสุขมากกว่าที่เคย
© รูปต้นฉบับ: , pexels.com
© Resource physio-pedia.com
© Feature image resource unsplash.com
Advertisements