นอนไม่หลับ สะดุ้งตื่นกลางดึก สัญญาณเตือน “โรคหัวใจกำเริบ” รู้ไว้ปลอดภัยต่อชีวิต

หลายคนอาจรู้ว่า อาการของโรคหัวใจมักทำให้รู้สึกเหนื่อยง่ายในตอนกลางวัน  แต่ในขณะเดียวกันกลับไม่รู้ว่าโรคหัวใจสามารถส่งผลให้มีอาการแปลกๆ ในตอนนอนได้เช่นกัน  แถมอาการเหล่านี้ยังส่งผลให้คุณภาพการนอนของคุณแย่ลงอีกด้วย  โดยอาการแปลกๆ เหล่านี้จะมีอะไรบ้าง UndubZapp มีข้อมูลมาฝาก  พร้อมกับวิธีการป้องกันด้วยค่ะ

 

1. โรคหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea)

มีผู้ป่วยโรคหัวใจกว่า 70% ที่มีอาการหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย  ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักสาเหตุมาจากการถูกอุดกั้นทางเดินหายใจ  จากกล้ามเนื้อรอบๆ คอหรือส่วนหลังของช่องคอที่มากเกินไป  ขณะที่บางส่วนเกิดจากโครงสร้างในส่วนจมูกและช่องคอ เช่น ต่อมทอลซิล หรือ ต่อมอะดีนอยด์โต  แต่ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุไหน การหยุดหายใจขณะหลับก็ส่งผลให้ระดับออกซิเจนในเลือดลดต่ำลง  และเพิ่มระดับอะดรีนาลีนในร่างกาย  ซึ่งจะให้คุณนอนหลับไม่สนิท แถมยังเพิ่มอันตรายจากโรคหัวใจล้มเหลวอีกด้วย

 

2. อาการนอนราบไม่ได้ (Orthopnea)

มีผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวจำนวนมากที่มีอาการนอนราบไม่ได้ หรือ Orthopnea  โดยจะรู้สึกอึดอัดหายใจไม่ออกขณะนอนราบ  ซึ่งอาการหายใจไม่ออกเช่นนี้จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกตัวและตื่นในทุกๆ 1-2 ชั่วโมงหลังจากนอนหลับ  นอกจากนี้ยังส่งผลให้เกิดความดันขึ้นในหัวใจและหัวใจเต้นเร็วขึ้น  ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วยโรคหัวใจได้ค่ะ

 

3. โรคภาวะขากระตุกขณะหลับ (Periodic limb movement disorder)

อาการแขนหรือขากระตุกขณะนอนหลับมักทำให้คุณตกใจตื่น  ส่งผลให้คุณภาพการนอนลดลง และรู้สึกง่วงมากในตอนกลางวัน  แม้ว่าความจริงแล้วโรคนี้จะเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ  แต่ก็พบผู้ป่วยโรคหัวใจและโรคหยุดหายใจขณะหลับจำนวนมากที่มีอาการนี้ร่วมด้วย  ซึ่งการรักษาก็ต้องเริ่มจากต้นเหตุเช่นกันค่ะ

 

4. โรคนอนไม่หลับ (Insomnia)

โรคนอนไม่หลับส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดจากความกังวลแบบเรื้อรัง  โดยผู้ป่วยโรคหัวใจหลายๆ คนมีอาการนอนไม่หลับอันมีสาเหตุมาจากความกังวลในอาการป่วยและกระบวนการรักษาต่างๆ  รวมทั้งการทำกิจกรรมตอนกลางวันที่ลดลงจากอาการป่วย ซึ่งการนอนไม่หลับจะยิ่งทำให้ภาวะโรคหัวใจมีอาการแย่ลงอีกด้วย

 

ถึงแม้ว่าผู้ป่วยโรคหัวใจจะต้องทุกข์ทรมานกับอาการที่ทำให้ไม่สามารถนอนหลับพักผ่อนได้อย่างเต็มที่  แต่ UndubZapp ก็มาพร้อมกับคำแนะนำดีๆ จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ พร้อมเคล็ดลับที่จะช่วยให้อาการนอนแปลกๆ เหล่านี้ดีขึ้นค่ะ

 

1. ใช้เครื่องเป่าความดันลมเพื่อเปิดขยายทางเดินทายใจ หรือ เครื่อง CPAP

ผู้ป่วยบางคนจำเป็นต้องใช้เครื่อง CPAP เพื่อช่วยให้การหายใจขณะหลับมีความสม่ำเสมอ  ช่วยในการทำงานของหัวใจ รวมทั้งลดความเสี่ยงในการหยุดหายใจขณะหลับด้วยค่ะ

Advertisements

 

2. นอนตะแคงข้าง

ผู้ป่วยโรคหัวใจและผู้ป่วยโรคหยุดหายใจขณะหลับจะสามารถนอนหลับได้สบายมากขึ้นจากการนอนตะแคง  เพราะท่านี้จะทำให้ระบบทางเดินหายใจโล่งกว่าการนอนหงาย  โดยอาจนอนตะแคงซ้ายหรือขวาก็ได้ค่ะ

 

3. ปรับหมอนให้สูงขึ้น

ผู้ป่วยมีความจำเป็นต้องใช้หมอนมากกว่าหนึ่งใบในการหนุนหัวให้สูงขึ้นกว่าปกติ  เพื่อช่วยให้ระบบทางเดินหายใจโล่งสะดวก  รวมทั้งเป็นการลดความดันภายในปอด  โดยวิธีนี้จำเป็นต้องหนุนขึ้นตั้งแต่ส่วนหลังขึ้นไป  หรืออาจเลือกใช้เตียงแบบผู้ป่วยที่สามารถปรับความชันด้านศีรษะขึ้นได้ค่ะ

 

4. รองหมอนไว้ใต้ขา

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการขากระตุกขณะนอนหลับ  สามารถลดอาการนี้ได้ด้วยการหนุนหมอนไว้ใต้ขาขณะหลับ  ซึ่งจะทำให้ร่างกายโดยเฉพาะส่วนขารู้สึกสบายขึ้น  นอกจากนี้ การใส่ถุงเท้าขณะนอนหลับก็สามารถช่วยลดอาการนี้ได้ด้วย

 

5. หลีกเลี่ยงการนอนราบ

หากคุณเป็นผู้ป่วยโรคหัวใจ  โดยเฉพาะที่มีโรคหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย  จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยงการนอนราบ  เพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายได้  ยกเว้นว่าจะมีการใช้เครื่อง CPAP ร่วมด้วยจึงจะมีความปลอดภัยหากขณะนอนหงายค่ะ

กดติดตาม ADD Line @UndubZapp

 

แซ่บกันต่อ…

>> พูดไม่ชัด คิดช้า อ่อนแรง!! 9 สัญญาณเสี่ยง “โรคเส้นเลือดในสมองตีบ”

>> รู้แล้วหยุดซะ! 6 นิสัยแย่ๆ ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ

Advertisements

Advertisements

Advertisements